ลูกขี้หงุดหงิด

7 เคล็ดลับ! สยบ ลูกขี้หงุดหงิด แบบไม่พึ่งหน้าจอ ลูกก็สงบได้!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกขี้หงุดหงิด
ลูกขี้หงุดหงิด

ลูกขี้หงุดหงิด-  คุณพ่อคุณแม่หลายคน อาจต้องเคยเปิดเพลงเบบี้ชาร์ค การ์ตูนโดราเอม่อน หรืออื่นๆ อีกมากมายจากสมาร์ทโฟนของคุณเพื่อใช้บรรเทา หรือหยุดอารมณ์ฉุนเฉียว อยู่ไม่นิ่ง งอแง ส่งเสียงโวยวาย อยู่ไม่สุขของลูกๆ กันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งบางครั้งพ่อแม่รู้ทั้งรู้ว่าการให้ลูกวัยเตาะแตะอยู่กับหน้าจอไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไหร่ วันนี้เรามีวิธีที่ว่ากันว่าใช้สยบลูกวัยทองที่ได้ผลดีกว่าการใช้หน้าจอซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเด็กได้มากกว่าที่เราคิดมาฝากค่ะ

7 วิธีสยบ ลูกขี้หงุดหงิด แบบไม่พึ่งหน้าจอ ลูกก็สงบได้!

ทำความเข้าใจเด็กวัยซน

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจ พฤติกรรมของเด็กวัย 3-6 ขวบ กันก่อนค่ะ ด้วยวัยนี้เป็นธรรมดาที่ลูกมักจะอยู่ไม่สุข และมีพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยหน่ายปวดหัว เด็กวัยนี้ค่อนข้างมีความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ชอบสำรวจสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว มีช่วงความสนใจสั้น วอกแวกง่าย  หรืออาจอารมณ์เสียจากการไม่ได้อย่างใจได้บ่อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือคนเลี้ยงอาจต้องเหนื่อยและใช้ความอดทนในการดูแลกันพอสมควรค่ะ

ซึ่งวิธีการทำให้เด็กๆ วัยนี้ ใจเย็นลงจากอารมร์ฉุนเฉียว หรือทำให้ลูกสงบลงที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจยังไม่เคยลองใช้  มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแขนงต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำเทคนิค ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาลูกอารมณ์เสีย งอแง โกงพ่อโกงแม่ แล้วพ่อแม่ก็ไม่รู้จะทำยังไง จนต้องยื่นหน้าจอหรือสมาร์ทโฟนให้ลูกดูเพื่อจะให้ลูกสงบลงได้อยู่ร่ำไป มาดูกันค่ะว่าจะมีวิธีไหนบ้าง?

1. นักพฤติกรรมศาสตร์ กล่าวว่า : พ่อแม่ต้องเป็นกระจกเงา

เมื่อลูกของคุณแสดงความรู้สึกไม่พอใจ หรือโมโหสิ่งใดก็ตาม ให้คุณพูดแสดงความเห็นในเชิงเห็นด้วย กลับไปที่ลูก โรบิน เกิร์วิช ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์จาก Duke University School of Medicine กล่าวว่า “สมมุติลูกตะโกนขึ้นมาว่า “ครูสอนคณิตศาสตร์ให้การบ้านเยอะมาก!” แทนที่เราจะพูดเพียง “อื่ม..เหรอ” หรือ“ จริงเหรอลูก” ควรตอบกลับว่า “คืนนี้การบ้านคณิตศาสตร์เยอะจริงๆ สินะ!” ตามด้วยคำพูดที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูก เช่น “แม่เห็นหนูแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้คล่องปรื๋อตลอด แม่เอาใจช่วยนะ” วิธีนี้คือการ บอกลูกให้รู้ว่าคุณชอบวิธีที่ลูกพยายามแก้ไขเมื่อเจอปัญหาต่างๆ  และเป็นการบอกว่าแม่จะอยู่ที่นี่เพื่อช่วยเหลือหากลูกต้องการ ” กลยุทธ์นี้แสดงให้เห็นว่าคุณรับรู้ถึงความไม่พอใจของลูก ซึ่งสามารถทำให้ลูกสงบลงได้

ลูกขี้หงุดหงิด
ลูกขี้หงุดหงิด

2. คุณแม่บล็อกเกอร์แม่และเด็ก กล่าวว่า : ต้องลองเปลี่ยนโหมดสมอง!

