อยากมีลูกต้องทำไง

อยากมีลูกต้องทำไง ? ลอง 9 วิธีแบบธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ ลูกมาแน่

event
อยากมีลูกต้องทำไง
อยากมีลูกต้องทำไง

เทคโนโลยีช่วยท้อง

อยากมีลูกต้องทำไง หากใช้วิธีธรรมชาติไม่สำเร็จ ก็ควรจูงมือกันไปพบแพทย์ หรือปรึกษาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ซึ่งปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น จึงสามารถช่วยเข้ามาเติมเต็มความสมบูรณ์ของครอบครัวยุคใหม่ได้ ทั้งนี้ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่สูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นก็ควรวางแผนทางการเงินให้เรียบร้อย และเมื่อพร้อมก็มาหาคุณหมอ แล้วลุยกันให้เต็มที่ โดยเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการมีบุตรยาก มีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้

 

Must read : วิธีช่วยให้มีลูกง่าย ด้วยเทคโนโลยี เสี่ยงแค่ไหน?

 

1. การคัดเลือกเชื้ออสุจิ ฉีดผสมเทียม (Intrauterine insemination : IUI)

เป็นการนำเชื้ออสุจิที่ได้จากการเตรียมและการคัดเชื้อ (เอาตัวที่แข็งแรง รูปร่างดี) ในปริมาณที่มากพอมาฉีดเข้าไปภายในโพรงมดลูก เพื่อหวังจะให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายไม่แพงนัก เหมาะกับคู่สมรสที่อายุไม่มาก ไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน หรือมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แบบรุนแรง หรือฝ่ายชายที่มีภาวะปกติไม่มาก

2. การทำกิ๊ฟท์ (Gamete Intrafallopain Transfer : GIFT)

เป็นวิธีการนำเอาไข่ และตัวอสุจิ ใส่กลับเข้าไปในท่อรังไข่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ โดยใส่ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง วิธีนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อรังไข่ปกติ อย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิที่ค่อนข้างปกติ

นอกจากนี้ยังมีการทำซิฟท์ (Zygote Intrafallopian Transfer – ZIFT) ที่จะคล้าย ๆ กับการทำกิ๊ฟท์ แต่จะต่างกันตรงที่เมื่อนำอสุจิมาผสมกับไข่แล้ว จะนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเกิดการปฏิสนธิตัวอ่อนในระยะที่เรียกว่า Zygote ก่อน แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งการทำซิฟท์นี้จะต้องมีการเจาะผนังหน้าท้องเพื่อนำไข่และอสุจิใส่เข้าไปในท่อนำไข่ด้วย จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันนักในปัจจุบัน

อยากมีลูกต้องทำไง

3. การทำเด็กหลอดแก้ว (In-Vitro Fertization : IVF)

ยังเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน คือแพทย์จะนำเอาไข่และเชื้ออสุจิมาผสมกันในหลอดทดลอง จนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิแล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน อีกประมาณ 2-3 วัน ซึ่งจะได้ตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แล้วจึงนำเอาตัวอ่อนที่เหลือและแข็งแรง ก็สามารถทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในรอบการรักษาต่อไปได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ทั้งสองข้าง มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีจำนวนน้อย หรือมีภาวะมีบุตรยากที่ตรวจไม่พบสาเหตุ

 

4. การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI)

คือการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ เป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งการทำอิ๊กซี่ จะใช้เข็มดูดตัวอสุจิขนาดเล็กเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ 1 ใบ จากนั้นจะนำไข่ที่ได้รับการฉีดเชื้ออสุจิไปตรวจสอบการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน หรือจนระยะบลาสโตซิสท์ จากนั้นก็ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก วิธีการนี้นับว่าเป็นการใหม่ล่าสุด ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายที่มีความปกติของเชื้ออสุจิอย่างมาก

อยากมีลูกต้องทำไง

5. การทำอิมซี่ (IMSI : Intracytoplasmic morphologically selected sperm injection)

เทคนิคนี้คล้ายกับการทำอิ๊กซี่ต่างกันที่ขั้นตอนในการคัดเลือกอสุจิก่อนจะนำมาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ คือ จะมีเพิ่มกำลังขยายของเลนส์เป็นกำลังขยาย 6,000 เท่าเพื่อดูรูปร่างและลักษณะของอสุจิได้ชัดเจนมากขึ้น มีงานวิจัยกล่าวว่า อัตราการการตั้งครรภ์และอัตราการฝังตัวของตัวอ่อน ในการทำ IMSI สูงกว่าการทำ ICSI อาจเพราะการใช้กำลังขยายที่สูงขึ้นทำให้เห็นลักษณะของอสุจิ เห็นช่องว่างภายในของอสุจิ … ซึ่งการมีช่องว่างภายในเซลล์มีโอกาสที่อสุจิตัวนั้นจะมีการแตกหักของสายพันธุกรรม DNA ภายในเซลล์ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของตัวอสุจิด้วย สำหรับการทำ IMSI เหมาะสำหรับคู่ที่ล้มเหลวในการรักษาด้วยการทำ ICSI หลายครั้ง หรือรูปร่างอสุจิที่ผิดปกติจำนวนมาก

 

อย่างไรก็ตาม อยากมีลูกต้องทำไง ในการเลือกใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ คือ การที่คุณหมอจะวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เพื่อให้ได้เทคนิคแต่ละแบบใช้ในการแก้ไขปัญหาแตกต่างกัน ซึ่งเทคนิคที่จะใช้รักษาส่วนใหญ่จะเริ่มจากเทคนิคที่ใกล้เคียงกับวิธีการปฏิสนธิทางธรรมชาติให้ได้มากที่สุด และถ้ายิ่งใช้เทคนิคที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษายิ่งสูงขึ้นตามเท่านั้น

ซึ่งความสำเร็จในการรักษาและโอกาสในการตั้งครรภ์จะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ ความผิดปกติและวิธีการที่ใช้ เมื่อคู่สมรสตัดสินใจเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะเป็นผู้ช่วยพิจารณาว่าควรเลือกใช้วิธีใด เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์โดยคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงจากการใช้ยาต่าง ๆ ให้มากที่สุด

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : medthai.comwww.honestdocs.cowww.synphaet.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up