เงินอุดหนุนบุตร

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันอย่างไร?

event
เงินอุดหนุนบุตร
เงินอุดหนุนบุตร

เงินอุดหนุนบุตร

ทั้งนี้สำหรับเรื่อง เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนต้องรู้ถึงเงื่อนไข คำนิยามของ ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน กันก่อนนะคะ

ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย ในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงจาเป็นต้องใช้การประเมิน

♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไม่เข้า เพราะ งบหมด จริงหรือ?
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : ประสบการณ์ตรง เรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 2560 เพิ่มเป็น 600 บาท

ความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะของครัวเรือนมาประกอบการพิจารณาด้วย (แบบ ดร.02 ในกรอบขวาล่าง หน้า 23) โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1) ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีหรือคนว่างงาน อายุ 15 – 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

2) สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า

3) ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้

4) เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่

การรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) ต้องมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้

ผู้รับรองคนที่ 1

  • กรุงเทพมหานคร : ประธานกรรมการชุมชน หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมประจำสำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา : ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขเมืองพัทยา
  • เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : อพม. หรือ อสม.
  • บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์

ผู้รับรองคนที่ 2

  • กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • เมืองพัทยา : ปลัดเมืองพัทยา หรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ได้รับมอบหมาย
  • เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : ปลัดเทศบาล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้ที่ปลัดมอบหมายหรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน
  • บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์
ขอบคุณข้อมูลจาก https://csg.dcy.go.th/index.php/en/2015-09-18-03-15-53

 

สิทธิ์ประกันสังคม ค่าคลอดบุตร / เงินสงเคราะห์บุตร

เบิกค่าคลอดประกันสังคม

สำหรับคุณแม่และคุณพ่อที่ส่งเงินประกันสังคมต้องทราบเลยนะคะ ว่าเราสามารถเบิกค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ อย่ามัวแต่ส่งเงินอย่างเดียว ต้องคอยเช็คสิทธิ์ของเราด้วยนะคะ เพราะวางแผนว่าจะมีลูกสักคนก็ถือเป็นภาระยิ่งใหญ่ที่ทั้งพ่อและแม่จะต้องเจอ ซึ่งอันดับแรกที่ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีเริ่มตั้งแต่ท้องจนถึงคลอดและเลี้ยงดูมาจนเติบโต คือเรื่องของค่าใช้จ่าย ซึ่งเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์จากประกันสังคม นี้จะสามารถมาช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่คุณพ่อไปได้บ้าง

ค่าคลอดบุตร

สำหรับกรณีคลอดบุตรนี้ผู้มีสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ ค่าคลอดบุตรให้ในอัตราเหมาจ่ายคนละ 13,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

นอกจากค่าคลอดบุตรแล้วผู้ประกันตนหญิงยังมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเป็นแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ในส่วนของเงินสงเคราะห์การลาคลอดนี้จะใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

ค่าสงเคราะห์บุตร

ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตรผู้ที่ต้องการรับสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สิทธิ์ที่จะได้รับในกรณีสงเคราะห์บุตรเป็นการเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อคน ใช้สิทธิ์ได้ 3 ครั้ง และจะได้เงินสงเคราะห์บุตรจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธ์ของประกันสังคมโดยมากก็จะเขียนไว้กว้าง ๆ แต่เมื่อถึงเวลาก็จะมีคำถามหรือข้อสงสัยในรายละเอียดต่าง ๆ ของหลายกรณี ทำให้มีคำถามเพิ่มเติมมากมาย วันนี้เราจะนำมาสรุปกันเฉพาะในเรื่องของค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรให้คลายความสงสัยกันค่ะ

อ่านต่อ >> “รวม 11 คำถามสำคัญที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องการเบิกค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up