ที่ดูดน้ำมูก

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ที่ดูดน้ำมูก
ที่ดูดน้ำมูก

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

3. เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ

เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูดน้ำมูกลูกออกมาได้สะดวก เพราะเครื่องถูกออกแบบมาให้ใช้งานแบบอัตโนมัติ เพียงแค่นำเครื่องไปจ่อไว้ที่รูจมูกลูก และกดปุ่มทำงาน ภายในไม่กี่วินาทีเครื่องจะทำการดูดน้ำมูกออกมาไว้ในลูกโป่งที่มีไว้สำหรับเก็บน้ำมูก มีแรงดูดที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายกับโพรงจมูกลูก เครื่องบางรุ่นจะมีเสียงเพลงเพื่อกลบเสียงดูดน้ำมูก จะทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกกลัวขณะดูดน้ำมูกอีกด้วย

วิธีใช้เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ

  1. สำหรับน้ำมูกที่เริ่มข้นเหนียว ควรหยอดน้ำเกลือลงไป 3-7 หยดก่อนดูด
  2. เปิดเครื่องดูดทันทีที่หยดน้ำเกลือลงไป
  3. สอดปลายดูดไปที่จมูกของลูกน้อย ค่อย ๆ หมุนปลายดูดเพื่อให้น้ำมูกออกมาง่ายขึ้น ในกรณีน้ำมูกที่ติดลึกและเหนียวข้น สามารถปรับระดับความแรงให้แรงขึ้น อาจใช้นิ้วปิดจมูกอีกข้างจะช่วยให้ดูดน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกออกมาได้ดีขึ้น
  4. หลังจากดูดใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดรอบจมูกลูกน้อย เพื่อทำความสะอาดอีกครั้ง
ที่ดูดน้ำมูกอัตโนมัติ
ขอบคุณภาพจาก : amazon.com

ข้อดี

  1. ล้างทำความสะอาดได้ง่าย อุปกรณ์บางส่วนสามารถนำเข้าเครื่องนึ่งขวดนมได้
  2. อุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้จับถนัดมือ สะดวกต่อการใช้งาน
  3. มีแรงดูดที่เหมาะสม ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายกับโพรงจมูกลูกน้อย
  4. พกพาสะดวก
  5. ดูดน้ำมูกได้ง่าย เร็ว และลูกน้อยไม่ค่อยรู้สึกกลัวขณะดูดน้ำมูก

ข้อเสีย

  1. ราคาแพง เมื่อเทียบกับที่ดูดน้ำมูกแบบอื่น ๆ
  2. แรงดูดอาจน้อยไปสำหรับเด็กที่เริ่มโตแล้ว

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มียาใดที่ฆ่าเชื้อไวรัสหวัดได้ เราจึงไม่สามารถให้ลูกกินยาเพื่อให้ลูกหายหวัดได้ สิ่งที่จะทำให้ลูกหายจากอาการหวัดคือการทำให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ ทานน้ำสม่ำเสมอ และรอเวลาให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต้านเชื้อไวรัสหวัด ดังนั้น สิ่งเดียวที่พ่อแม่อย่างเราทำได้คือบรรเทาอาการหวัดให้ลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการทานยาลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอต่าง ๆ การล้างจมูก รวมถึงการดูดน้ำมูก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้อาการจากหวัดมารบกวนการทำให้ร่างกายของลูกน้อยแข็งแรงนั่นเอง

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กินยาดักไข้ กันลูกเป็นหวัด เป็นไข้ ได้จริงหรือ?

วิธีส่องดูคอลูก เมื่อ “เป็นหวัดเจ็บคอ”

ลูกดื้อยา เพราะเชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ

ระบาดหนัก!! หนาวนี้พบป่วย “ท้องร่วง” เก้าแสนกว่าคนแล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คลังข้อมูลดิจิทัล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up