The Power of Praise ชมลูกอย่างไรไม่ให้เสียคน

Alternative Textaccount_circle
event

‘ลูกแม่เก่งที่สุดเลย!’

ในวันหนึ่งๆ เราได้ยินหรือพูดประโยคนี้กันบ่อยแค่ไหนคะ

ผู้เขียนเพิ่งไปเข้ากลุ่มคุณพ่อคุณแม่มาเมื่อสัปดาห์ก่อน ในกลุ่มวันนั้นมีนักการศึกษาเด็กมาร่วมด้วย เราพูดกันถึงเรื่อง ‘การชมเชย’ เด็กๆ ว่ามีประโยชน์หรือก่อให้เกิดโทษในภายหลังได้อย่างไรบ้าง

ผู้เขียนไม่เคยนึกมาก่อนเลยว่าการพูดชมลูกว่า ‘Good job!’ ด้วยความตื่นเต้นดีใจเมื่อเห็นลูกทำอะไรได้วันละไม่รู้กี่หน (ก็แหม… ลูกคนแรก เราย่อมตื่นเต้นเป็นธรรมดาใช่ไหมคะ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็น่าดีใจไปหมด) อาจจะทำให้ลูกโตขึ้นกลายเป็นคนหลงตัวเองและไม่กล้าเผชิญกับเรื่องยากๆ ก็เป็นได้

ทำไมน่ะเหรอคะ เรื่องนี้มีนักวิจัยหลายต่อหลายคนพยายามทำการศึกษาติดตามพฤติกรรมของพ่อแม่ และเด็กอย่างจริงจัง ที่น่าสนใจคืองานวิจัยของแครอล ดเว็ค (Carol Dweck) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ใช้เวลาถึง 40 ปี ทำการศึกษากลไกการรับมือกับปัญหาและความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ใน 14 ปีที่ผ่านมา

 

แครอลให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเรื่องการชมเชย ว่าอาจจะเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กขาดความยืดหยุ่นในชีวิต แครอลติดตามพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 14-38 เดือนว่าใช้คำชมตัวบุคคล (เช่น ฉลาดมากลูก!) หรือชมความพยายาม (หนูตั้งใจทำมากๆ เลย) มากกว่ากัน เมื่อเด็กเหล่านั้นอายุได้ 7-8 ปี แครอลก็กลับมาดูอีกครั้งว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการทดลองทำอะไรใหม่ๆ หรือความเชื่อว่าความฉลาดเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือพัฒนาได้ โดยการให้เด็กลองทำโจทย์คณิตศาสตร์ 3 ชุด

อ่านต่อ “ชมลูกอย่างไร ไม่ให้เสียคน” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up