แบคทีเรียกินเนื้อ

แบคทีเรียกินเนื้อ ระบาดทั่ว จ.น่าน! หมอแนะอย่าย่ำน้ำลุยโคลน!!

Alternative Textaccount_circle
event
แบคทีเรียกินเนื้อ
แบคทีเรียกินเนื้อ

อาการ “แบคทีเรียกินเนื้อ” พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

สังเกตอย่างไรว่าเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน

อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน แบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหนักในวันที่ 4-5 ของการติดเชื้อ ดังนั้น หากมีอาการต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อและรักษาทันที

  • มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบ หรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกซึ่งมองไม่เห็น ต่อมาจะพบผื่นพุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออกในพุพอง ผิวจะเริ่มมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย
  • อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการผื่นบวมแดงบริเวณผิวหนัง โดยวันต่อ ๆ มาอาการปวดอาจจะมากหรืออาจจะไม่ปวดเนื่องจากเส้นประสาทเริ่มตาย
    ขอบเขตของโรคไม่ชัดเจน พบว่าบริเวณที่กดเจ็บจะเจ็บกว่าบริเวณผื่น(ผิวหนังอักเสบจะกดเจ็บเฉพาะบริเวณผื่น)
  • มีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว หัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะขาดน้ำ
    อาการของโรคเนื้อเน่าวันที่2-4

โดยการติดเชื้อในวันที่ 4-5 ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะเริ่มไม่รู้สึกตัว เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จนอันตรายต่อชีวิตได้

โรคเนื้อเน่า
โรคเนื้อเน่า

วิธีป้องกันโรคเนื้อเน่า หรือ แบคทีเรียกินเนื้อ

แม้โรคนี้ เป็นการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถป้องกันได้ และยังไม่มีวัคซีนชนิดใดป้องกันการติดเชื้อนี้ แต่คนทั่วไปสามารถลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้ ดังนี้

  • ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รักษาความสะอาดให้เป็นนิสัย เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่กับน้ำสะอาด เป็นต้น
  • ห้ามเลือดทันทีเมื่อมีบาดแผล แล้วทำความสะอาดบริเวณนั้นโดยเปิดให้น้ำไหลผ่านบาดแผล จากนั้นจึงซับด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
  • ปิดบาดแผลด้วยวัสดุที่ปลอดเชื้อ เช่น พลาสเตอร์ หรือผ้าพันแผล เป็นต้น และเปลี่ยนผ้าพันแผลเมื่อเปียกน้ำหรือสกปรก เพื่อให้แผลแห้งและสะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่ควรแช่ตัวในอ่างอาบน้ำหรือว่ายน้ำในช่วงที่มีบาดแผลตามร่างกาย
  • ปรึกษาแพทย์หากเคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะอาจต้องรับยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อด้วย
    ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาทันทีหากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคนี้ ซึ่งการรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

จะเห็นได้ว่าการดูแลแผลไม่ให้ติดเชื้อนั้นมีความสำคัญ ในเด็กที่อยู่ในวัยที่อาจจะเกิดบาดแผลได้บ่อย ๆ พ่อแม่ก็ควรระมัดระวังในการทำแผลให้สะอาด หมั่นคอยล้างแผลเพื่อไม่ใช้แผลติดเชื้อได้ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเชื้อที่อาจจะเข้ามาทางแผล เป็นเชื้อที่อันตรายหรือไม่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน เพราะแค่หกล้ม

ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย

แม่เล่า! ลูกติดเชื้อแบคทีเรีย เพราะสัมผัสจากคนกินเหล้า-สูบบุหรี่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com, www.siamhealth.net

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up