กฎของการใช้ชีวิตคู่

5 กฎของการใช้ชีวิตคู่ เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องลูก

Alternative Textaccount_circle
event
กฎของการใช้ชีวิตคู่
กฎของการใช้ชีวิตคู่

5 กฎของการใช้ชีวิตคู่ เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องลูก

3. โฟกัสที่ผลลัพธ์

ในเมื่อต้องการที่จะสอนลูกให้มีทักษะต่อโลกเหมือนกัน ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม หากสอนไปในทางที่ถูกที่ควร ลูกก็จะได้ผลลัพธ์จากการสั่งสอนนี้เหมือนเดิม แล้วทำไมต้องสนวิธีการด้วยล่ะคะ ในเมื่อผลลัพธ์ที่ออกมาก็ได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การต้องการสอนลูกเรื่องการช่วยเหลือตนเอง ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต้องการสอนให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองได้ คุณพ่ออาจจะต้องการให้ลูกลองทำอะไรก็ตามด้วยตัวเองจนกว่าจะสำเร็จ คุณแม่อาจจะต้องการที่จะช่วยหาลูกยังทำสิ่ง ๆ นั้นไม่ได้ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองตกลงกันก่อนว่าหากต้องการช่วย ให้รอให้ลูกลองทำสิ่ง ๆ นั้นด้วยตัวเองก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง หากไม่สำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ค่อยช่วย ซึ่งสุดท้ายแล้ว ลูกก็จะเรียนรู้การทำสิ่ง ๆ นั้นได้ด้วยตนเองในที่สุด โดยอาจจะเร็วหรือช้าไปบ้าง แต่สุดท้าย ลูกก็จะทำเองได้ เป็นต้น

4. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการออกความเห็น

อย่าลืมว่าลูกตัวน้อย ๆ ของเรา ก็เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองแล้วนะ แล้วทำไมไม่ลองถามความคิดเห็นลูกดูล่ะ ว่าลูกคิดเห็นอย่างไร? เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีความเห็นที่ต่างกัน ลองถามลูกดูว่าลูกมีความคิดเห็นอย่างไร (ความยาก-ง่ายของคำถาม ขึ้นอยู่กับวัยของลูก) การให้ลูกมีส่วนร่วมในการออกความเห็นนี้ นอกจากจะลดความขัดแย้งได้แล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะทางความคิดของลูกได้อีกด้วย

หลักการใช้ชีวิตคู่
หลักการใช้ชีวิตคู่

5.  บันทึกแนวทางการสอนลูก

จดบันทึกว่าวันนี้เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ได้สอนสิ่งใดลูกไป การจดสิ่งเหล่านี้ไว้ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ถึงแนวทางที่ต้องการสอนลูกในอนาคต และยังเป็นข้อมูลให้คุณพ่อคุณแม่ได้กลับมาอ่านเพื่อให้รู้ว่าได้สอนสิ่งใดให้ลูกไปแล้วบ้าง

เพราะการเลี้ยงลูกไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างมีแนวทางการเลี้ยงเป็นของตัวเอง สิ่งที่จะช่วยลดความขัดแย้งได้ คือการทำตามกฎทั้ง 5 ข้อนี้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามดูนะคะ หรืออาจจะนำกฎเหล่านี้ไปปรับให้เข้ากับครอบครัวของแต่ละบ้านก็ได้นะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เลี้ยงลูกอย่างไร? ให้ลูกมี พัฒนาการด้านอารมณ์ ที่ดี

4 กับดักชีวิตคู่ ทำลาย “ความสุข-ความสำเร็จ” ของลูก

เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ

ประโยชน์ของการเล่น “จ๊ะเอ๋” ที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.popsugar.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up