เทคนิคการชมลูก

เทคนิคการชมลูก ให้ได้ภูมิต้านทานอุปสรรคติดตัวเขาไปตลอดชีวิต

Alternative Textaccount_circle
event
เทคนิคการชมลูก
เทคนิคการชมลูก

เทคนิคการชมลูก ที่พ่อแม่ควรรู้รู้หรือไม่ว่า การชมลูก คือการใส่ปุ๋ยชั้นดีที่สามารถช่วยให้เด็กๆ เติบโตขึ้นอย่างมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แต่การจะชมลูก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น จะต้องเป็นการชมด้วยวิธีการที่ถูกต้องถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวของเด็กๆ ค่ะ

 

เทคนิคการชมลูก ที่ไม่ถูกต้อง!

การชมลูกเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเป็นการใช้ เทคนิคการชมลูก ที่ผิดก็สามารถนำมาซึ่งผลลัพธ์ ในทางลบต่อตัวลูก ได้ค่ะ ดร.ปิยวลี ธนเศรษฐกร แนะนำว่าควรชมไปที่กระบวนการ การชมเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารจะมีพลังที่สามารถทำให้เกิดการ สร้างความสัมพันธ์ หรือในขณะที่การชมที่ถูกต้องก็ตัดความสัมพันธ์ก็ได้ด้วยเช่นกัน

การชมลูกสามารถนำมาซึ่งผลลัพท์ในทางลบได้ สงสัยไหมคะว่าทำไม “การชม” จึงก่อให้เกิดผลกระทบไม่ ดีต่อตัวของเด็กๆ ขึ้นมาได้ นี่คือตัวอย่างการชมลูกที่ไม่ถูกต้อง

ชมลูกจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงจากการกระทำของลูก  หรือการชมเพื่อปลอบใจ เช่น  เวลาลูก ผิดหวังจากการ แข่งขันเกมกีฬา ทั้งที่ลูกไม่ได้ลงแข่ง แต่พอแม่เห็นว่าลูกเศร้า แม่ก็เลยให้คำชมลูก เพื่อปลอบใจ การชมลูกในลักษณะนี้จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ต้องเพิ่งคำชมอยู่ตลอดเวลา  ต่อไป ไม่ว่าลูกจะทำอะไรในชีวิต เขาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจ ลูกจะไม่สามารถตัดสินใจ ด้วย ตัวเองได้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นดี หรือไม่ดี เขาจะต้องให้แม่เป็นคนตัดสินใจแทนทุกครั้ง

ชมลูกเฉพาะตอนที่ได้รางวัล เช่น ลูกประกวดเรียงความได้รางวัลมาจากโรงเรียน ลูกแข่งว่ายน้ำได้ ที่หนึ่ง ฯลฯ พอกลับมาบ้านแม่ก็ชมลูกว่า เก่งจังลูกได้รางวัลมาด้วย การชมลูกเฉพาะเวลาที่ลูกมี รางวัลติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน หรือเฉพาะตอนที่ลูกแข่งขันแล้วเข้ารอบหรือได้รางวัล เป็นการชมที่ ไม่ถูกต้อง เพราะการชมลูกลักษณะนี้ จะทำให้ลูกคิดได้ว่าเขาจะมีตัวตน เป็นคนสำคัญของพ่อแม่ก็ ต่อเมื่อไปได้รางวัลต่างๆ หรือสอบได้ที่ 1 เท่านั้น พ่อแม่ถึงจะชมเขาสักครั้งนึง และอาจจมีพฤติกรรมที่ไม่ลงมือทำ หากประเมินว่าเขาไม่ได้ที่ 1

การให้คำชมอย่างถูกต้อง ที่ออกมาจากความจริงใจ ยิ่งโดยเฉพาะมาจาก พ่อแม่ที่ให้กับลูก จะยิ่งช่วยส่งผลดีด้านบวกต่อตัวลูก คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตตัวเองดูว่า ณ ตอนนี้เราให้การชมลูกที่ถูกต้อง หรือชมแบบผิดๆ อยู่หรือเปล่า

 

การชมลูกจะช่วยสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคได้อย่างไร?  

