พัฒนาการของทารกในครรภ์ ตั้งแต่ปฏิสนธิ จนกระทั่งเกิด (มีคลิป)

event

พัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ข้อ 1) “อสุจิ” ไม่ใช่ “น้ำอสุจิ” เรามักจะเข้าใจรวมๆ กันไป ว่าอสุจิกับน้ำอสุจิเป็นสิ่งเดียวกัน จริงๆ แล้ว อสุจิคือเซลที่นำพาดีเอ็นเอเพื่อจะไปผสมกับไข่ ส่วนน้ำอสุจิคือพาหนะที่ประกอบด้วยโปรตีนและน้ำตาล นอกจากจะทำหน้าที่พาอสุจิให้เดินทางไปยังรังไข่แล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงานของอสุจิอีกด้วย

ข้อ 2) อสุจิใช้เวลา 3 เดือน กว่าจะโตเต็มวัย ตัวอสุจิถูกสร้างในอัณฑะ จากนั้นจะถูกนำไปพักที่หลอดเก็บอสุจิก่อนลำเลียงผ่านหลอดนำอสุจิ เพื่อไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ แล้วต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนจะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาราว 3 เดือน อสุจิอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้ประมาณ 7 วัน เมื่อไข่ออกจากรังไข่จะใช้เวลา 12-24 ชั่วโมงเพื่อเคลื่อนตามท่อนำไข่ไปที่มดลูก โดยทั่วไปการผสมจะเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ แปลว่าถ้ามีเซ็กส์โดยไม่ป้องกัน ไข่ที่ตกหลังมีเซ็กส์ 1-2 วัน ก็มีสิทธิผสมกับอสุจิที่ยังรีรออยู่ได้

ข้อ 3) อสุจิไม่มีมาตรฐาน อสุจิมีลักษณะหัวกลมรี มีโคนหาง และหางยาวเรียว อสุจิที่หลั่งออกมาส่วนใหญ่ไม่ได้มีรูปทรงเหมือนกันหมดอย่างที่เห็นในรูป แต่มีทั้งที่หัวเบี้ยว หัวเล็ก หัวโต มี 2 หัว 1 หาง หรือบางตัวก็มี 1 หัว 2 หาง นอกจากหน้าตาแล้ว คุณภาพของแต่ละตัวก็ต่างกันด้วย

Must read : 7 ผลไม้ บำรุงสุขภาพ สามี ให้แข็งแรงฟิตพร้อมมีลูก !

ข้อ 4) อสุจิ “นักแข่ง” มีแค่ครึ่งเดียว เรามักจะนึกภาพอสุจิฝูงโตว่ายกรูกันไปที่ไข่ ที่จริงแล้ว มีอสุจิเคลื่อนที่อยู่ราว 50-60 เปอร์เซ็นต์ ตัวที่กระตือรือร้นและรักการแข่งขันยิ่งน้อยลงไปอีก ที่เหลือเป็นอสุจิที่อยู่นิ่งๆ หรือขยับเขยื้อนแค่นิดๆ น้อยๆ เท่านั้น

ข้อ 5) อสุจิส่วนใหญ่ด้อยคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ในบรรดาอสุจิที่ถูกปล่อยออกมานับล้านตัวต่อการหลั่งแต่ละครั้ง มีแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้การได้ แต่ก็เพียงพอแล้วที่จะไปผสมกับไข่ หรือถ้ามีสัก 4-15 เปอร์เซ็นต์ก็ยังพอลุ้น แต่ถ้าน้อยกว่านั้น แสดงว่าคุณผู้ชายน่าจะมีปัญหาสุขภาพ

ข้อ 6) อสุจิชี้วัดสุขภาพ ผู้ชายที่ร่างกายไม่แข็งแรงอาจมีผลต่อสมรรถนะทางเพศและการเจริญพันธุ์ แม้เรื่องเพศและการเจริญพันธุ์จะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต แต่ถ้าเริ่มมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศควรไปตรวจเช็คร่างกาย เพราะอาจเป็นสัญญาณว่ามีโรคแอบแฝง

ข้อ 7) อายุมีผลกับอสุจิ ร่างกายผลิตอสุจิตลอดชีวิต แต่พออายุเพิ่มขึ้น คุณภาพอสุจิจะด้อยลง ผลศึกษาพบว่า เด็กที่เกิดจากพ่ออายุมากมีโอกาสเป็นออทิสติก ลมชัก และจิตเภทมากกว่าเมื่อเทียบกับพ่อวัยหนุ่ม

ข้อ 8) ผลิตเพิ่มได้หรือไม่? มีเว็บไซต์ขายยาที่อวดอ้างว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิ แต่มีน้อยมากที่ทำได้จริงตามคำโฆษณา หรือถ้าพอจะเป็นไปได้อยู่บ้างก็จากการทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลอ้อมๆ ต่อการทำงานของระบบการผลิตอสุจิ ทางที่ดีกินอาหารมีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ระวังกีฬาประเภทขี่จักรยานทางไกล การนั่งกดทับนานๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณอัณฑะไม่สะดวก ไม่เป็นผลดีต่อระบบการผลิตด้วยเช่นกัน

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : rpomwit.blogspot.com , www.komchadluek.net

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up