ซูชิ

เตือนภัย! ซูชิเรืองแสง เสี่ยงปนเปื้อนจุลินทรีย์ ก่อนซื้อต้องระวัง

account_circle
event
ซูชิ
ซูชิ

ซูชิเรืองแสง เจอแบบนี้กินได้หรือ !!  นี่่ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือสิ่งมหัศจรรย์ แต่เป็นภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เมนูญี่ปุ่นขวัญใจเด็กๆ หากไม่ดูให้ดี ลูกเสี่ยงรับเชื้อจากจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย เพราะกระบวนการผลิตและเก็บรักษาที่ไม่สะอาดพอ 

อึ้งยกครัว  ซูชิเรืองแสง สีฟ้า กินได้หรือไม่ อันตรายแค่ไหนกัน

สำนักข่าวไทย  MCOTHD นำเสนอข่าวของครอบครัวยลไพบูลย์ที่ได้ซื้อซูชิมาจากฟู้ดคอร์ดของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งทั้งหมด 3 กล่อง ช่วงกำลังหยิบของเข้าบ้านสังเกตว่า ซูชิเรืองแสง เป็นซูชิหน้ากุ้งจำนวน 2 กล่องมีแสงสีฟ้าเรืองออกมาอย่างชัดเจน จึงตัดสินใจไม่กินซูชิชิ้นดังกล่าว และรู้สึกประหลาดใจว่ากุ้งเรืองแสงได้อย่างไร ขณะที่ลูกชายลองนำกุ้งไปต้มในน้ำเดือนจนสุกแล้วนำมากิน ก็ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ แต่สังเกตว่าบนเมล็ดข้าวที่สัมผัสกับเนื้อกุ้งมีสารเรืองแสงติดอยู่ด้วย

ด้าน รองศาสตราจารย์ วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า

ซูชิเรืองแสง ที่ปรากฎในข่าวเกิดจากแบคทีเรียที่มาจากสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำปฏิกิริยากับอากาศ จึงเกิดการเรืองแสง มีฤทธิ์ต่ำ สูญสลายได้ด้วยความร้อน แต่ไม่แนะนำให้กิน”

ขณะที่ศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องดังกล่าว ความว่า

“เช้านี้มีหลายคนส่งรูปซูชิหน้ากุ้งดิบ ว่าไปเจอที่มันเรืองแสงได้เองในที่มืด (ไม่ได้ไปฉายแสงแบล็คไลท์ หรือแสงยูวี) อยากรู้ว่าเกิดจากอะไร ?

เรื่องอย่างนี้ ควรส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบก่อน จะชัดเจนที่สุดนะครับว่าเกิดจากอะไรแต่ถ้าจะสันนิษฐานว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง ก็คงต้องเทียบเคียงกับที่เคยมีคนพบ “ลูกชิ้นปลาเรืองแสง” เมื่อก่อน ตอนปี 2553 ซึ่งกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เคยอธิบายไว้ว่า มีสาเหตุที่เป็นไปได้ 3 อย่างคือ

ซูชิเรืองแสง

สารเรืองแสงเกิดจากการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในทะเล กลุ่ม photobacterium phosphoreum ซึ่งสามารถผลิตสารเรืองแสงได้ ติดมากับปลาที่ใช้ทำลูกชิ้น แต่เชื้อกลุ่มนี้ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน หากพบว่าลูกชิ้นเรืองแสงแสดงว่า อาจเกิดการปนเปื้อนหลังผ่านความร้อน หรือเก็บไว้ในอุณหภูมิไม่ต่ำ (น้อยกว่า 4 องศาเซลเซียส) เพียงพอ ทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

กรณีของลูกชิ้นปลา อาจเกิดเนื้อปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบ อาจเป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนกลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต หรือเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ ซึ่งเรืองแสงได้เข้าไป

ผู้ผลิตอาจเติมสารเคมีบางชนิดที่มีฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบ เช่น วัตถุเจือปนอาหารเพื่อรักษาความชุ่มชื้น หรือสารฟอกขาว

 

  1. ซูชิเรืองแสง

ถ้าให้ประเมินจากทั้งสามสาเหตุนี้ ซูชิเรืองแสงน่าจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์มากกว่าสารเคมี แต่ทั้งนี้ควรนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการด้วยว่า เป็นเชื้อชนิดไหน มีอันตรายหรือไม่ รวมถึงการสืบหาที่มาของกุ้ง เพื่อตรวจสอบสุขลักษณะในการผลิตและเก็บรักษา

สำหรับผู้บริโภค ถ้าพบอาหารที่มีความผิดปกติไม่ควรนำมารับประทาน เพราะนอกจากเชื้อจุลินทรีย์เรืองแสงแล้วอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ เป็นต้น

เลือกซูชิอย่างไรลูกกินได้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงเหมือน ซูชิเรืองแสง

เด็กๆหลายบ้านชื่นชอบซูชิเป็นพิเศษ นอกจากรูปทรงแปลกตา มีหน้าต่างๆให้เลือกมากมายทั้งหน้าไข่กุ้ง หน้ากุ้ง หน้าสาหร่าย หน้าๆไข่หวานแสนอร่อย ยังได้สนุกเพลิดเพลินกับการหยิบซูชิเข้าปากเป็นคำๆ ได้เปลี่ยนท็อปปิ้งตามใจชอบต่างจากการกินข้าวด้วยช้อนส้อมตักกินเป็นชามโต

