ลูกติดหวาน

ปล่อยลูกตามใจปาก ระวัง! ลูกติดหวาน ปฏิเสธอาหารมื้อหลัก!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกติดหวาน
ลูกติดหวาน

ลูกติดหวาน – แม้ว่าเด็กกับของหวานเหมือนจะเป็นของคู่กัน แต่เมื่อเราเริ่มเห็นลูกๆ เลือกกินแต่ขนมรสหวาน อาทิ คุกกี้ ช็อกโกแลต หรือ ขนมหวานๆ อีกมากมาย โดยปฏิเสธการกิน ผักผลไม้ หรือ อาหารมื้อหลักที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  เช่น เนื้อสัตว์ หรือเด็กๆ อาจกินแต่น้อยเพื่อที่จะได้รีบมากินของหวานหลังอาหาร ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ อาจทำให้พ่อแม่เกิดความวิตกกังวลได้ต่างๆ นานา เช่น กลัวว่าลูกจะตัวไม่โต ลูกจะขาดสารอาหาร หรืออาจเกิดภาวะซีดในเด็กได้ ตลอดจนลูกอาจฟันผุก่อนวัยอันควร

ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็คงไม่พ้นหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยต้องหาวิธีให้เด็กๆ สามารถทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถจัดการรับมือได้ จำไว้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างหากเราป้องกันไว้ย่อมดีกว่าหาทางแก้ทีหลังค่ะ วันนี้เรามาติดตามกันว่าทำไมเด็กๆ ถึงได้ชอบขนมหวาน ผลเสียหากลูกติดหวาน ตลอดจนวิธีรับมือเมื่อเด็กๆ กินแต่ขนมไม่ยอมกินข้าว

ปล่อยลูกตามใจปาก ระวัง! ลูกติดหวาน ปฏิเสธอาหารมื้อหลัก!

สาเหตุที่ทำให้เด็กชื่นชอบความหวาน

มีหลายสาเหตุที่อาจทำให้เด็กๆ ชอบอาหารที่มีน้ำตาล สาเหตุหนึ่งอาจย้อนกลับไปเมื่อครั้งลูกของคุณยังอยู่ในท้อง หรือเมื่อตอนแรกคลอด โดยความจริงแล้วทั้งน้ำคร่ำและน้ำนมแม่นั้นมีรสหวาน ซึ่งสิ่งนี้มีส่วนต่อการกำหนดความชอบรสหวานในเด็ก เมื่อเด็กได้ลิ้มรสรสหวานที่เข้มข้น ก็จะเกิดความรู้สึกดีจากรสหวานที่ไปกระตุ้นสารเคมีในสมอง นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นด้วย เช่น เด็กๆ ต้องการพลังงานมากขึ้นสำหรับร่างกาย หรือ ความหิว คาร์โบไฮเดรตซึ่งมีความเข้มข้นสูงในอาหารที่มีน้ำตาล ล้วนให้พลังงานและสามารถตอบสนองเด็กที่หิวโหยได้อย่างรวดเร็ว เหตุผลอื่นๆ เช่น ความเบื่ออาหาร ก็อาจทำให้เด็กๆ ปฏิเสธอาหารมื้อหลักได้

ผลกระทบด้านลบหาก ลูกติดหวาน

ในความหวานย่อมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปในวัยเด็กมักสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายที่สูงขึ้น (BMI) แม้ว่าการกินขนมเป็นครั้งคราวอาจไม่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในระยะสั้น แต่สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องส่งเสริมนิสัยการกินที่ดีเพื่อสุขภาพ ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก การบริโภคน้ำตาลมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ อาการปวดข้อ โรคเกาต์ และโรคไขมันพอกตับอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้

การสร้างนิสัยการกินที่มีคุณค่าทางโภชนาการตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกของคุณได้มุ่งสู่วิถีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดีในอนาคต มุ่งเน้นที่ประโยชน์ของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าน้ำตาล เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ดี

อย่างไรก็ตาม อาหารที่จำหน่ายให้กับเด็กมักมีน้ำตาลสูง แหล่งที่มาของน้ำตาลที่เติมบางส่วนนั้นชัดเจน เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ซีเรียลรสหวาน และน้ำผลไม้ แต่ในบางครั้งน้ำตาลอาจถูกซ่อนไว้ในผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น กราโนล่าบาร์ นมเปรี้ยว โยเกิร์ตปรุงแต่ง ซีเรียล  หรือ ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยความรู้เพิ่มเติม

ลูกติดหวาน
ลูกติดหวาน

รู้เท่าทันอาหารที่มีน้ำตาลสูง

การเรียนรู้การอ่านฉลากโภชนาการ จะช่วยให้คุณรู้ถึงปริมาณน้ำตาลที่เติมเข้าไปในอาหาร การเลือกปรับเปลี่ยนสู่โภชนาการที่ดีง่ายๆ เช่น เลือกซอสมะเขือทศสูตรน้ำตาลน้อยแทนสูตรปกติทั่วไปให้ลูก อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบส่วนผสมเพื่อดูคำที่บ่งบอกถึงน้ำตาลในอาหาร นอกจากนี้ การฝึกให้เด็ก ๆ มีนิสัยดื่มน้ำเปล่า และนมธรรมดา มากกว่าน้ำผลไม้ และนมปรุงแต่ง วิธีเหล่านี้จะช่วยลดน้ำตาลส่วนเกินของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี

