การคลอดก่อนกำหนด

7 วิธีดูแลตัวเองไม่ให้ “คลอดก่อนกำหนด” ในท้องสอง

Alternative Textaccount_circle
event
การคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนด

วิธีป้องกัน การคลอดก่อนกำหนด (ในท้องสอง)

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ค่ะว่าภาวะคลอดก่อนกำหนด สามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าท้องแรกจะคลอดครบกำหนด เพราะมี หลายปัญจัยที่ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการคลอดกำหนดในท้องสอง แต่ถึงกระนั้นก็ยังเสี่ยงไม่มากเท่ากับคุณแม่ที่มีประวัติการ คลอดก่อนกำหนดมาจากท้องแรก ดังนั้นแนะนำว่าให้อยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์ไว้นะคะ พร้อมกับ วิธีป้องกันดูแลตัวเองทั้งก่อน และขณะตั้งครรภ์ในท้องที่ 2  ดังนี้ค่ะ

1. ไม่สูบ ไม่ดื่ม

ศัตรูตัวร้ายทำลายสุขภาพทั้งของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ก็คือ บุหรี่ที่มีสารพิษ อย่าง นิโคติน , คาร์บอนมอนอกไซด์ , ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฯลฯ สารพิษในบุหรี่ทำลายทั้งระบบประสาท ปอด หัวใจ ฯลฯ ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่าง เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์เลยสักนิด ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เข้าสู่ร่างกายจะไปทำให้อวัยวะภายในสำคัญ อย่าง ตับ ระบบประสาทเป็นอันตราย ฉะนั้นไม่ว่าจะ บุหรี่ หรือ เหล้าต่างก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดควรลดได้เช่นเดียวกันค่ะ

2. กิจวัตรประจำวันต้องไม่สุ่มเสี่ยง

รู้ค่ะว่า “คนท้องไม่ใช่คนป่วย” แต่ถึงจะทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนคนปกติทั่วไป แต่อย่าลืมว่าคุณแม่กำลังมีอีกหนึ่งชีวิตน้อยนอนอุ่นๆ อยู่ในท้อง ฉะนั้นไม่ว่าจะหยิบ จับ เดิน หรือทำอะไรก็แล้วแต่ ขอให้ในทุกๆ วันต่อไม่เป็นกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มากระทบกระเทือนทารกน้อยในครรภ์ให้ได้รับอันตรายนะคะ ไม่วิ่ง ไม่ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกหนักๆ (ควรปรึกษาคุณหมอก่อนออกกำลังกาย ว่าควรเป็นการออกกำลังกายประเภทไหนที่เหมาะกับคนท้อง) ไม่นั่งมอเตอร์ไซค์ ไม่ยกของหนัก ฯลฯ

3. เพศสัมพันธ์ เบาๆ

ถามกันมาเยอะไม่ว่าจะท้องแรก ท้องสอง แล้วจะจิ๊ะจ๊ะกับสามีได้เหมือนเดิมไหม ได้ซิค่ะ แต่มีข้อควรระวังเล็กน้อยคือ ไม่ควรใช่ท่าที่ไปกดทับหน้าท้องของคุณแม่ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 เพราะน้ำหนักที่กดทับอาจทำให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก และไม่ควรเปาลมเข้าช่องคลอด หรือจับคลึงบริเวณหน้าอกคุณแม่ เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ค่ะ และที่ต้องระวังคือถ้าคุณแม่มีภาวะแท้งคุกคามมาตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์ ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กันนะคะ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนค่ะ

การคลอดก่อนกำหนด

4. อาหารดี โภชนาการให้ประโยชน์

คนท้องกินได้แต่ต้องกินดีมีประโยชน์ อย่าตามใจปาก กินหวาน มัน เค็ม เผ็ด หนักเกินไป เพราะเดี๋ยวโรคความดันโลหิต เบาหวานแทรกซ้อน จะตามมาแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้นะจ๊ะ การกินที่เหมาะกับคนท้องคือกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่สมดุลเท่าๆ กัน ไม่เลือกกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมาก หรือน้อยไปนะคะ อ้อ!! อาหารสุกๆ ดิบๆ อย่าง ซูชิ ซาซิมิ ส้มตำใส่ปลาร้าสด ฯลฯ งดก่อนก็ดีนะแม่ เดี๋ยวอาหารจะเป็นพิษ อ้วก ถ่ายท้อง ล้มหมอน นอนเสื่อ สะเทือนถึงลูกในท้องได้นะจ๊ะ

