ลูก 9 เดือนร้องกรี๊ดเอาแต่ใจได้แล้ว เลี้ยงลูกไม่ให้เอาแต่ใจ เริ่มเมื่อไร อย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event

อย่าแอบหนีลูก เพราะจะทำให้ลูกติดแม่

อย่าใช้วิธีแอบหนีลูกไป ตอนลูกเผลอ เพราะจะทำให้ลูกกังวลแล้วกรี๊ดมากขึ้นและคอยเฝ้าคุณแม่ไว้ กลัวจะหนีหายไปอีก การเล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของให้ลูกเปิดหาใต้ผ้า หรือในแก้วกระดาษ จะช่วยให้ลูกเข้าใจหลักการเรื่องสิ่งต่างๆ ที่หายไปจากสายตาเดี๋ยวก็กลับมาได้อีก ถ้าลูกอยู่ในที่เดิมนานๆ อาจรู้สึกเบื่อ จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เอาออกจากเปลไปอยู่ในที่เล่น หรือเอาออกจากคอกกั้นไปอยู่ที่เบาะปูพื้นหรือรถเข็นบ้าง

ถ้าลูกยังร้องกรี๊ดไม่หยุดเพื่อให้คุณอุ้ม ให้เบี่ยงเบนความสนใจ เอาของเล่นมาโชว์ลูก หรือทำท่าตลกๆ ให้ลูกดู แต่อย่าอุ้มลูกขึ้นมา ต้องอดทนฟังเสียงร้องกรี๊ดของลูกบ้าง ลูกจะไม่รู้สึกแย่ กลายเป็นเด็กขี้โมโห หรือกลายเป็นเด็กขาดความอบอุ่นค่ะเพราะเรายังอยู่กับเขา และกำลังให้ความสนใจเขาอยู่

ลูกเอาแต่ใจ ชอบกรี๊ด ทำไงดีปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกชอบกรี๊ด?

ลูกวัยนี้ ยังมีทักษะการสื่อสารด้วยภาษาพูดไม่ดีพอ เวลาโมโหบางคนใช้วิธีตี บางคนใช้วิธีกรีดร้องซึ่งบางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นเอง หรือเกิดจากการเลียนแบบได้ วิธีแก้ไขคือ ถ้าลูกกรี๊ดให้หันเหความสนใจลูกไปสู่กิจกรรมอื่น ทำสีหน้าเฉยๆ ลูกจะเรียนรู้ว่าการกรี๊ดไม่ได้ผลต่อพ่อแม่ ถ้ากรี๊ดเพราะแย่งของเล่น ให้เก็บของเล่นต้นเหตุ ไม่ให้เล่นต่อ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ผลที่ตามมาว่า การกรี๊ดไม่ได้ช่วยให้ได้ของเล่น และเมื่อใดที่ลูกไม่กรี๊ด มีพฤติกรรมที่ดี ไม่ก้าวร้าว ให้รีบชมเชยทันที เป็นการให้แรงเสริมในทางบวกกับพฤติกรรมที่ดี เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ลูกไม่เป็นเด็กช่างกรี๊ดอีกต่อไปค่ะ

 

เรื่อง : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up