ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง

ไขความลับ ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง ?

Alternative Textaccount_circle
event
ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง
ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง

ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง ??

การที่สาว ๆ ประจําเดือนขาด ประจำเดือนเลื่อน แล้วเกิดความกังวลใจว่า กี่วันถึงจะท้อง? ก่อนอื่นเรามาเข้าใจอาการประจำเดือนขาด และวิธีการนับรอบเดือนกันก่อน เพราะก่อนที่เราจะคำนวนคร่าว ๆ ว่ารอบเดือนขาดกี่วันถึงท้อง เราต้องเข้าใจวิธีการรนับรอบเดือนของตัวเองเสียก่อน

วิธีการนับรอบเดือน

โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก ๆ 28-29 วัน เวลาที่เราคำนวณหารอบเดือนครั้งถัดไป เราก็จะเริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งประจำเดือนครั้งถัดไปมา จากนั้นจึงเริ่มนับวันแรกของประจำเดือนรอบถัดไปที่มา เป็นวันที่ 1 อีกครั้ง และนับเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในทุก ๆ เดือน

อย่างไรก็ตาม ร่างกายของผู้หญิงแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจเริ่มนับ 1 ใหม่ในทุก ๆ 28-29 วัน แต่บางคนอาจจะต้องนับ 1 ใหม่ ในทุก ๆ 35-40 วัน

รอบเดือนแบบไหน มีโอกาสตั้งครรภ์

เมื่อเรานับรอบเดือนของตัวเองกันแล้วว่า มีรูปแบบของรอบเดือนแบบใด (แต่ละคนไม่เหมือนกัน) ซึ่งหากพ้นไปจากกำหนดของการมีรอบเดือนตามปกติ หรือพ้นไปจากวันที่รอบเดือนจะมาช้าตามปกติแล้วประมาณ 2-3 วัน และประจำเดือนยังไม่มา ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

การตรวจครรภ์ด้วยตนเอง

หากว่าสาวๆ  กำลังสงสัยว่าประจำเดือนไม่มา แล้วจะท้องหรือไม่ ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องรอลุ้นถึง 1 เดือน เราสามารถตั้งข้อสังเกตได้ตั้งแต่ 2-3 วัน หรือช้าสุด คือ 7 วัน หลังจากวันที่ประจำเดือนควรจะมาตามกำหนด แต่หากว่าเป็นคนมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่วนนี้อาจจะรอสังเกตอาการขาดประจำเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสังเกตอาการคนท้องอื่น ๆ ด้วย เช่น มีอาการแพ้ท้องหรือไม่ เพื่อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์

เมื่อตั้งข้อสังเกตอาการ และดูการเลื่อนของประจำเดือนของเรากันแล้ว หากอยากรู้ผลให้แน่ชัดกันไปเลย ก็สามารถที่จะทำการตรวจครรภ์ได้เลย เพื่อทำการยืนยันว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่

ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง เมื่อไม่ได้คุมกำเนิด
ประจำเดือนเลื่อน กี่วันถึงท้อง เมื่อไม่ได้คุมกำเนิด

การตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

การตรวจครรภ์สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยการซื้ออุปกรณ์ หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายอยู่ในร้านค้าทั่วไป ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีทดสอบหาฮอร์โมน HCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ โดยจะหลั่งออกมาจากรกหลังจากปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน และจะขึ้นสูงสุดในช่วง 8-12 สัปดาห์หลังการมีเพศสัมพันธ์ ความแม่นยำของการตรวจวิธีนี้จะมีมากถึง 90 % โดยอุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์นี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. แบบแถบจุ่ม อุปกรณ์ชุดนี้จะมีราคาถูก ประกอบไปด้วยแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ และถ้วยตวง (บางยี่ห้อไม่มี) วิธีการใช้คือเก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง แล้วนำแผ่นทดสอบจุ่มลงในถ้วยตวงประมาณ 3 วินาที แล้วนำออกมาจากถ้วยตวงทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีเพื่อรออ่านผลตรวจครรภ์ ข้อควรระวัง คือ อย่าให้น้ำปัสสาวะเลย หรือสูงเกินกว่าขีดลูกศรของแผ่นทดสอบ
  2. แบบปัสสาวะผ่าน มีเพียงแท่งตรวจครรภ์ที่ใช้ในการทดสอบเท่านั้น วิธีการใช้คือ ถอดฝาครอบออกแล้วถือแท่งให้หัวลูกศรชี้ลงพื้น แล้วปัสสาวะผ่านบริเวณที่ต่ำกว่าลูกศรให้ชุ่มประมาณ 30 วินาที จากนั้นรออ่านผลประมาณ 3-5 นาที
  3. แบบหยด หรือแบบตลับ ชุดอุปกรณ์จะประกอบไปด้วยหลอดหยด ตลับตรวจครรภ์ และถ้วยตวงปัสสาวะ ขั้นตอนการใช้ คือ เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง จากนั้นนำหลอดหยดดูดน้ำปัสสาวะแล้วหยดลงในตลับตรวจครรภ์ประมาณ 3-4 หยด วางตลับทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วจึงอ่านผลการตรวจ

การอ่านผลการตรวจ

ปกติแล้วการตรวจครรภ์ด้วยตัวเองมักจะทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไปเพราะอาจจะไม่มีขีดใดขึ้นมาเลย โดยบริเวณหน้าแสดงผลการตรวจจะมีตัวอักษร 2 ตัวคือ C (Control Line) และ T (Test Line) ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ ดังนี้

  • 1 ขีด (ขึ้นที่ขีด C เพียงอย่างเดียว) แสดงว่าได้ผลลบ คือ ไม่มีการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์แล้วแต่ยังตรวจไม่พบ
  • 2 ขีด (ขึ้นที่ขีด C และ T) แสดงว่าได้ผลบวก คือ มีการตั้งครรภ์ (หากขึ้นขีดที่ T จาง ๆ ควรรออีก 2-3 วันเพื่อตรวจใหม่ในอีกครั้ง)
  • ไม่มีขีดใดขึ้นเลย แสดงว่าที่ตรวจครรภ์เสีย หมดอายุ หรือเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ ต้องตรวจใหม่อีกครั้ง

คำแนะนำในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

  1. ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล
  2. ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง
  3. ควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งเพราะปริมาณฮอร์โมน HCG จะมีระดับที่แตกต่างกัน หากตรวจหลายครั้งจะได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนกว่า โดยเว้นระยะทดสอบประมาณ 2-3 วัน
  4. ควรตรวจหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือก่อนรับประทานอาหารเพราะจะไม่มีสารเจือปนในปัสสาวะซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
  5. เมื่อฉีกซองแล้วควรรีบตรวจภายใน 1 ชั่วโมงทันทีเพราะหากทิ้งไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง

หากไม่ได้ท้อง แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณควรไปรับการตรวจเพิ่มเติม หรือปรึกษาแพทย์ จากอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้

วิธีดูแลตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ
วิธีดูแลตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ

วิธีการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ?

  1. ลดภาวะเครียด
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.petcharavejhospital.com/https://www.siphhospital.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สาเหตุที่ เมนส์ ไม่มา ประจำเดือนขาด เป็นเพราะอะไร พร้อมวิธีรับมือ

อาการของคนท้อง เริ่มต้นด้วยการนับประจำเดือน

ลูกไฮเปอร์ สมาธิสั้น ติดจอ รอไม่ได้ ต้องแก้ให้ถูกจุด พร้อมเทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไร โตไปไม่ติด Social

แม่แชร์! เมื่อลูก 5 ขวบเป็น โรคสาวก่อนวัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up