เงินอุดหนุนบุตร

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันอย่างไร?

event
เงินอุดหนุนบุตร
เงินอุดหนุนบุตร

เงินอุดหนุนบุตร

ค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรเบิกได้ทั้งคุณพ่อคุณแม่หรือไม่?

โดยมากเนื่องจากคุณแม่เป็นผู้คลอดบุตร หากคุณแม่เองเป็นผู้ประกันตนก็ควรเบิกโดยใช้สิทธิ์ของตัวคุณแม่ไปเลย เพราะจะได้เบิกได้ทั้งค่าคลอดบุตร เงินลาคลอด (ได้ 3 เดือนโดยแบ่งมาจากทางบริษัทที่ทำงานและทางประกันสังคม) และเงินสงเคราะห์บุตรไปในคราวเดียวกันเลย ซึ่งในส่วนของค่าคลอดบุตร ปัจจุบันสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ส่วนเงินลาคลอดจะเบิกได้แค่ 2 ครั้ง และเงินสงเคราะห์บุตรก็จะได้ 3 ครั้ง

ในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่จะเลือกเบิกโดยใช้สิทธิ์ของใครก็ได้ เพียงแต่บุตรคนใดที่เคยเบิกใช้สิทธิ์จากอีกฝ่ายแล้วก็ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์กับอีกฝ่ายที่เหลือได้ (ใช้ได้ครั้งละคน)

หากคลอดลูกเป็นแฝดจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ 2 เท่าหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ได้ค่ะ เพราะค่าคลอดบุตรที่จ่ายให้เป็นแบบเหมาจ่ายต่อการคลอดหนึ่งครั้ง ดังนั้น ในกรณีที่ได้ลูกแฝดก็จะถือเป็นการคลอดแค่ครั้งเดียว จึงเบิกค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายได้ 13,000 บาทเท่านั้น แต่การทำเรื่องเบิกค่าสงเคราะห์บุตรสามารถทำเป็น 2 คนได้

หากต้องการนอนห้องพิเศษตอนคลอด รวมเบิกในค่าคลอดได้หรือไม่?

ค่าคลอดบุตรที่จ่ายจะเป็นแบบเหมาจ่ายต่อการคลอดหนึ่งครั้ง คือ ครั้งละ 13,000 บาทเท่านั้นค่ะ

หากมีการแท้งหรือลูกเสียชีวิตหลังคลอด สามารถเบิกค่าคลอดได้หรือไม่?

ต้องเป็นการตั้งครรภ์ที่เกินกว่า 28 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีการคลอดออกจากครรภ์มารดา จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ค่ะ  รวมถึงสามารถเบิกเงินค่าลาคลอด 90 วัน ได้ด้วยเช่นกัน

ถ้าไม่มีทะเบียนสมรส และต้องการใช้สิทธิ์ของฝ่ายตัวคุณพ่อ จะต้องทำอย่างไร!

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสและตัวคุณพ่อเป็นผู้ประกันตน ซึ่งหากจะใช้สิทธิ์นี้ ให้ตรวจสอบชื่อ-สกุลของคุณพ่อ ในสูติบัตรให้ตรงกับชื่อ-สกุลของผู้ประกันตน ส่วนชื่อคุณแม่ก็ต้องตรวจสอบชื่อ-สกุลในใบสูติบัตรให้ตรงกับชื่อ-สกุลของคู่สมรสในหนังสือรับรองของผู้ประกันตน จึงจะทำเรื่องใช้สิทธิ์นั้นได้

ถ้าคุณแม่ลาคลอดไม่ถึง 90 วัน สามารถเบิกค่าลาคลอดได้เต็มหรือไม่?

ค่าลาคลอด 90 วันเป็นแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 50:50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน โดยคิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ไม่ว่าจะลาคลอดกี่วันก็สามารถเบิกได้เต็มค่ะ เพราะคิดเป็นแบบเหมาจ่ายให้แล้ว

ยื่นเรื่องย้อนหลังเพื่อเบิกค่าคลอดหรือค่าสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่?

สามารถยื่นเรื่องย้อนหลังได้ หากเป็นการคลอดบุตรให้ยื่นเรื่องได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่บุตรเกิด ส่วนการสงเคราะห์บุตรหากยังอยู่ในเงื่อนไขของการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนที่ผ่านมา ก็สามารถยื่นเพื่อรับสิทธิ์ได้ โดยจะย้อนหลัง 1 ปี หากส่งเงินสมทบครบ แต่หากขาดส่งเงินสมทบก่อนหน้านี้ ก็ให้ตั้งแต่วันที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีสิทธิ์เบิกค่าคลอดและค่าสงเคราะห์บุตรหรือไม่!

มีสิทธิ์เบิกได้เหมือนกับมาตรา 39 ทุกประการในเรื่องของค่าคลอดและค่าสงเคราะห์บุตร ยกเว้นค่าลาคลอด 90 วัน ที่เบิกได้เช่นกัน ในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 90 วัน แต่คิดจากฐานค่าจ้างของมาตรา 39 ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 4,800 บาทค่ะ

จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่?

เงินสงเคราะห์บุตรจะได้รับตั้งแต่เดือนแรกที่ลูกเกิดไปจนถึงเดือนสุดท้ายที่บุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ในอัตราเดือนละ 400 บาท

หากลาออกจากงานไปแล้ว เงินสงเคราะห์บุตรจะได้รับต่อเนื่องหรือไม่?

เมื่อลาออกจากงานหรือลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน เงินสงเคราะห์บุตรก็จะไม่ได้รับต่อ หากอยากได้รับเงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงสิทธิ์ประกันสังคมต่อก็สามารถเลือกทำประกันตนเองตามมาตรา 39 ได้

เคยได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแล้วลาออก กลับเข้าทำงานใหม่จะได้รับต่อหรือไม่?

เมื่อผู้ประกันตนยังรับสิทธ์เงินสงเคราะห์บุตรยังไม่ครบ เช่น บุตรยังมีอายุไม่ครบ 6 ปีบริบูรณ์ เมื่อกลับเข้าทำงานสามารถยื่นเรื่องใหม่ เพื่อขอรับสิทธิ์ต่อเนื่องที่สำนักงานประกันสังคมที่เคยยื่นเรื่องไว้

ทั้งนี้จากที่กล่าวมา สิทธิ์ประกันสังคม ถือเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดและข้อสงสัยมากมาย อย่างไรก็ตามหากคุณแม่หรือคุณพ่อมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้เลยค่ะ

สรุปแล้ว จากข้อมูลข้างต้น เมื่อถามถึงเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท นั้นจึงเป็นเงินที่คุณแม่ที่มีฐานะยากจนซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบบาลยื่นมือเข้าช่วย ซึ่งคุณแม่สามารถไปลงทะเบียนหรือขอข้อมูลได้ที่ อบต. ส่วน ชื่อที่เรียกว่าเงินสงเคราะห์บุตร 400 บาท คือเงินที่ได้จากการที่คุณแม่เป็นผู้ประกันตนมีสิทธิ์ประกันสังคมตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นั่นเอง

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


แหล่งอ้างอิง : www.sso.go.th , www.sso.go.th , th.jobsdb.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up