อย่างไรก็ตามซูซิไม่ใช่อาหารจานร้อนที่ปรุงสุกใหม่ แต่เป็นการปั้นข้าวญี่ปุ่นหุงสุกมาปั้นเป็นคำๆ แล้วโปะหน้าด้วยท็อปปิ้งต่างๆ ซึ่งมีทั้งส่วนผสมสด อย่างเนื้อปลา ไข่กุ้ง หรือส่วนผสมปรุงรสแล้ว เช่น ไข่หวาน ปลาหมึกซีอิ๊ว เป็นต้น ส่วนใหญ่จะทำจากอาหารทะเลเป็นหลัก 

ซูชิเรืองแสง

คนญี่ปุ่นจะเลือกใช้ปลาทะเลสดที่สุดเพราะยังไม่มีแบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่ หรือใช้เนื้อปลาที่ทำความสะอาดอย่างดี แช่ในอุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน หรืออุณหภูมิ -35 องศาเซลเซียส นาน 15 ชั่วโมง เพื่อฆ่าพยาธิและจุลินทรีย์ต่างๆ ก่อนนำมาปรุงอาหาร ส่วนข้าวซูชิจะผสมน้ำส้มสายชูที่มีค่าความเป็นกรดและด่างต่ำกว่าpH 4.1 ซึ่งมากพอจะฆ่าเชื้อสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคได้ อีกทั้งซูชิของคนญี่ปุ่นจะปั้นให้กับคนกินแบบคำต่อคำ จึงลดโอกาสปนเปื้่อนได้มาก

ขณะที่การทำซูชิสไตล์ไทยที่มีราคาย่อมเยาในตลาดหรือร้านค้า ส่วนใหญ่ปั้นทีละมากๆ วางเรียงไว้บนถาดโดยไม่มีตู้แช่อากาศร้อนๆจึงทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น หลายร้านดูแลเรื่องความสะอาด ทั้งมีดที่ใช้ทำอาหาร มือของแม่ค้าที่สัมผัสอาหารได้ไม่ดีพอ เชื้อโรคต่างๆก็พร้อมจะเติบโตในซูชิทันที พอลูกน้อยกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ อาเจียน ถ่ายท้องรุนแรง มีไข้สูง จนเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ คุณแม่จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก 

  1. ไม่ควรเลือกซื้อซูชิหน้าปลาดิบ หรือส่วนผสมไม่ปรุงสุก เพราะมีเชื้อโรคสะสม

  2. ควรเลือกซื้อซูชิจากร้านที่ไว้ใจได้ แม่ค้าและอุปกรณ์ต่างๆที่สัมผัสอาหารต้องสะอาด 

  3. ซูชิที่ทำสำเร็จควรวางพักในตู้แช่เพื่อป้องกันเชื้อโรค

  4. หากลูกชอบกิน ซูชิบ่อยๆ คุณแม่อาจใช้โอกาสนี้เปิดครัวชวนลูกมาทำซูชิด้วยกัน นอกจากมั่นใจว่าได้กินซูชิอร่อยปลอดภัยแล้ว ยังมีช่วงเวลาสนุกกับครอบครัวแล้ว 

ลูกเริ่มซูชิหน้าทะเลได้เมื่อไหร่ดี

เพราะซูชิส่วนใหญ่ใช้อาหารทะเลเป็นส่วนผสมหลัก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อกุ้ง ปลา ปลาหมึก หรือไข่ปลา แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (กุมารแพทย์ นักเขียนคอลัมน์และหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก และคณะกรรมการสมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทย) แนะนำว่า

ซูชิเรืองแสง

เด็กๆ ทั่วไปให้เริ่มทานปลาตอนอายุ 1 ปี ที่ต้องเริ่มทานปลาก่อน เพราะกินง่าย ย่อยง่าย และโอกาสการแพ้น้อย ส่วนอาหารทะเลอื่นๆ ควรเริ่มทานหลังจากอายุ 1 ปีไปแล้ว โดยแนะนำเป็นกุ้ง ปู หอย และปลาหมึก ตามลำดับ เพราะปลาหมึกเคี้ยวค่อนข้างยากค่ะ กรณีที่มีประวัติการแพ้ปลาและอาหารทะเลในครอบครัวอยู่แล้ว ควรให้ลูกเริ่มทานตอนอายุ 3 ปี โดยระหว่างนั้นก็ให้ทานอาหารอื่นที่มีโอเมก้า 3 ทดแทนไปก่อน เช่น ถั่วเหลือง ผักโขม เป็นต้นค่ะ

หากลูกมีอาการแพ้กุ้ง คุณหมอจะแนะนำให้งดอาหารทะเลกลุ่มปู ปลาหมึก หอยทั้งหมด เพราะมีการศึกษาว่าหากแพ้อาหารทะเลประเภทกุ้งจะมีโอกาสแพ้ปูร่วมด้วยสูงถึงประมาณ 70% และมีโอกาสแพ้ปลาหมึก และหอยร่วมด้วย 50% ด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยการงดอาหารทะเลกลุ่มนี้ทั้งหมดจะดีกว่า


แหล่งข้อมูล  MCOTHD  www.facebook.com/FoodandHealthforyou/

 

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

เตือนภัย! กินผักสด หมูดิบ ต้องระวัง พยาธิตืดหมู ไชยั้วเยี้ยเต็มร่างกาย

 

อาหารเป็นพิษ โรคหน้าร้อน ที่ทุกครอบครัวต้องระวัง

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up