เมื่อลูกของคุณร้องไห้อย่างหนักจนคุณไม่คิดว่าลูกจะสนใจฟังที่ที่คุณพูด  ให้ดึงดูดความสนใจของลูกด้วยการทำสิ่งที่ลูกไม่คาดคิด Amanda Rueter  อดีตที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต และบล็อกเกอร์แม่และเด็ก กล่าวว่า  ให้พยายามลองขอให้ลูกพูดชื่อสิ่งของ 5 อย่าง ที่มีสีแดง หรือสามสิ่ง ที่ลูกมองเห็นได้ในขณะนั้น  วิธีนี้จะช่วยให้ลูกเปลี่ยนจากการใช้สมองส่วนอารมณ์มาเป็นส่วนตรรกะและลูกจะสงบลงได้ ” วิธีนี้อาจดูเหมือนยากสักหน่อย แต่ถ้าลองทำแล้วได้ผลก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจค่ะ

3. ครูสอนโยคะกล่าวว่า: พ่อแม่ต้องส่งความรู้สึกเชิงบวก

เมื่อคุณสังเกตเห็นว่าริมฝีปากของลูกเริ่มสั่น การร้องเพลงโปรดของลูกขึ้นมาทันที แล้วชวนลูกให้ร้องด้วยกันอาจช่วยขจัดน้ำตาลูกได้ ชักตา เคอร์ คัลซา ผู้ก่อตั้ง Radiant Child Yoga กล่าวว่า ให้ลองทำสิ่งนี้ในขณะที่คุณสบตาและโยกลูกไปมาเมื่อคุณชวนให้ลูกร้องเพลง วิธีนี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าทุกเสียงที่เราทำมีการสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบไปยังบางส่วนของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกสงบลงได้

4. นักบำบัดกล่าวว่า: ลองสอนลูกให้รู้จักปลอบตัวเอง

กอดจากแม่และพ่อเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก แต่ถ้าลูกของคุณรู้สึกเศร้า หรือวิตกกังวลเมื่อคุณไม่ได้อยู่ด้วย คุณสามารถสอนให้ลูกปลอบตัวเองได้ ด้วยการกอดแบบ “ผีเสื้อ”  ซึ่งวิธีนี้อาจเหมาะสำหรับลูกที่อายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป

ซอนย่า โครมอฟ นักบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านความวิตกกังวล และการบาดเจ็บจาก Wild Tree Wellness ในเซนต์พอล สหรัฐอเมริกา บอกว่า วิธีการฝึกปลอบตัวเอง คือ ให้ลูกทำเหมือนการเป่าเทียนหลาย ๆ ครั้งจากนั้นให้ลูกกอดอก (ลักษณะเหมือนการกอดตัวเอง) โดยให้ปลายนิ้วของลูกวางอยู่ใต้กระดูกไหปลาร้าแล้วชี้ขึ้นไปที่คอ ช่วยประสานนิ้วหัวแม่มือเพื่อสร้างร่างของผีเสื้อ จากนั้นให้ลูกหลับตาและทำท่าเหมือนกระพือปีกช้าๆ สลับขวาไปซ้ายหกถึงแปดครั้งพร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ลูกสามารถทำซ้ำได้จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น “การกระตุ้นทางซ้าย – ขวา อย่างช้าๆ จะช่วยเสริมสร้างเครือข่ายในสมองที่จะช่วยลดความทุกข์ทางอารมณ์ลงได้”