การชมคือเทคนิคอย่างหนึ่งในการใช้คำพูดที่จริงใจในการสื่อสารเพื่อสร้างพลังชีวิตได้อย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ คำชมที่ออกมาจากความจริงใจของพ่อแม่สามารถสร้างภูมิต้านทานให้กับลูกในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น แล้วก็ยังเป็นรากฐานที่ช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตเมื่อเติบโตขึ้นในภายภาคหน้า ทั้งต่อเรื่องการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตคู่ด้วยค่ะ

ดร.ปิยวลี ธนเศรษฐกร มีเทคนิคในการสร้างอาวุธติดตัวลูกเพื่อให้เป็นภูมิต้านทานอุปสรรคในการใช้ชีวิต ด้วยการชมลูกอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์ ดังนี้ค่ะ…

1. ชมไปที่กระบวนการ

การชมในลักษณะนี้ เป็นการชมลูกตอนพฤติกรรมเกิดขึ้นจริง ซึ่งไม่ใช่ชมลูกแค่ว่า เก่งมากลูก ดีมากลูกแล้วจบ ตัวอย่างการชมลูกไปที่กระบวนการ เช่น สมมติว่าลูกตื่นนอนตอนเช้าด้วยตัวเอง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องปลุกเหมือนกับอย่างผ่านๆ มา คุณแม่ก็ต้องชมว่า “เก่งจังเลยลูกหนูตื่นเอง ตั้งนาฬิกาปลุกเองใช่ไหม มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้อุปกรณ์ให้มีประโยชน์ดีมากลูก”

2. ชมแบบเฉพาะเจาะจง

การชมในลักษณะนี้ เป็นการชมลูกในสิ่งที่เขาทำ ตัวอย่างการชมลูกแบบเฉพาะเจาะจง เช่น เวลาที่คุณพ่อคุณแม่กลับบ้านมาตอนเย็นหลังเลิกงาน เมื่อเปิดประตูเข้าบ้านมาปุ๊บ แล้วเห็นลูกเดินถือแก้วน้ำมาให้ “แม่ก็พูดขึ้นว่าชื่นใจมากลูก แม่หายเหนื่อยเลยหนูเอาน้ำมาให้แม่” ซึ่งการชมลูกในพฤติกรรม สิ่งที่เขาทำแล้วดีต่อตัวเขา ไม่ว่าจะทำการบ้านเสร็จก่อนเข้านอน ช่วยรดน้ำต้นไม้ หรือแม้แต่ทานข้าวหมดจาน ฯลฯ พ่อแม่ก็สามารถชมลูกได้ เป็นเหมือนการให้กำลังใจลูก แนะนำว่าควรชมลูกในลักษณะนี้ทุกวัน เพื่อให้เขาได้รู้แล้วค่อยๆ ซึมซับได้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี

3. ชมไปที่ความพยายาม

การชมในลักษณะนี้ เป็นการชมลูกไปที่ความพยายาม เพื่อให้ลูกได้เห็นความสำคัญจากการพยายามทำของเขา ไม่ใช่ที่ผลสำเร็จเท่านั้น ตัวอย่างการชมลูกไปที่ความพยายาม เช่น ถ้าลูกได้การบ้านมาชิ้นหนึ่งจากโรงเรียน ซึ่งคุณครูให้ทำงานประดิษฐ์ปั้นดินเหนียว หรือดินน้ำมันให้เป็นรูปแมว แล้วต้องเอาไปส่งครูในวันพรุ่งนี้ ลูกใช้เวลาทำการบ้านชิ้นนี้นานมากกว่าปกติ ซึ่งแทนที่พ่อแม่จะบ่นว่าลูก เมื่อไหร่จะเสร็จ เมื่อไหร่จะได้นอน ก็ให้เปลี่ยนเป็น การบ้านวันนี้ทำนานมากเลยลูก แม่คิดว่าหนูอาจต้องใช้สมาธิ และความพยายามสูงมาก เหนื่อยไหม ยากไหม ให้พ่อกับแม่ช่วยอะไรตรงไหนหรือเปล่าลูก  การถามลูกในลักษณะนี้เป็นเหมือนการให้กำลังใจ เชียร์ลูกอยู่ข้างๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกทำการบ้าน หรืองานที่ได้รับมอบหมายมาอย่างอุ่นใจ และมีแรงในการทำให้สำเร็จ ที่สำคัญลูกจะค่อยๆ เรียนรู้ได้ว่าเมื่อเขาเติบโตขึ้นไปแล้วไปเจอ อุปสรรค เขาจะใช้ ความพยายาม และความสามารถของตัวเองที่จะต้องทำให้ผ่านไปจนประสบความสำเร็จให้จงได้ค่ะ

4. ชมโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น

การชมในลักษณะนี้ เป็นการชมลูกที่จะต้องไม่ให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองดีเด่นกว่าคนอื่น หรือแย่กว่าคนอื่น เพราะว่าการ เปรียบเทียบเป็นการทำร้ายจิตใจที่มากที่สุด ฝังใจนานที่สุด ตัวอย่างการชมลูกโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น เช่น ลูกเรากับลูกเพื่อนข้างบ้าน เรียนอยู่โรงเรียน ห้องเรียนชั้นเดียวกัน แล้วลูกเราเกิดได้รางวัลจากการคัดลายมือมาจากโรงเรียน พ่อแม่ก็ จะต้องไม่ชมลูกด้วยการไปเปรียบเทียบว่า เห็นไหมที่ลูกได้รางวัลมาก็เพราะเก่งกว่าเพื่อนของลูก ที่แย่สุดคือการชมลูกเราต่อหน้าเพื่อนลูก การชมแบบนี้อาจจะไปสร้างปมให้เพื่อนลูกเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ หรืออาจสร้างความอิจฉาขึ้นในใจได้ ทั้งของลูกเรา และเพื่อนของลูกได้ด้วยเช่นกัน จึงแนะนำว่าการชมจะต้องไม่เอาลูกเราไปเปรียบเทียบว่าดีกว่าคนอื่นยังไง ถ้าลูกได้รางวัลจากการเรียนดี พ่อแม่อาจชมแค่ว่า “เก่งมากลูก เห็นไหมการอ่านทบทวนบทเรียนทุกวัน ทำให้ลูกเข้าใจข้อสอบ มากขึ้น ลูกจึงทำออกมาได้ดีจ้ะ”

5. ชมเมื่อเรียนรู้จักความผิดพลาด

การชมในลักษณะนี้ เป็นการชมลูกที่เขารู้จักคิดแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่ผิดพลาดเกิดขึ้นอีกครั้ง ตัวอย่างการชมลูกเมื่อเรียนรู้จักความผิดพลาดของตัวเอง เช่น ลูกถือแก้วน้ำมาจากห้องครัว เพื่อมานั่งดื่มที่ห้องนั่งเล่น แต่ระหว่างที่เดินมานั้นลูกเกิดทำแก้วน้ำหลุดมือ แก้วตกพื้นแตก ถ้าบ้านไหนเจอแบบนี้แนะนำว่าไม่ควรดุ ว่าลูกให้กลัวหรือเสียใจ แต่ให้เปลี่ยนมาเป็นการถามลูกแบบมีคำตอบในการเรียนรู้จักความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ที่แม่อาจถามว่า “ทำไมแก้วถึงหลุดมือลูก คะ” เมื่อแม่ถามด้วยสีหน้าและน้ำเสียงที่ลูกรู้สึกว่าปลอดภัย เขาอาจจะตอบแม่กลับมาว่า “มือหนูลื่นค่ะ” แม่ถามต่อได้ว่า “หนูได้บทเรียนอะไรบ้างจากแก้วแตกครั้งนี้?” เมื่อแม่ไม่ได้กดดัน หรือแสดงความโกรธออกไป นั่นจะไปช่วยให้ลูกหยุดคิดและเรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งนี้ ซึ่งลูกอาจพูดขึ้นมาว่า “ครั้งหน้าหนูจะใช้แก้วพลาสติก” คำตอบลูกคือการคิดแก้ปัญหาเพื่อระวังไม่ให้เกิดแก้วหลุดมือตกพื้นแตก แม่ควรชมให้กำลังใจลูก “เก่งมากเลยลูก หนูรู้จักคิดแก้ไขปัญหา” เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น แล้วรู้ได้เรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิดพลาดไปได้ คือสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่ยังมีความกล้าที่จะเรียนรู้โลกใบนี้อีกมาก และไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดเข้ามาเขาก็จะสามารถข้ามผ่านพ้นไปได้ด้วยตัวเขาเองค่ะ

 

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคให้กับลูกๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ http://www.nutricia-shapingdestiny.com/online-experience.html

คุณพ่อคุณแม่พอจะเห็นถึงความสำคัญของการชมลูกกันขึ้นมาบ้างแล้วนะคะ การชมก็คือการสร้างอาวุธที่ดีให้กับสมองในการสร้างภูมิต้านทานอุปสรรคในการเรียนรู้ของลูก เพื่อไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบ แนะนำว่าควรดูแลให้ลูกได้รับซินไบโอติกอย่างต่อเนื่อง เพราะซินไบโอติก ช่วยให้เด็ก 1 ใน 4  ไม่เจ็บป่วยตลอดปี สำหรับซินไบโอติกมีมากอยู่ในนมแม่ เด็กๆ ควรได้ทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด หรืออีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีคือการทานนมสูตรที่มีซินไบโอติกอย่างต่อเนื่องจากนมแม่นั่นเองค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up