ลูกดื้อ

เด็กดื้อ (พัฒนาการถดถอย) เพราะ 7 คำพูดไม่ดีจากพ่อแม่!!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกดื้อ
ลูกดื้อ

 

10 วิธีรับมือ ลูกดื้อ” ให้อยู่หมัด

เด็กที่มีนิสัยหรือพฤติกรรมแสดงออกมาว่าเป็น “คนดื้อ” อาจเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง หรือมาจากแรงกดดันบางอย่างจากครอบครัวที่ทำให้กลายเป็นเด็กดื้อ แต่สุดท้ายแล้วเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งตัวลูก และพ่อแม่ที่จะอยู่เป็นครอบครัวที่น่ารักอบอุ่นตลอดไป ก็ต้องมาแก้ไขปราบความดื้อที่เกิดขึ้นกับลูกๆ ซะหน่อยค่ะ

1. ใจเย็น

การตะคอกหรือการลงโทษด้วยการตีเวลาที่ลูกดื้อหรือกำลังทำตัวไม่น่ารักนั้น เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงค่ะ สิ่งที่คุณแม่ควรทำก็คือ ใจเย็น สูดหายใจลึก ๆ แล้วสำรวจว่าตัวเองพร้อมที่จะคุยกับลูกด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์แล้วหรือยัง ถ้าหากว่ายังไม่พร้อมคุณแม่ควรที่จะหาตัวช่วยทำให้อารมณ์ของคุณแม่เย็นก่อน ยกตัวอย่างเช่น การฟังเพลง เป็นต้น

2. ไต่ถาม

ภายหลังจากที่คุณแม่เรียกลูกมาแล้ว คุณแม่ควรที่จะไต่ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมพวกเขาถึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา แน่นอนค่ะว่า คำตอบนั้นต้องมีเหตุผลแน่นอนว่าเป็นเพราะอะไร ทีนี้คุณแม่ก็จะได้รับรู้ถึงสาเหตุว่า ที่พวกลูกดื้อนั้นเป็นเพราะ พวกเขากำลังหิว รู้สึกไม่สบายตัว หรือว่ากำลังเรียกร้องความสนใจจากคุณแม่กันแน่

3. เป็นผู้ฟังที่ดี

สำหรับลูก ๆ แล้วไม่มีอะไรที่จะไปดีไปกว่าการมีใครรับฟังสิ่งที่พวกเขากำลังคิดอยู่ด้วยความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่ และทุกครั้งที่ลูกพูด แต่การรับฟังนั้น จะต้องเป็นการรับฟังอย่างตั้งใจ และไม่ดุหรือตำหนิในสิ่งที่พวกเขากระทำ มิเช่นนั้น ครั้งหน้าพวกเขาอาจจะไม่กล้าเล่าอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ฟังอีกแน่ ๆ ค่ะ

4. ให้ทางเลือก

มาถึงตอนนี้ คุณแม่ทราบแล้วว่า สาเหตุที่ลูกดื้อหรือทำตัวไม่น่ารักนั้นเป็นเพราะอะไร เมื่อทราบแล้วคุณแม่ก็ควรที่จะช่วยหาทางออกให้กับลูก โดยการให้ทางเลือกกับพวกเขาพร้อมกับยกตัวอย่างง่ายๆ เล็กๆ น้อยๆ ให้กับเขา ได้ลองคิดตามไปด้วย

5. เคารพการตัดสินใจของลูก

เมื่อลูกได้เลือกทางออกให้กับตัวเองแล้ว คุณแม่อย่าเพิ่งปฏิเสธพวกเขานะคะ ไหนๆ เราก็ให้โอกาสเขาได้เลือกแล้ว สิ่งที่เราทำได้ก็คือเคารพกับการตัดสินใจของลูก นั่นเองค่ะ

6.  เจรจาต่อรอง

หากคุณแม่คิดว่า สิ่งที่ลูกเลือกนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีละก็ แนะนำให้คุณแม่เจรจาต่อรองลูกด้วยการใช้คำพูดและน้ำเสียงที่นุ่มนวล ยกตัวอย่างเช่น ทำไมลูกไม่ทำแบบนี้ล่ะจ๊ะ … คุณแม่ว่าถ้าลูกทำแบบนี้น่าจะดีและมีประโยชน์กับลูกมากกว่า เป็นต้น

7. ให้รางวัล

เมื่อลูกทำตัวน่ารักแล้ว คุณแม่ต้องอย่าลืมให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับลูกบ้างนะคะ ไม่จำเป็นต้องเป็นของมีค่า ราคาแพงเลยค่ะ การให้รางวัลลูกนั้น ถือได้ว่าเป็นกำลังใจให้กับลูกในการปฏิบัติตัวน่ารักต่อไป เพราะพวก เขาจะรู้ว่า ถ้าหากลูกดื้อหรือทำตัวไม่น่ารักอีก ลูกจะไม่มีโอกาสได้รับของรางวัลแน่ ๆ เป็นต้น

8. ทำโปรแกรมสะสมคะแนน

คุณแม่อาจจะหาสมุดเล็ก ๆ สักเล่มมาทำเป็นสมุดสะสมคะแนนของเด็กดี และทุกครั้งที่ลูกทำตัวน่ารักแล้ว นอกจากคุณแม่จะต้องให้รางวัลกับลูกแล้ว คุณแม่ควรที่จะเรียกลูกมาดูด้วยว่า ตอนนี้คุณแม่ได้สะสมคะแนนเด็กดีไว้ให้กับลูกแล้ว หากลูกได้ครบ 10 ดวงขึ้นไป ลูกจะได้รางวัลใหญ่จากคุณแม่ เป็นต้น

9. ลงโทษ

หากลูกไม่เชื่อและยังทำตัวไม่น่ารักอยู่ คุณแม่อาจจะลงโทษลูกด้วยการยื่น Time Out หรือตัดสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ลูกจะได้รับออกไป ยกตัวอย่างเช่น อดเล่นของเล่นหรืออดกินขนมที่ตัวเองชอบ เป็นต้น

10. ติดตามผล

ในแต่ละสัปดาห์คุณแม่ควรที่จะติดตามดูผลพร้อมกับประมวลพฤติกรรมของลูกว่า ภายหลังจากที่พวกเราได้คุยกันแล้วนั้น ลูกมีพฤติกรรมปรับเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด หากยังไม่ดีขึ้นให้คุณแม่เริ่มนับหนึ่งใหม่ ใจเย็น ๆ อย่าใจร้อน เพราะเด็กอย่างไรก็คือเด็กค่ะ พวกเขายังต้องใช้เวลาในการปรับตัวอีกมาก ซึ่งการปรับตัวของเขานั้นจะดีหรือไม่มากน้อยเพียงใด ก็อยู่ที่ความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่ด้วยนั่นเอง

การมอบความรัก ดูแลใส่ใจให้ความอบอุ่นลูกอย่างใกล้ชิด จะช่วยลดพฤติกรรมไม่ดีจากลูกได้ค่ะ ดังนั้นอยากให้ลูกเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพ ต้องเริ่มจากพ่อแม่ที่เป็นครูคนแรกของลูกในการปูพื้นฐานให้ไปในทางที่ถูกที่ควรนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!
10 วิธีรับมือลูกดื้อตามแบบฉบับคุณแม่ยุคใหม่!

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
www.share-si.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up