The Power of Praise ชมลูกอย่างไรไม่ให้เสียคน

Alternative Textaccount_circle
event

ชุดแรกง่าย เด็กทุกคนทำได้ (เด็กกลุ่มแรกได้รับคำชมว่าฉลาด ส่วนกลุ่มที่สองได้รับคำชมว่าใช้ความพยายามได้ดีมาก) ชุดที่สองตั้งใจให้ยากจนไม่มีเด็กคนไหนทำได้ กลุ่มแรกไม่ชอบและไม่อยากทำต่อ ในขณะที่กลุ่มที่สองรู้สึกว่าอยากจะลองทำอีก และเมื่อให้เด็กทั้งหมดลองทำชุดที่ 3 ซึ่งง่ายพอๆ กับชุดแรก ปรากฏว่ากลุ่มแรกทำได้แย่ลงกว่าเดิม ส่วนกลุ่มที่สองทำได้ดีกว่าเดิมมาก เมื่อให้ทุกคนเขียนโน้ตถึงนักเรียนอีกโรงเรียนว่าตนเองได้คะแนนเท่าไหร่ เกือบครึ่งของกลุ่มแรกโกหกว่าตัวเองได้คะแนนมากกว่าความเป็นจริง (ในขณะที่กลุ่มที่สองมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น)

หรือลูกเอารูปที่เพิ่งวาดเสร็จมาให้ดู แทนที่จะชมทันทีว่า ‘สวยจังเลยลูก’ ก็ให้พูดถึงรายละเอียดของสิ่งที่ลูกทำ เช่น ‘มีดอกไม้สีชมพูด้วย พระอาทิตย์สีเหลืองใหญ่กว่าเพื่อนเลย’ ฯลฯ ลูกก็จะรับรู้ได้ว่าพ่อแม่ใส่ใจกับความพยายามของเขา และอยากจะพยายามมากขึ้นไปอีก ไม่ใช่ทำเพื่อให้ได้รับคำชมว่าดี สวย เก่ง แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วก็เป็นความ(มัก)ง่ายของพ่อแม่ด้วยที่จะพูดอะไรกลางๆ ผ่านๆ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่ไม่ได้ส่งผลดีต่อลูกในระยะยาว

 

ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าหากเราจะสอนเรื่องความพยายาม ความตั้งใจ และความใส่ใจให้กับลูก ก็ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน จากสิ่งที่เราพูดกับเขาอยู่ทุกวัน หากเราใส่ใจกับมันให้มากขึ้น ไม่ชมพร่ำเพรื่อหรือเพียงขอไปที เท่านี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการบุคคล ที่จะส่งผลให้ลูกน้อยโตขึ้นเป็นคนมุมานะและสามารถจะเผชิญกับความผันผวนต่างๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิคุ้มใจที่พ่อแม่จะมอบให้กับลูกได้ใช้ติดตัวไปตลอดชีวิตนะคะ

 

เรื่อง : สิริยากร พุกกะเวส มาร์ควอร์ท

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up