ที่ดูดน้ำมูก

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ที่ดูดน้ำมูก
ที่ดูดน้ำมูก

เมื่อลูกเป็นหวัดคัดจมูก หายใจได้ลำบาก คุณแม่ก็จะอยากเอาน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกลูกออก เพื่อให้หายใจได้โล่งขึ้น ที่ดูดน้ำมูก จึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวช่วยแม่ ๆ ได้ดี

ที่ดูดน้ำมูก เด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

ที่ดูดน้ำมูก มีกี่แบบ?

  1. ลูกยางแดง

การใช้ลูกยางแดง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกใส ไม่เหนียว ปริมาณไม่มาก ลูกยางแดงที่เป็นลูกยางทั้งอันคือส่วนปลายเป็นยางไม่ใช่พลาสติกจะช่วยดูดน้ำมูกในรูจมูก และดูดเสมหะที่โคนคอได้ การดูดเสมหะที่คอจะกระตุ้นให้เด็กไอช่วยขับเสมหะออกมาแล้วดูดเสมหะที่คอออก

วิธีใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูก

  1. ใช้มือข้างที่ถนัดจับลูกยางแดง บีบลมออกให้แฟบ เตรียมพร้อมที่จะดูด ขณะที่มืออีกข้าง จับหน้าเด็กให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง (การจับให้เด็กหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นการป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเอาน้ำลายหรืออาหารเข้าปอด หากขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะแล้วเด็กอาเจียนออกมาพร้อม ๆ กัน)
  2. สอดลูกยางแดงเข้าไปในรูจมูกทีละข้าง โดยสอดเข้าไปตื้นๆ พร้อมกับปล่อยมือช้าๆ น้ำมูกจะถูกดูดเข้ามาในลูกยางแดง
  3. ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูก บีบน้ำมูกที่ดูดมาได้ทิ้งในทิชชู หรือภาชนะที่เตรียมไว้
  4. ทำซ้ำ ๆ แบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง

 

ลูกยางแดง
ลูกยางแดง

ข้อดี

  1. ราคาไม่แพง
  2. พกพาได้สะดวก
  3. มีแรงดูดมาก

ข้อเสีย

  1. ล้างทำความสะอาดยาก น้ำมูกที่ถูกดูดจะอยู่ในลูกยางแดง ทำให้ไม่รู้ว่าล้างน้ำมูกออกหมดหรือยัง มีคนเคยผ่าดูข้างในลูกยางแดง พบว่ามีเชื้อราอยู่
  2. ใช้วิธีควบคุมแรงดูดด้วยมือ ทำให้บางครั้งน้ำมูกถูกดูดออกมาแรงเกินไป ลูกอาจเจ็บได้
  3. ลูกยางแดงอาจทิ่มเยื่อบุจมูกลูกได้

 

2. เครื่องดูดน้ำมูกชนิดสายยาง

ที่ดูดน้ำมูกชนิดสายยาง ถูกออกแบบเพื่อขจัดปัญหาของการดูดช่วงสั้นในที่ดูดน้ำมูกแบบลูกยางและยังลดแรงดูดที่มากเกินไปในลูกยาง โดยใช้การดูดจากปากของแม่ซึ่งจะมีความต่อเนื่องกว่า สามารถควมคุมแรงดูดด้วยตนเอง น้ำมูกที่ถูกดูดออกมาจะถูกแยกเก็บใส่ขวด ง่ายต่อการมองเห็นและทำความสะอาด น้ำมูกจะไม่ไหลย้อนกลับ ปลายซิลิโคนนิ่ม ไม่ทำให้ลูกน้อยเจ็บโพรงจมูก

วิธีใช้ ที่ดูดน้ำมูก ชนิดสายยาง

  1. ล้างทำความสะอาดที่ดูดน้ำมูกก่อนใช้ทุกครั้ง
  2. เหน็บปลายเล็ก (ที่มีรูอากาศใหญ่กว่า) ไว้ที่ปากของแม่
  3. อุ้มทารกจัดท่าให้สบายและล็อคศีรษะให้คงที่
  4. นำปลายที่มีรูอากาศเล็กเรียวแตะบริเวณปลายจมูกของทารกเบา ๆ
  5. คุณแม่ดูดโดยการหายใจเข้าทางปากโดยควบคุมแรงดูดตามแต่คุณแม่ต้องการ
  6. ล้างทำความสะอาดโดยล้างถ้วยพบาสติก และสายยางโดยใช้น้ำผ่านรูอากาศทั้งสองรู
  7. เก็บไว้ที่สะอาด
ที่ดูดน้ำมูก แบบสายยาว
ที่ดูดน้ำมูกแบบสายยาว

ข้อดี

  1. สามารถควบคุมแรงดูดได้ด้วยตนเอง
  2. แรงดูดมีความต่อเนื่องกว่าที่ดูดน้ำมูกแบบลูกยางแดง
  3. น้ำมูกไม่ไหลย้อนกลับ

ข้อเสีย

  1. คุณพ่อคุณแม่เสี่ยงต่อการติดหวัดจากลูก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ที่ดูดน้ำมูกเด็กและทารก ใช้อย่างไร? แบบไหนดี?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up