ฟลูออไรด์สาหรับเด็ก กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ ปี 2560

event

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ …ฟันของเหล่าลูกน้อย จะแข็งแรงได้นั้น “ฟลูออไรด์” ต้องเพียงพอ เพราะ ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อฟัน คือ เมื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้

ฟลูออไรด์คืออะไร

ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ใช้ป้องกันโรคฟันผุ สามารถใช้ได้ 2 วิธี คือ

  1. ฟลูออไรด์ที่ใช้ในระบบทั่วร่างกาย คือ การเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำหรืออาหารเพื่อให้เด็กรับประทาน เพื่อมุ่งหวังผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในฟันในขณะที่ฟันกำลังมีการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม ในนม เสริมในรูปของยาฟลูออไรด์ ในอาหาร เช่น ใบชา อาหารทะเล (ปลาแห้ง กุ้งแห้ง) เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำบาดาล ในอากาศ เป็นต้น
  2. ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คือ การใช้ฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ การใช้ยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์ การที่ยาฟลูออไรด์สัมผัสกับฟันก่อน

แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ สำหรับเด็ก 2560

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

การใช้ ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ เป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์ เป็นผลเฉพาะที่บนผิวฟันและบริเวณรอบ ๆ ตัวฟัน มากกว่าผลจากทางระบบกลไกหลักที่สำคัญของฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุคือ การส่งเสริมการสะสมของแร่ธาตุผิวฟัน และทาให้เกิดการยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน เมื่อมีฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงกว่า 100 ส่วนในล้านส่วน จะสร้างแคลเซียมฟลูออไรด์ สะสมอยู่ในคราบจุลินทรีย์ และรูพรุนของผิวเคลือบฟัน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฟลูออไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์สามารถแตกตัวเกิดเป็นฟลูออไรด์อิสระ กระตุ้นให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุและยับยั้งการละลายตัวของแร่ธาตุที่ผิวฟัน

การใช้ฟลูออไรด์มีหลายรูปแบบแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  1. ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน (Home-use fluoride) แบ่งเป็น

– ฟลูออไรด์ชนิดที่ซื้อใช้ได้เอง ได้แก่ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (Fluoride toothpaste) ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (Fluoride mouthrinse)
– ฟลูออไรด์ชนิดที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายให้ ได้แก่ ฟลูออไรด์เจลสาหรับใช้ที่บ้าน (Home fluoride gel) ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทาน (Fluoride supplement)

  1. ฟลูออไรด์ที่ใช้โดยทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร (Professional applied fluoride) ได้แก่ ฟลูออไรด์เจล (Professional fluoride gel) ฟลูออไรด์วาร์นิช (Fluoride varnish) ซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (Silver diamine fluoride)
  2. ฟลูออไรด์สาหรับใช้ในชุมชน (Community-use fluoride) ได้แก่ น้าดื่มผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated water) นมผสมฟลูออไรด์ (Fluoridated milk)

ข้อควรระวัง หรืออันตรายจากการใช้ฟลูออไรด์ 

ฟลูออไรด์ มีคุณสมบัติคล้ายสารอาหารอื่นๆ ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย โทษของฟลูออไรด์ต่อร่างกาย พบได้ 2 ลักษณะคือ

  1. การเป็นพิษแบบเฉียบพลันเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงมาก ในครั้งเดียว มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียหากได้รับปริมาณสูงมากๆ จะมีผลต่อระบบหัวใจ หรือเสียชีวิตได้
  2. การเป็นพิษแบบเรื้อรังเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่สูงกว่า ระดับที่เหมาะสม คือ 2-10 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จะเกิดผลข้างเคียงต่อฟัน คือ ฟันมีสีขาวขุ่น จนถึงขั้นฟันตกกระ และมีผลต่อกระดูกด้วย แต่สำหรับนมฟลูออไรด์ จะมีขนาดฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพ และปริมาณฟลูออไรด์ จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันฟันผุ อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในที่นี้ Amarin Baby & Kids จะขอหยิบยก นำเรื่อง ฟลูออไรด์สาหรับใช้ที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเรื่องฟันของลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด >> อ่าน แนวทางการใช้ ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก 2560 แบบเต็มๆ ไฟล์ PDF คลิกที่นี่!!

อ่านต่อ >> “ฟลูออไรด์สำหรับใช้ที่บ้านเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up