ฉุกเฉิน รักษาฟรี

สิทธิประโยชน์เพื่อครอบครัว เจ็บป่วย ฉุกเฉิน รักษาฟรี ทุกรพ.

Alternative Textaccount_circle
event
ฉุกเฉิน รักษาฟรี
ฉุกเฉิน รักษาฟรี

 

 

คำถามที่พบได้บ่อย

หลังจาก 72 ชั่วโมง แต่ยังรักษาไม่หาย ใครจะเป็นคนจ่าย?

คำตอบ: หลังจากทำการรักษาครบ 72 ชั่วโมงแต่พบว่าผู้ป่วยยังต้องทำการรักษาต่อจากนี้ ก็จะเป็นกระบวนการขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาลคู่สัญญา กับกองทุนที่ผู้ป่วยคนนั้นมีสิทธ์ในการรักษา โดยเริ่มจากสามกองทุนก่อน นั่นก็คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจะมีการเช็คสิทธิ์ว่าผู้ป่วยมีสิทธิ์รักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลอะไร หลังจากนั้นก็จะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนั้นค่ะ

แล้วถ้าป่วยฉุกเฉิน แต่พอไปถึงโรงพยาบาล โรงพยาบาลกลับบอกว่าไม่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตล่ะ?

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปเลยค่ะ เพราะหากมีข้อโต้แย้ง ในกรณีการตัดสินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แพทย์ประจำศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยจะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที ซึ่งคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสพฉ. ให้ถือเป็นที่สุด ฉะนั้นโรงพยาบาลจะอ้างไม่ได้ ว่าผู้ป่วยไม่เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือหากเกิดปัญหาค่ะ

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของ สพฉ.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่หมายเลข 028721669 นะคะ

เครดิต: JobsDB

อ่านต่อเนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up