นอกเหนือจากการป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจในระยะยาวแล้ว การหลีกเลี่ยงน้ำตาลที่เติมเข้าไปในอาหารต่างๆ สามารถป้องกันไม่ให้เด็กๆ ต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมที่เจ็บปวดและมีราคาแพง การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นประจำมักทำให้เกิดโรคฟันผุรุนแรงในเด็กได้ หากไม่ได้รับการรักษาปัญหาทางทันตกรรมต่างๆ อาจนำไปสู่การติดเชื้อร้ายแรงได้ แม้จะเป็นเพียงฟันน้ำนมก็ตาม ดังนั้นนอกจากการหลีกเลี่ยงขนม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลแล้ว การหมั่นแปรงฟัน ให้ลูกทุกวัน หรือเมื่อถึงวัยที่สามารถสอนเด็กๆ ให้แปรงฟันเองได้เป็นประจำอย่างน้อยวันละสองครั้ง จะช่วยขจัดน้ำตาลที่ก่อให้เกิดคราบพลัคและช่วยรักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรงอีกด้วย

วิธีรับมือเมื่อ ลูกติดหวาน

การฝึกให้ลูกของคุณมีนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในหน้าที่ของพ่อแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพในระยะยาวของเด็กๆ

สำหรับผู้ปกครองหลายคน น้ำตาลถือเป็นปัญหาใหญ่เมื่อพูดถึงอาหารของลูก หากลูกของคุณมีแนวโน้มว่าติดหวานติดน้ำตาล และมักปฏิเสธอาหารมื้อหลักอยู่บ่อยๆ  ให้ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ :

  • เก็บของหวานและเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ โซดา และเครื่องดื่มเกลือแร่ออกจากบ้าน การมีอาหารเหล่านี้ในบ้านอาจเป็นสิ่งล่อใจเด็กๆ อยู่เสมอ
  • อนุญาตให้มีขนมหวาน และเครื่องดื่มรสหวานสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิดหรืองานเฉลิมฉลองอื่นๆ
  • ทำให้น้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มหลักในบ้านคุณ
  • ให้บ้านมีอาหารเพื่อสุขภาพที่กินง่ายที่เด็กๆ ชอบ เช่น สตรอเบอร์รี่ เนยถั่ว ผักผลไม้ และโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลต่ำ หากลูกของคุณคุ้นเคยกับของหวานหลังอาหารทุกมื้อ ให้เสนอทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไอศครีมโฮมเมด (โยเกิร์ตผสมน้ำแข็งและผลไม้แช่แข็ง) แทนไอศกรีมที่มีขายทั่วไป
  • ให้ลูกๆ มีส่วนร่วมในขั้นตอนการทำอาหาร ทำขนม หรือ เตรียมอาหารที่เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ คุณอาจประหลาดใจกับสิ่งที่บุตรหลานของคุณจะพยายาม และชื่นชอบหากพวกเขามีส่วนร่วมในการตระเตรียมมื้ออาหาร โดยทั่วไป ขนมที่เราทำในบ้านสามารถคุมน้ำตาลให้น้อยกว่าอาหารแปรรูปที่ซื้อจากร้านค้าได้
  • หากซีเรียลที่มีน้ำตาลเป็นอาหารโปรดในบ้านของคุณ ให้อนุญาตให้ซีเรียลนั้นต่อไป แต่ขอให้ลูกของคุณผสมซีเรียลธัญพืชเต็มเมล็ดแบบครึ่งและครึ่งกับซีเรียลที่ไม่เติมน้ำตาล หรือเสนอซีเรียลที่ชื่นชอบครึ่งชามหลังจากกินซีเรียลที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าครึ่งชาม การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้
  • ค่อยๆ เพิ่มทางเลือกใหม่ที่ดีต่อสุขภาพและลดน้ำตาลที่มอบให้กับลูกของคุณในแต่ละวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจต้องใช้เวลา แต่บุตรหลานของคุณจะปรับตัวและทั้งครอบครัวจะอยู่บนเส้นทางสู่การมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้อย่างมีความสุข

ลูกติดหวาน

นอกจากนี้ควรปลูกฝังนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ ด้วยการนั่งทานอาหารร่วมกันเป็นครอบครัว ฝึกให้เด็กๆ ช่วยเหลือในครัว และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเป็นการลงโทษหรือให้รางวัล ให้สอนเด็กว่าอาหารบางชนิดสร้างกล้ามเนื้อหรือให้พลังงานแก่เราได้อย่างไรอธิบายให้เด็กๆ ฟังว่าอาหารบางชนิดเป็นอาหารประจำวัน ในขณะที่อาหารอื่นๆที่มีรสหวานทานได้ แต่ควรเป็นวาระ หรือ นานๆ ครั้ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงการใช้ไม้แข็งที่อาจดูตึงหรือเข้มงวดเกินไปสำหรับเด็กๆ แต่ยังคงเน้นย้ำกฎกติกาว่าเราไม่ควรมีขนมตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เกิดความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQได้เป็นอย่างดีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : sarahremmer.com , coloradoparent.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกให้สุขภาพดี อย่ามีขนมห่อในบ้าน (เยอะนัก) โดยพ่อเอก

ลูกไม่กินข้าว ทําไงดี? หมอแนะ 10 วิธีรับมือเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว

7 เมนูไข่ง่าย ๆ ทำกินได้บ่อย ทั้งอร่อยและมีประโยชน์!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up