พาลูกไปเที่ยว

8 กลยุทธ์ แก้ทุกปัญหาที่ต้องเจอ เมื่อพาลูกเที่ยว

event
พาลูกไปเที่ยว
พาลูกไปเที่ยว

6. เมื่อพาลูกไปเที่ยว แล้วลูกน้อยเล่นเพลินเกินเวลา

ในบางครั้งเราเห็นเด็กบ้านอื่นไม่มีพฤติกรรม “เอ้อระเหย” อยากรู้ไหมคะว่าเขามีเคล็ดลับอย่างไรกัน

  • กำหนดเวลาชัดเจน ก่อนให้เล่น  บอกเด็กทุกครั้งว่า เขามีเวลากับกิจกรรมนี้เท่าไหร่  แม้เขาจะยังฟังไม่เข้าใจหรอกว่า 2 นาที ต่างกับ 10 นาทีอย่างไร แต่เด็กก็จะรู้สึกถึงวินัยว่าเขามีเวลาจำกัดในการเล่นครั้งนั้น  หากคุณไม่ได้กำหนดเวลาเล่นไว้ให้เขาตั้งแต่แรก เมื่อเขางอแงขอเล่นต่อแล้วผู้ใหญ่บอกเด็กว่าให้เล่นอีกแปบเดียวนะ แล้วกลับไปนั่งเล่นนั่งคุยกันต่อ เด็กอาจจะเข้าใจว่าไม่ต้องรีบกลับ จนกว่าคุณพ่อคุณแม่จะมาตามอีกครั้ง ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้อาจส่งผลให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กผัดวันประกันพรุ่งได้

 

  • มาแจ้งเตือนก่อนหมดเวลา เมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลากลับแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เตือนเขาก่อน  “เหลืออีก 10 นาทีนะลูก”  เพื่อให้เขาได้เตรียมตัวเตรียมใจ  แล้วยืนรอเขาเพื่อเป็นภาษาท่าทางให้รู้ว่าเรามีเวลาจำกัดจริงๆ

เรื่องเวลานี้ส่งผลต่อวินัยของลูก  หากคุณไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กชักช้า  ก็อย่าปล่อยให้เขาผ่อนผลัดให้กับเขามากนัก  ลองใช้ 2 วิธีนี้ดู

พาลูกไปเที่ยว

7. เมื่อ พาลูกไปเที่ยว แล้ว “ลูกจะซื้อของที่ระลึก”

ตามสถานที่ท่องเที่ยวมักมีจุดขายของที่ระลึกซึ่งสามารถดึงดูดเด็กๆ ให้สนใจได้ไม่ยาก  เพื่อป้องกันการงอแงเพราะอยากได้ของเล่นเกินราคา  และป้องกันลูกยอกย้อนถามว่า  “ทำไมซื้อให้หนูไม่ได้  ทีคุณพ่อคุณแม่ยังซื้อของตัวเองเลย”  อาจารย์แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่แยกกระเป๋าสตางค์ให้ชัดเจนและให้งบประมาณเขาสามารถซื้อของที่อยากได้ในราคาที่เหมาะสม

  • ให้เงินจำนวนหนึ่ง โดยให้เด็กบริหารเอง เช่น ให้เขาพกเงินไว้ 50 บาท  และให้เขาตัดสินใจซื้อของด้วยตัวเองตามวงเงินนั้น เมื่อเขามีเงินของตัวเองจะได้รู้ว่าเงินของเขากับเงินของคุณพ่อคุณแม่เป็นคนละส่วนกัน   เขาจะรู้ว่าเขาซื้อของได้ในราคาเท่านี้

 

  • อยากได้ของแพง เมื่อลูกอยากได้ของแพงขึ้นมา “แม่ไม่มีเงินเยอะขนาดนั้นหรอก”  “เราจะเอาไปใช้ทำอะไรจ้ะ”  “แม่เคยเห็นที่อื่นขายถูกกว่านี้  เงินส่วนต่างที่เหลือนี้เราเอาไปซื้อหนังสือนิทานได้อีกหลายเล่มเลยนะ” หรือหากเด็กเข้าใจและรับรู้ได้แล้ว  ก็สอนตรงๆ ได้ว่า “แม่ว่ามันไม่จำเป็นนะคะ”

 

  • มีอยู่แล้ว บางทีลูกก็ยังไม่รู้ความว่าของตรงหน้านี้ต่างกับของที่เขามีอย่างไร  ความอยากก็ทำให้เขายืนกรานจะซื้อ  คุณสอนให้เขาประเมินค่าความไม่จำเป็นเหล่านี้ได้ด้วยคำพูดง่ายๆ ว่า “ถ้าลูกอยากได้ตุ๊กตาตัวนี้ แม่จะเอาพี่หมีที่บ้านบริจาค”   เพื่อให้เขารู้ว่าสิ่งของบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีหลายอัน

นอกจากนี้เรากับลูกจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะไม่ซื้อของที่เป็นอันตราย  ของที่ไม่มีประโยชน์  ไม่จำเป็นต้องซื้อฝากเพื่อนมากมายขนาดนั้น  เป็นโอกาสอันดีที่จะสอนเรื่องคุณค่าของเงิน

8. เมื่อลูกน้อยกลัวหรือไม่กล้าร่วมกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่เสียสตางค์ไปแล้ว

เป็นธรรมดาของเด็กที่จะตื่นเต้นดีใจเมื่อรู้ว่าจะได้ไปเที่ยว  แต่เมื่อไปพบเจอบรรยากาศจริงๆ อาจไม่ชอบอย่างที่คิด  หากเป็นกรณีนี้อาจารย์แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า  “ทำไมเราต้องบังคับฝืนใจให้ลูกน้อยทำ”  การพามาเที่ยวก็เพื่อสร้างความสุขและความทรงจำที่ดีให้ลูกน้อย  แต่หากคุณพ่อคุณแม่เสียดายสตางค์แล้วบังคับให้เขาร่วมกิจกรรมจนเกิดความกลัว  ทริปในฝันอาจกลายเป็นฝันร้ายฝังใจไปอีกนาน

ซึ่งแทนที่จะยัดเยียดความทรงจำที่ไม่ดีให้ลูกน้อย  ขอให้คุณพ่อคุณแม่คิดเสียว่าจ่ายเงินเพื่อซื้อประสบการณ์  ให้รู้ว่าลูกของเรากลัวสิ่งนี้  เพื่อหลีกเลี่ยงต่อไปในอนาคตหรืออาจค่อยๆ หาวิธีปรับเปลี่ยนทัศนคติ  แล้วให้เขามาทดลองเล่นใหม่ในวันที่พร้อมกว่านี้ก็จะเป็นการดีที่สุด

 

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up