5. นอนพอ ร่างกายไม่เพลีย

การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ สามารถนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดในท้องสองของคุณแม่ได้ค่ะ การ นอนหลับที่ได้คุณภาพของคุณแม่ จะช่วยให้ร่างกายสามารถส่งผ่านออกซิเจนไปให้ลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีสิทธิภาพ ซึ่ง ออกซิเจนมีส่วนช่วยให้พัฒนาการสมองลูกดี และเซลล์ต่างๆ ในร่างกายของคุณแม่ได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปให้กลับมา แข็งแรง การนอนหลับที่เต็มอิ่มจะช่วยให้คุณแม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีพละกำลังในทุกๆ วันค่ะ

6. ยิ่งเครียด ยิ่งแย่

อารมณ์ของแม่ส่งผลถึงลูกในท้องได้นะคะ ดังนั้นช่วงที่ตั้งครรภ์คุณแม่ควรรักษากาย ใจ ให้ผ่อนคลาย ไม่อยู่ใน สภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ได้ค่ะ ออกไปดูหนัง ฟังเพลง เดินเล่น ช้อป ปิ้งของใช้เตรียมไว้ให้ลูก พบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดต่างๆ ลงได้ค่ะ

7. พบคุณหมอตามนัด

ทุกการนัดพบกับคุณหมอในทุกช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดลงได้สูงมาก เพราะหากตรวจพบ หรือมีความผิดปกติแทรกซ้อนใดๆ ขึ้นมาระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณหมอรักษาได้อย่างทันท่วงที ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ

 

รู้ทันสัญญาณเตือน เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด  

ก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ แต่ถ้าจะให้ดีต้องครบ 40 สัปดาห์ แล้วคุณแม่จะปวดท้องคลอดลูก อันนี้ไม่มีปัญหาถือว่า เป็นปกติ แต่จู่ๆ มาเจ็บท้องปวดเตือนก่อนหน้าอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ปล่อยไว้ไม่ได้นะจ๊ะ เพราะเป็นสัญญาณเตือนเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด มาเช็กสัญญาณอันตรายที่ว่านี้กันค่ะ

  1. มีอาการหน่วงตรงบริเวณท้องน้อย
  2. มีอาการหดตัวของมดลูกถี่ๆ เช่น ทุกๆ 10 นาที
  3. ตรงช่วงเชิงกราน ช่องคลอด รู้สึกได้ถึงแรงดัน
  4. มีเลือดออกตรงช่องคลอด
  5. มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด เช่น น้ำคร่ำ หรือ มูกเลือด
  6. ปวดหลังมากกว่าปกติ หายใจลำบากมากกว่าปกติ

คลอดก่อนกำหนดในท้องสอง จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนด้วย ดังนั้นก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา ยิ่งในคุณแม่ที่ต้องการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ในช่วงอายุเยอะ ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาจมีสูงกว่าคนที่ตั้งครรภ์อายุน้อย ฉะนั้นการตั้งครรภ์ภายใต้การดูแลของคุณหมอตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน จะช่วยให้การตั้งครรภ์ในภาวะเสี่ยง กลายเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ คุณแม่แข็งแรง ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัย และมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่แข็งแรงสมบูรณ์ … ด้วยความห่วงใยค่ะ


บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนเสี่ยงเป็น “เนื้องอกมดลูก”

ท้องแข็ง เป็นอย่างไร? ท้องแข็งบ่อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไหม?

5 อาหารธาตุเหล็กสูง ช่วยลูกสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย สมองแข็งแรง

 


เครดิต : โรงพยาบาลสมิติเวช 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up