อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง ช่วยแม่ท้องลดอาการปวดหลังอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง
อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง เป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ และเป็นปัญหาที่พบบ่อยสำหรับคนท้อง โดยมักจะมีอาการปวดหรือเจ็บบริเวณบั้นเอวสะโพกและหลังบริเวณล่าง และอาจมีอาการตะคริวร่วมด้วย ยิ่งเข้าไตรมาสที่สองและในระยะใกล้คลอดมักจะมีอาการปวดชัดเจนยิ่งขึ้น สาเหตุเป็นเพราะอะไร และช่วยลดอาการปวดหลังให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไรดี

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง

สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ในคุณแม่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป มีว่าที่คุณแม่จำนวนไม่น้อยที่อาจไม่รู้ตัวว่าตั้งท้อง เนื่องจากการรู้ตัวว่าท้องหรือไม่ในช่วงระยะแรก หรือประมาณ 1 สัปดาห์ที่เริ่มตั้งครรภ์อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากสังเกตก็จะพบว่าร่างกายมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติไป อย่างเช่น ประจำเดือนไม่มา รู้สึกตัวเองอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย บางรายมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือแม้กระทั่งกลายเป็นคนอารมณ์ขี้เหวี่ยงโดยไม่รู้ตัว อาการดังกล่าวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าจะได้เป็นว่าที่คุณแม่ รวมถึงอาการ “ปวดหลัง” ที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ด้วย

ทำไมแม่ท้องต้องปวดหลัง

ปัญหา “ปวดหลัง” อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แทบทุกคน ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ และสามารถมีอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งตั้งแต่เริ่มท้องไปตลอดการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นในช่วงของอายุครรภ์ที่มากขึ้น หรือเป็นช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งอาการปวดหลังเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาทิเช่น

  • ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ มีผลในการกระตุ้นการคลายตัวเอ็นที่ยึดกระดูกเชิงกราน ทำให้ข้อต่อและเอ็นต่างๆเกิดการยืดหรือหลวม ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดหลังได้
  • ความเครียดในขณะตั้งครรภ์ ที่ทำให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายเกิดการตึงตัว มีผลต่ออาการปวดหลังได้ด้วย
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้น หน้าท้องที่ขยายออกเพราะการเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการถ่วงของครรภ์ที่อยู่ด้านหน้า ร่างกายจึงต้องแอ่นหลังมากกว่าปกติเพื่อให้คงความสมดุลของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อชุดหลังจึงมีการหดเกร็ง เกิดแรงกดตรงข้อกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนส่งผลให้แม่ท้องมีอาการปวดหลัง
  • มีการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ซึ่งเป็นผลมาจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกน้อยที่มีการเจริญเติบโตขึ้นภายในร่างกายของคุณแม่ โดยเฉพาะในช่วงที่อายุครรภ์มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัวเกิดการแยกตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • พฤติกรรมและท่าทางต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ไม่ว่าจะเป็นการยืน นั่ง ลุก หรือเดิน รวมทั้งการนอนราบด้วยหากทำผิดหรือไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะในช่วงที่คุณแม่มีหน้าท้องใหญ่มากขึ้น ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังได้ เช่น การโน้มตัวก้มลงหยิบสิ่งของ หรือเอี้ยวตัว การเดินตัวแอ่นไปข้างหลังเพื่อพยุงตัว การยกของหนัก เป็นต้น
  • เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง แม่ท้องบางรายอาจมีอาการปวดหลังขึ้นได้อีก เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากกระแสเลือดของคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเหตุให้เกิดการกร่อนของกระดูก นำมาซึ่งอาการปวดหลังได้

อาการคนท้องระยะแรก ปวดหลัง

10 วิธีลดอาการปวดหลังของแม่ตั้งครรภ์

อาการปวดหลังของแม่ท้องแต่ละคนมากหรือน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวสะโพกและหลังบริเวณล่าง อาจรวมไปถึงอาการปวดสะโพก ปวดกระดูกเชิงกราน และปวดร้าวไปที่กระดูกก้นกบด้วย แม้จะมีอาการปวดหลังขึ้นขณะตั้งครรภ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มีวิธีช่วยลดและบรรเทาอาการปวดหลังของแม่ท้องได้

1.ควบคุมน้ำหนัก ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีความอยากอาหารมากขึ้น จึงทำให้เผลอตามใจปาก ซึ่งก็จะไปส่งผลกระทบต่อน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นและปัญหาสุขภาพในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ตามเกณฑ์ที่แพทย์กำหนด เพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวและครรภ์ใหญ่เกินไปจนเกิดการถ่วงจนกระดูกสันหลังแอ่น ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังได้ ถ้าหากว่าในขณะตั้งครรภ์รู้สึกว่าตัวเองหิวบ่อยขึ้น คุณแม่ท้องอาจจะแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อ ทั้งมื้อหลักที่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ และมื้อว่างที่อาจจะเป็นผลไม้ โยเกิร์ต ธัญพืชอบแห้ง ฯลฯ ในปริมาณที่พอดี และดื่มน้ำเพื่อช่วยให้คลายหิวได้โดยเฉพาะในช่วงดึก

