คนท้องกับแมว

คนท้องกับแมว เลี้ยงแมวตอนท้องเสี่ยงลูกพิการ

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องกับแมว
คนท้องกับแมว

เมื่อแม่ท้องติดเชื้ออึแมว ส่งผลกับลูกในท้องอย่างไรได้บ้าง?

ลูกในท้องที่ติดเชื้อจากแม่ท้องนั้น อาการจะขึ้นอยู่กับว่าได้รับเชื้อช่วงใดของการตั้งครรภ์ โดยแบ่งได้ดังนี้

  • แม่ท้องติดเชื้อครั้งแรกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) มีโอกาสประมาณ 45% ที่จะติดต่อสู่ทารก และเมื่อทารกติดเชื้อ พบว่า
    • ทารกจำนวน 60% ไม่พบอาการผิดปกติ
    • 10% จะแท้งหรือตายแรกคลอด
    • อีก 30% จะมีอาการรุนแรง ถ้าเด็กรอดมักไม่แสดงอาการในตอนคลอด แต่เมื่อเติบโตขึ้นเด็กจะมีอาการของโรคปรากฏ เช่น มีไข้ ตับม้ามโตเหลือง เลือดจางซีด เกิดผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดอักเสบ หากเป็นที่สมองก็มีอาการชัก น้ำคั่งสมอง หัวบาตรหรือหัวลีบ สมองและไขสันหลังอักเสบ เนื้อสมองมีหินปูนเกาะจับ ตาเหล่ ต้อกระจก จอตาอักเสบ ตาบอด หูหนวก ปัญญาอ่อน และ อาการชักในช่วงเด็กวัยรุ่น
เด็กหัวบาตร เชื้ออึแมว
เด็กหัวบาตร เกิดจากการติดเชื้อจากอึแมว
  • แม่ท้องติดเชื้อเป็นครั้งแรกเมื่อตั้งครรภ์เกิน 6 เดือน โอกาสที่เชื้อจะผ่านรกไปยังตัวอ่อนจะมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้น แต่พยาธิสภาพและการก่อโรคในตัวอ่อน และทารกแรกเกิด จะไม่รุนแรงเท่าติดเชื้อตอนครรภ์อ่อนๆ
  • ส่วแม่ท้องที่เคยติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทาน ป้องกันไม่ให้ลูกในท้องติดเชื้อได้ และมารดาที่เคยติดเชื้อและมีลูกคนแรกที่ผิดปกติ โอกาสที่ลูกคนต่อไปจะติดเชื้อและเกิดอาการโรคนั้นต่ำมาก

เมื่อแม่ท้องติดเชื้อจะมีอาการอย่างไรบ้าง?

  1. ระยะเฉียบพลัน แม่ท้องที่มีภูมิคุ้มกันปกติมักไม่มีอาการอะไรจากการติดเชื้อนี้ หรือมีเล็กน้อยจนไม่สังเกตเห็นได้ หรืออาการไม่จำเพาะ ทำให้ไม่ได้เข้ารับการรักษาโรงพยาบาล เช่น อาการคล้ายเป็นไข้หวัด เจ็บคอ มีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่ ต้นคอ แถวมุมกราม หลังใบหู เป็นต้น ซึ่งอาการอาจจะบรรเทาลงและหายไปเองได้ แต่จะเข้าสู่ระยะเรื้อรัง มีเพียงบางรายที่เชื้อเข้าไปเจริญเติบโตในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น ปอด ตับ สมอง ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อและเสียชีวิตได้ ถ้ารอดตายก็จะเข้าสู่ระยะเรื้อรังและมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เมื่อภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อก็จะถูกกระตุ้นให้เจิญเติบโตและแบ่งตัวและก่อโรคอีกครั้ง
  2. ระยะเรื้อรัง เชื้อจะเข้าไปในสมองและกล้ามเนื้อ และพัฒนาเป็นซีสต์เนื้อเยื่อ ซึ่งมีผนังหุ้ม ทำให้สามารถหลบจากภูมิคุ้มกันได้ ผู้ติดเชื้อจึงไม่แสดงอาการป่วยแต่อย่างใดและมีชีวิตปกติ แต่ถ้าเชื้อที่เข้าลูกตาอาจทำให้เกิดรอยโรคที่จอตาและเยื่อโครอยด์อักเสบตามมาใน 1 ปี ถึง 3.5 ปี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ คนท้องกับแมว…อยู่ด้วยกันได้ เพียงทำตามนี้

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up