5. ครูสอนโยคะยังกล่าวอีกว่า: ลองฝึกให้ลูกให้หายใจด้วยท้อง

เมื่อคุณเห็นว่าลูกของคุณหงุดหงิด อาจบอกให้ลูกหายใจเข้าลึก ๆ  โดยการ “หายใจด้วยท้อง” กล่าวคือ สอนหลักการหายใจแบบการทำสมาธิ  หากคุณมีลูกวัยเตาะแตะ ให้ลูกชูนิ้วขึ้น 1 นิ้ว และขอให้ลูกจินตนาการว่ากำลังหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อเป่าฟองสบู่ สำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อยและพอจะสื่อสารได้รู้เรื่อง คุณอาจบอกให้ลูกคิดว่าท้องของตัวเองคือลูกโป่ง และลูกต้องหายใจทางจมูกเพื่อเติมอากาศเข้าไป สังเกตว่าลูกทำถูกต้องหรือไม่ให้ดูจากหน้าท้องของลูก ถ้าทำถูกท้องต้องขยายขึ้น หากวิธีนี้ไม่ได้ผล ลองให้ลูกยกแขนขึ้นเป็นวงกลมขนาดใหญ่เหนือศีรษะ ราวกับเป็นลูกโป่งและเธอต้องหายใจเข้าจนกว่ามันจะ “เต็ม” จากนั้นเธอสามารถ ปล่อยลม ได้โดยการปรบมือเพื่อให้อากาศออก

ลูกขี้หงุดหงิด

การหายใจเข้าลึก ๆ จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบ “เมื่อลูกของคุณหายใจออกเธอจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ.ในด้านของอารมณ์ ก็สามารถปล่อยสิ่งที่ทำให้ลูกเสียใจได้ เช่นกัน” Khalsa กล่าว

6. นักฝังเข็มกล่าวว่า: ลองกดจุดสงบของลูกน้อยของคุณ

การปลอบประโลมลูกด้วยเทคนิคการกดจุดสงบของลูกมีการใช้จริงในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด และแผนกฉุกเฉิน Alyssa Johnson ซึ่งรับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเด็กในซอลต์เลกซิตี สหรัฐอเมริกาแนะนำ โดยวิธีการ คือให้ใช้นิ้วกดตามแนวโค้งรอบบริเวณด้านบนของใบหูของลูกจนกว่าคุณจะรู้สึกเมื่อยเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆถูจุดนั้น  เป็นวงกลมเล็ก ๆ เป็นเวลาห้าถึงสิบวินาที จากนั้นย้ายไปที่รอยพับด้านในของข้อศอก และเลื่อนนิ้วของคุณไปที่ขอบที่ใกล้กับร่างกายของเลูกมากที่สุด ค่อยๆ ถูจุดกดนั้นเป็นเวลา 10-15 วินาที ทำสลับกันระหว่างหูและข้อศอกทั้งสองข้างจนกว่าเขาจะนั่งลง จอห์นสันตั้งข้อสังเกตว่าการทำแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายของเด็กหลั่งสารเอนดอร์ฟินที่ให้เกิดความรู้สึกดีได้

ลูกขี้หงุดหงิด

7. นักจิตวิทยากล่าวว่า: ลองใช้น้ำให้เป็นประโยชน์

เชื่อหรือไม่ว่าการสาดน้ำเบา ๆ อาจช่วยให้ลูกของคุณเย็นสบายได้และใจเย็นลงได้  ดร.อิลานา ลูฟท์ นักจิตวิทยาคลินิกของโรงพยาบาลเด็กเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริก่ แนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเปียกหรือจุ่มนิ้วลงในน้ำเย็นแล้วสัมผัสใบหน้าของลูกเบา ๆ การทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลงเล็กน้อย สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงและช่วยให้การหายใจสงบลงได้อย่าเหลือเชื่อ

การสอนหรือหาหนทางและวิธีการต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกได้รู้จักการจัดการกับอารมณ์ด้านลบของตัวเองตั้งแต่ลูกยังอายุน้อยๆ จะช่วยเสริมทักษะความฉลาดให้กับลูกด้วย Power BQ ได้หลายด้านด้วยกัน ทั้งในเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ), ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ, ความฉลาดในการคิดเป็น TQ ซึ่งทักษะความฉลาดทั้งสามด้าน ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อที่วันข้างหน้าลูกจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขในชีวิตอยู่ ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุข ด้วยความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น วางตัวได้อย่างเหมาะสม รู้จักดูแลสุขภาพกายและใจตัวเอง ตลอดจนเป็นคนที่คิดบวกอยู่เสมอค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : parents.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หยุด! 4 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ก่อนเสียนิสัย

ลูกขี้ร้อน นอนเปิดพัดลม เสี่ยงปอดบวม หรือไม่?

พร้อมไหม ให้ลูกนอนคนเดียว ฝึกลูกให้นอนเองได้ ตอนไหนดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up