2.ปรับท่านอน การนอนหงายหรือท่าราบจะส่งผลให้ปวดหลังได้ คุณแม่ท้องควรปรับท่าให้เป็นนอนตะแคง และมีหมอนข้างที่มีความแข็งและหนาสำหรับหนุนระหว่างเข่า เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวและครรภ์ถูกถ่ายลงไปยังหมอนข้าง ช่วยคลายอาการเกร็งกล้ามเนื้อหลัง เป็นการลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อหลังได้มากขึ้น หรือใช้หมอนหนุนครรภ์ที่ออกแบบมาสำหรับคนท้องหนุนรองไว้ใต้ครรภ์ เพื่อให้สรีระของคุณแม่นอนอยู่ในท่าที่ถูกต้อง รวมทั้งการนอนบนเตียงที่ไม่อ่อนยวบจนเกินไป และขณะลุกจากที่นอนควรใช้มือทั้งสองข้างพยุงตัวแล้วดันท้องขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการเกร็งตรงกล้ามเนื้อหลัง และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง

4.หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง การใส่รองเท้าส้นสูงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อส่วนล่างเกร็งมากเกินไป จนนำไปสู่อาการปวดหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกายของแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องแบกรับน้ำหนัก นอกจากการใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้ว อาจเสี่ยงอันตรายต่อคุณแม่จากการเดินสะดุดล้ม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่จะส่งผลทำให้ตัวเองและลูกน้อยในครรภ์บาดเจ็บได้

5.หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ แม่ท้องที่ต้องยืนนาน ๆ อาจมีอาการปวดหลังได้สูง เนื่องจากน้ำหนักครรภ์ที่ถ่วงบริเวณด้านหน้า ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักมากกว่าปกติ ซึ่งถ้ายืนนาน ๆ จะทำให้มีกล้ามเนื้อล้าได้ เมื่อแม่ท้องต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานานควรหยุดนั่งพัก และสลับพักขาโดยยกเท้าสูงเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

6.หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยกของหนักจะยิ่งทำให้ร่างกายที่มีน้ำหนักตัวมากอยู่แล้วต้องทำงานหนักมากขึ้นอีก ทำให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณหลังและหน้าท้องเกิดอาการเกร็ง หากคุณแม่ท้องจำเป็นต้องยกจริง ๆ ควรใช้ท่ายกของให้ถูกวิธีเพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่ออาการปวดหลัง โดยยืนแยกเท้าออกเท่าช่วงสะโพก เฉียงปลายเท้าออกเล็กน้อย จากนั้นค่อย ๆ ย่อเข่าลงและหย่อนตัวลงตรง ๆ พยายามให้น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลางและบริเวณสะโพก ใช้กำลังจากแขนและไหล่ยกของ และใช้ต้นขาทั้งสองดันตัวเพื่อพยุงตัวขึ้น โดยไม่ใช้แรงหลังเด็ดขาด ห้ามก้มแล้วยกโดยเด็ดขาด

7.หลีกเลี่ยงการนั่งหลังงอ นั่งไขว่ห้าง แม่ท้องที่มีอาการปวดหลังควรนั่งในท่าที่ถูกต้อง หลังตรง เอนตัวพิงเก้าอี้เล็กน้อยและควรหาเก้าอี้เตี้ย ๆ มารองรับเท้า รวมถึงไม่ควรนั่งนาน และควรได้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ

8.ออกกำลังกายสำหรับคนท้อง การออกกำลังอย่างพอดีและต่อเนื่องเป็นประจำเป็นวิธีช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยยืดหยุ่นและสมรรถนะของกล้ามเนื้อต่าง ๆ โดยกีฬาที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง เช่น ออกกำลังกายในน้ำ โยคะคนท้อง ว่ายน้ำ เดินเบา ๆ ฯลฯ แถมยังช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพดีแข็งแรงระหว่างตั้งครรภ์ และยังช่วยให้คลอดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

9.ใส่กางเกงช่วยพยุงครรภ์ การใช้กางเกงพยุงครรภ์ช่วยในการแบกรับหน้าท้องที่ยืดขยายออกในช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้น เป็นตัวช่วยที่จะทำให้คุณแม่ไม่ต้องแบกรับน้ำหนักหน้าท้องมากเกินไป ป้องกันอาการปวดหลังที่เกิดขึ้น

10.การประคบร้อนหรือประคบเย็น เมื่อมีอาการปวดหลังคุณแม่อาจใช้การประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อน ใช้แผ่นเจลร้อนประคบหลัง มาประคบร้อนก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้

ทั้งนี้อาการปวดหลังที่เกิดขึ้นกับแม่ท้องบางรายอาจมีอาการปวดธรรมดาสามารถทนได้ แต่หากมีอาการปวดรุนแรงมากจนทนไม่ไหว รวมถึงอาการปวดร้าวไปถึงก้น ปวดร้าวลงขาอย่างรุนแรง ปวดไปถึงน่อง นิ้วมือ นิ้วเท้า หรือมีอาการเหมือนกล้ามเนื้ออ่อนแรง คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์หรือสูตินารีแพทย์ที่ฝากครรภ์เพื่อตรวจเช็กอาการ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาดเพราะยาบางประเภทอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ ที่สำคัญคือการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ที่จะช่วยลดภาวะอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้.

ชมคลิปเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่ ในคลิปรายการ รู้ทันโรคกับหมอศิริราช ตอน คุณแม่มือใหม่ตั้งครรภ์ จาก ผศ. นพ. มานพชัย ธรรมคันโธ ภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.samitivejhospitals.comwww.sanook.com

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

ปวดหลัง หลังคลอด ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้เสี่ยงอัมพาต

ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up