นิสัยเด็กขี้อิจฉา

เมื่อลูกมี นิสัยเด็กขี้อิจฉา แก้ไขอย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event
นิสัยเด็กขี้อิจฉา
นิสัยเด็กขี้อิจฉา

วิธีแก้ไขปัญหา นิสัยเด็กขี้อิจฉา

เด็กที่มีนิสัยขี้อิจฉาเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าหากลูกมีนิสัย หรือพฤติกรรมขี้อิจฉา คงเป็นเรื่องไม่ดีแน่ เพราะหากปล่อยไว้ไม่แก้ไข อาจต่อผลกระทบต่อตัวเด็กในการเข้าสังคมกับผู้อื่นในอนาคต  รวมทั้งความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเอง ระหว่างพ่อแม่ หรือพี่กับน้อง ก็จะยิ่งแย่ลงไปด้วย  ดร.แพง ชินพงศ์ ได้ให้คำแนะนำในการแก้ไขเกี่ยวกับเด็กที่มีนิสัยขี้อิจฉา ดังนี้…

1. เมื่อลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่อย่าดุ อย่าตีหรือใช้วิธีลงโทษรุนแรงกับลูก เพราะลูกจะยิ่งไม่เข้าใจและเพิ่มความอิจฉาคนอื่นมากยิ่งขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแก้ไข ด้วยการเรียกชื่อลูกและเข้าไปกอดเพื่อให้ลูกหยุดพฤติกรรมไม่น่ารักเหล่านั้นก่อน เมื่อลูกสงบลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคุยกับลูกให้เข้าใจว่าแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีน้องใหม่หรือมีลูกหลายคน แต่ความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อลูกก็ยังรักเหมือนเดิมไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย1

2. ใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น ทั้งในการพูดคุย และทำกิจกรรมด้วยกันบ่อยๆ เช่น เล่านิทานให้ลูกฟัง เล่นกับลูก เล่นกีฬาด้วยกัน ทำงานบ้านด้วยกัน พาลูกไปเที่ยวด้วยกัน เพราะการที่ครอบครัวได้มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกันจะทำให้ลูกเกิดความอบอุ่นในจิตใจและมั่นใจในความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อเขา ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากที่จะไม่ให้ความอิจฉาเกิดขึ้นในใจลูก2

3. เปิดโอกาสให้ลูกมีส่วนร่วมกับทุกคนในครอบครัว หากกำลังจะมีลูกคนใหม่ คุณพ่อคุณแม่ควรคุยให้ลูกรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าคุณแม่กำลังท้องและกำลังจะมีน้อง ให้ลูกได้สัมผัสและคุยกับลูกในท้อง ชวนลูกไปเลือกซื้อของสำหรับน้อง เช่น ผ้าอ้อม เสื้อผ้าเด็กอ่อน โดยให้ลูกมีส่วนในการช่วยเลือกข้าวของเครื่องใช้ด้วย หรือหากที่ลูกๆ โตแล้ว ควรให้พี่น้องได้ทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น เช่น ให้ช่วยกันทำงานบ้าน เล่นกีฬาคู่กัน ทำกิจกรรมเสริมนอกบ้านร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้พี่น้องได้ใกล้ชิดและผูกพันกันมากขึ้น3

 

ความอิจฉาสามารถกระตุ้นความรู้สึกที่รุนแรงให้เกิดขึ้นได้ แต่จะดีกว่าไหมหากไม่มีความอิจฉาริษยาเกิดขึ้นในใจของทุกคน  ยิ่งในเด็กด้วยแล้ว เราในฐานะพ่อแม่ควรให้ความรัก และการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เขาเกิดช่องว่างขึ้นในใจ จนสะสมกลายเป็นเด็กมีนิสัยขี้อิจฉา การสอนให้ลูกมอง หรือคิดในด้านบวก จะช่วยให้เด็กรู้สึกต่อผู้คนรอบข้างอย่างเป็นมิตร และมีน้ำใจ สุดท้ายเด็กก็จะมีนิสัยน่ารักต่อพ่อแม่ พี่น้อง และคนรอบข้าง ใครเห็นก็รัก …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก ตอน อบรมและจัดการพฤติกรรมเด็ก
10 เคส เลี้ยงลูกดี แต่กลับทำให้เป็นเด็กมีปัญหา
ลูกชอบสั่งชอบกรี๊ด ทำอย่างไรดี?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2,3ดร.แพง ชินพงศ์. http://www.manager.co.th/
นพ.เบนจามิน สป๊อก/พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ.คัมภีร์เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-วัยรุ่นตอนปลาย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up