คลายสงสัย! 9 ปัญหานมแม่ ยอดฮิต ของคุณแม่มือใหม่

Alternative Textaccount_circle
event

ปัญหานมแม่

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกกินนมพอแล้ว

– ดูจาก จำนวนครั้งของอุจจาระ มากกว่า 2 ครั้ง ปัสสาวะ มากกว่า 6 ครั้ง สีปัสสาวะไม่มีสีส้มแดงจากสีของตะกอนที่อยู่ในปัสสาวะ

– น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 15-20 กรัมต่อวัน

– สะอึกบ่อย เพราะกระเพาะอาหารมีการขยายตัวจากน้ำนมแล้วไปเบียดกระบังลม ทำให้เกิดการสะอึก

สำหรับวิธีหยุดสะอึกอย่างเร็วมี 2 วิธี คือ ให้ดูดนมแม่ต่อ ไม่ต้องให้ดื่มน้ำเปล่า หรือ อุ้มลำตัวลูกตั้งพาดบ่าไว้สักพัก หรือไม่ต้องทำอะไรเลย รอให้เขาหยุดไปเอง เหมือนตอนอยู่ในท้องเวลาลูกสะอึกจะทำให้หน้าท้องแม่กระเพื่อม เนื่องจากมีการกลืนน้ำคร่ำเข้าไป ทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว ซึ่งเขาก็หยุดสะอึกได้เองโดยไม่มีใครช่วย สะอึกนานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่อันตราย

หากลูกน้ำหนักตัวขึ้นมากเกินไป (มากกว่า 33 กรัมต่อวัน หรือ 1 กิโลกรัมต่อเดือน) ถือได้ว่า กินมากเกินไป หรือ overfeeding ลูกจะมีอาการอึดอัดมาก เสียจน

  1. นอนร้องเสียงเป็นแพะเป็นแกะ (แอะ แอะ แอะ)
  2. ส่งเสียงร้องที่ฟังแล้วรู้สึกได้ว่าลูกอึดอัด พร้อมกับบิดตัวตลอดเวลาทั้งตอนหลับและตื่น
  3. มีเสียงดังครืดคราดในคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาจ่อที่คอหอยแล้ว (พ่อแม่มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหวัด)
  4. อาเจียน หรือ แหวะนมบ่อย
  5. พุงกางเป็นรูปน้ำเต้าตลอดเวลา

ทางแก้ ปัญหานมแม่ ข้อนี้คือ ปั๊มนมออกก่อนเพื่อเหลือนมในเต้าให้น้อยลง และให้ใช้ยาขับลมร่วมด้วย แต่ในกรณีเดียวกันหากลูกดูดบ่อยมากๆ เข้าเต้าตลอด จนหัวนมแม่แตก แต่ได้น้ำนมไม่เพียงพอ ลูกอาจเป็นพังผืดใต้ลิ้น ต้องพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไข

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

4. ทำไมลูกตัวเหลืองจัง

สาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลืองในช่วงสัปดาห์แรก ส่วนใหญ่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกมากเกินไป หรือ เกิดจากการติดเชื้อ หรือการทำงานของเอนไซม์ที่ตับบกพร่อง ทั้งนี้ทารกแรกเกิดทุกคนตัวเหลืองอยู่แล้ว แต่มากน้อยแตกต่างกันไป วันแรกอาจจะยังไม่เห็นเหลือง แต่สารที่เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และขึ้นสูงสุดประมาณวันที่ 4-6 หลังคลอด

หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง เพราะตับเริ่มกำจัดสารดังกล่าวได้ดีขึ้น และทารกได้รับน้ำนมแม่มากขึ้นด้วย ซึ่งมีสารช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดี เป็นการกำจัดสารเหลืองทางอุจจาระออกนอกร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่นอกจากนี้ ยังมีกรณีตัวเหลืองจากการที่น้ำนมแม่น้อยด้วย จะตรวจว่ามาจากเหตุอื่นหรือไม่ก็ต่อเมื่อน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 12% และไม่มีภาวะอื่นที่อธิบายสาเหตุตัวเหลืองได้ เช่น กรุ๊ปเลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน เป็นพาหะของภาวะธาลัสซีเมีย ขาดเอนไซม์ G6PD หรือ การติดเชื้อ

หากลูกตัวเหลืองจากกรณีน้ำนมแม่น้อย แก้ไขโดยการให้ดูดนมแม่บ่อยขึ้น ฝึกให้ดูดถูกวิธี และเสริมนมผงให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ห้ามให้น้ำ พร้อมกันนี้หากตัวเหลืองหลังจาก 1 สัปดาห์ อาจเกิดจาก

  • น้ำนมแม่บางคนมีสารทำให้ลูกตัวเหลือง
  • มีปัญหาโรคท่อน้ำดีอุดตัน หรือ ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือ เกิดการติดเชื้อ

ในกรณีแรกไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรืออันตรายแก่ทารก ไม่ว่าจะมีภาวะเหลืองมากเท่าใดก็ไม่ได้ทำลายเซลส์สมองของเด็ก จึงไม่ต้องหยุดนมแม่ เพราะอาการตัวเหลืองจะหายเองภายใน 1-2 เดือน

ติดตาม 9 ปัญหานมแม่ยอดฮิต ของ คุณแม่มือใหม่ คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up