Resilience

เทคนิคสร้าง Resilience สำหรับเด็กเล็ก เพื่อเพิ่มทักษะ “ล้มแล้วลุกให้ไว”

Alternative Textaccount_circle
event
Resilience
Resilience

5. ควรหลีกเลี่ยงคำถามว่า ‘ทำไม’

คำถามว่า “ทำไม” ย่อมไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดที่จะแก้ปัญหา หากลูกของคุณทิ้งจักรยานไว้กลางฝน และคุณถามว่า “ทำไม” ลูกอาจตอบคำถามแบบง่ายๆ เช่น หนูยังเด็กหนูไม่รู้ หรือให้พ่อแม่เก็บให้ที  แต่จะดีกว่าไหมหากลองถามคำถามด้วยคำว่า “อย่างไร” แทน เช่น “ลูกทิ้งจักรยานไว้กลางสายฝน โซ่ก็จะขึ้นสนิม ลูกจะแก้ปัญหานี้อย่างไร”  ด้วยการถามลักษณะนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกหาทางออกให้แก้ปัญหาได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น ลูกอาจได้คิดและตอบกลับมาว่าจะดูคลิปในอินเทอร์เน็ตเพื่อดูวิธีแก้ไขโซ่ที่ขึ้นสนิม หรือ จะซ่อมโซ่ใหม่ หรือ จัดการแบบเด็ดขาดด้วยการกางร่มไปเก็บจักรยานเข้าบ้าน เป็นต้น

6. ไม่ควรให้คำตอบทั้งหมด

แทนที่จะให้คำตอบกับลูก ๆ ของคุณทุก ๆ คำตอบ ให้เริ่มใช้วลี “พ่อ/แม่ ไม่รู้” ตามด้วยการส่งเสริมให้เกิดการคิดแก้ปัญหา การใช้วลีนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความไม่แน่นอนและคิดหาวิธีจัดการกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ การเริ่มต้นด้วยสถานการณ์เล็กๆ เมื่อพวกเขายังเด็กยังช่วยเตรียมความพร้อมเด็กๆ ให้รู้จักรับมือกับการทดลองที่ใหญ่กว่า แน่นอนว่าเด็กๆ อาจไม่ชอบมันแต่พวกเขาจะชินกับมันในที่สุด

ตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณถามว่าพวกเขากำลังจะถูกฉีดยาที่ห้องของคุณหมอใช่มั้ย แทนที่จะปลอบพวกเขา ให้ลองพูดว่า “แม่ไม่รู้สิจ๊ะ อาจจะครบกำหนดสำหรับการฉีดวัคซีนของลูกแล้วนะ เรามาดูกันลูกจะผ่านไปได้อย่างไร” หรือ หากลูกของคุณกังวลกับการต้องไปโรงเรียนวันแรก แทนที่จะพูดว่า “ไม่ต้องกังวลลูกจะต้องชอบมันแน่” คุณอาจอธิบายว่า “เพื่อนๆ ของลูกหลายๆ คนก็กังวลกับการต้องโรงเรียนเหมือนกัน แต่ยังไงทุกคนก็ต้องไปโรงเรียนเหมือนกันจ๊ะ” ด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้พวกเขาคิดว่าต้องทำอย่างไรเพื่อขจัดความรู้สึกไม่อยากไปโรงเรียนหากเห็นว่าตัวเองรู้สึกแบบเดียวกันกับเด็กคนอื่นๆ เป็นต้น

7. ควรหลีกเลี่ยงการพูดในแง่ลบ

พยายามให้ความสนใจกับสิ่งที่คุณพูดกับลูกๆ และคนรอบข้าง พ่อแม่ที่วิตกกังวลมักจะ “พูดคุยกับลูกๆ ด้วยทัศนคติที่เป็นลบ” ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ถ้าลูกได้เรียนว่ายน้ำคงจะดีมาก เพราะถ้าลูกว่ายน้ำไม่เป็น ตกน้ำแล้วจมน้ำเป็นอะไรไป แม่คงเสียใจมาก” คุณอาจลองพูดใหม่ว่า “การเรียนรู้วิธีการว่ายน้ำเป็นสิ่งสำคัญมาก” ก็พอแล้วค่ะ นอกจากจะไม่ทำให้เด็กๆ รู้สึกกลัว ยังช่วยให้พวกเขาเรียนว่ายน้ำได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากความกลัวและความกังวลต่างๆ

8. สร้าง Resilience ควรปล่อยให้ลูกทำผิดพลาดบ้าง

ความล้มเหลวไม่ใช่จุดจบของโลก แต่มันคือที่ที่คุณจะไปถึงเมื่อคุณคิดออกว่าจะทำอะไรต่อไปการปล่อยให้ลูกทำเรื่องที่ผิดพลาดเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ แต่มันจะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีแก้ไขการพลาดพลั้งและตัดสินใจอย่างมีข้อมูลในครั้งต่อไป

เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ได้กล่วไปในข้างต้น หากเด็กมีการบ้านที่ต้องส่งครู ผู้ปกครองที่กังวลหรือปกป้องดูแลมากเกินไปมักจะต้องการให้แน่ใจว่าลูกจะทำให้เสร็๗ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อลูกจะไม่สนใจที่จะทำ บางครั้งเราควรอยู่เฉยๆ และรอดูประโยชน์ในระยะยาว และเปิดโอกาสให้ลูกของคุณเห็นผลเสียที่ตามมาจากการกระทำของพวกเขา

ในทำนองเดียวกัน หากลูกของคุณไม่ต้องการไปซ้อมขี่จักรยานขาไถ คุณก็อาจจะปล่อยให้พวกเขาอยู่บ้าน หากมีการแข่งขันในโอกาสหน้า พวกเขาอาจทำได้ไม่ดีเพราะซ้อมไม่พอ ลูกของคุณจะเริ่มคิดได้ด้วยด้วยตัวเองว่า หากไม่ซ้อมก็จะทำผลงานออกมาได้ไม่ดีเป็นต้น

วิธีสร้างทักษะ Resilience
วิธีสร้างทักษะความยืดหยุ่นให้ลูก

9. สร้าง Resilience ต้องช่วยให้ลูกจัดการกับอารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการควบคุมตนเองเป็นกุญแจสำคัญในการปรับตัว คุณสามารถสอนลูก ๆ ของคุณว่าอารมณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือเรื่องปกติของทุกคน ไม่เป็นไรที่จะรู้สึกโกรธที่คุณแพ้เกมหรือมีคนอื่นทำไอศกรีมของคุณ หรือสามารถสอนเด็ก ๆ ว่าหลังจากเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดี พวกเขาต้องคิดให้รอบคอบว่าจะทำอะไรต่อไป เด็กๆ เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าอารมณ์อันทรงพลังทำให้พวกเขาได้ในสิ่งที่ต้องการ พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ด้วย

คุณอาจบอกลูกว่า “แม่เข้าใจว่าคุณรู้สึกอย่างไร เป็นแม่คงรู้สึกแบบเดียวกัน แต่ตอนนี้ลูกต้องคิดให้ออกว่าขั้นตอนต่อไปที่เหมาะสมคืออะไร” ที่สำคัญหากลูกของคุณมีอารมณ์ฉุนเฉียว ควรบอกลูกให้ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดเหมาะสมและไม่เหมาะสม

10. เป็นแบบอย่างที่ดีในการปรับตัว

แน่นอน เด็ก ๆ ย่อมเรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ด้วย ดังนั้น พยายามสงบสติอารมณ์ในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตของคุณ แน่นอนว่าคุณไม่สามารถพูดกับเด็ก ๆ ว่าคุณต้องการให้พวกเขาควบคุมอารมณ์ในขณะที่ตัวคุณเองกำลังอารมณ์เสีย การเลี้ยงลูกต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างมาก และเราทุกคนก็ผิดพลาดกันได้ เมื่อทำผิดก็แค่ยอมรับ คุณสามารถพูดได้ว่า “แม่ทำพลาดจริงๆ แม่ขอโทษที่จัดการได้ไม่ดี เรามาหาวิธีในการจัดการเรื่องนี้กัน”

สุดท้ายแล้วความยืดหยุ่น จะช่วยให้เด็กๆ ท่องไปในโลกแห่งการลองผิดลองถูก เพื่อให้พวกเขาได้รู้จักวิธีรับมือกับชัยชนะและความพ่ายแพ้ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนความทุกข์ยากที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของวัยเด็ก เด็กที่มีความยืดหยุ่นที่ดี ย่อมกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความยืดหยุ่นในอนาคต และจะสามารถเอาชีวิตรอดและเติบโตท่ามกลางความเครียดต่างๆ ในชีวิตที่อาจต้องพบเจอและหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://raisingchildren.net.auhttps://psychcentral.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up