เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นคนดี

ลักษณะบุตร 3 ประเภท ในศาสนาพุทธ และวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี

event
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นคนดี
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นคนดี

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนดี

ซึ่งวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ 5 ประการ คือ

1. ห้ามมิให้ทำความชั่ว 

2. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี

3. ให้การศึกษา

4. หาคู่ครองที่สมควรให้

5. มอบทรัพย์มรดกให้ในสมัยอันสมควร

♥ Must read : เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ

√ แนวทางการเลี้ยงดูลูก ด้วยการปลูกฝังธรรมะ

1. ความกตัญญูและกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี ควรอบรมหรือปลูกฝังก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด ติดตามด้วยความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์อดทน เสียสละ และมีระเบียบวินัย เป็นต้น
2. ควรเลี้ยงลูกด้วยเหตุผล อย่าเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์ ตามใจในสิ่งที่ถูก ขัดใจในสิ่งที่ผิด ยกย่องเมื่อเขาทำดี ตำหนิหรือลงโทษ เมื่อเขาทำผิด
3. หัดให้ลูกเป็นคนรับผิดชอบตัวเอง เช่น หน้าที่ การงาน การเงิน เป็นต้น หัดให้เขาใช้ความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ควรชี้แนะไปเสียทุกสิ่ง
4. ควร “เลี้ยงลูกให้โต” อย่าพยายาม “เลี้ยงลูกให้เตี้ย” เพราะเราไม่อาจตามเลี้ยงเขาได้จนตลอดชั่วชีวิต
5. คำพูดที่ว่า “จงทำตามฉันสอน แต่อย่าทำตามฉันทำ” ไม่ควรนำมาใช้กับลูก นั่นคือ พ่อแม่ควรเป็นแบบพิมพ์ที่ดีและถูกต้องถ้าจำเป็นต้องทำชั่ว ก็อย่าให้ลูกรู้หรือเห็น เด็กจะเสียกำลังใจในการทำ ความดี และจะถือเป็นข้ออ้างในการทำความชั่ว แม้แต่เรื่องการดื่มสุราหรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น
6. อย่าห้าม ลูกไม่ให้ทำอะไร ถ้าสิ่งนั้นไม่ผิด หรือไม่เป็นอันตรายเพราะเด็กย่อมอยากรู้และอยากเห็นเป็นทุนอยู่แล้ว ควรให้เขาได้ช่วยงานเรา ตามที่เขาชอบบ้าง
7. ควรรักลูกด้วยพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ให้ครบทั้ง 4 ข้อ อย่าแสดงออกให้ลูก ๆ เห็นว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน (อคติ)
8. ควรหาโอกาสพาลูก ๆ ไปวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม ให้ทาน รักษา ศีล เจริญภาวนา ตามสมควร โดยเฉพาะก่อนนอน ควรหัดให้ลูก ๆ ไหว้พระสวดมนต์ แผ่เมตตา และกราบระลึกถึงผู้มีพระคุณ 5 ครั้ง แล้วจึงให้นอนได้
9. อย่าลืมว่า เรามีหน้าที่เลี้ยงลูกให้ดีเท่านั้น ถ้าเขาไม่รักดีก็เป็นกรรมของเขาเอง ทุกคนไม่อาจจะฝืนกฎแห่งกรรมของตนเองได้

 

รักลูกแบบระยะยาว — วางอุเบกขา เพื่อฝึกฝนลูก

การรู้จักวางอุเบกขา เพื่อเป็นการให้โอกาสเขาพัฒนาตัวเอง โดยให้เขาหัดรับผิดชอบตัวเอง แยกได้เป็น 3 กรณี คือ

1) เมื่อจะต้องให้เขาหัดรับผิดชอบตัวเอง

เพื่อว่าเขาจะได้ทำอะไรเป็น คือ จะต้องให้ลูกหัดทำบ้าง รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อฝึกตัวเอง แต่เขาจะเก่งขึ้น เช่น พ่อแม่ต้องวางอุเบกขาไม่ทำการบ้านแทน

การทำอย่างนี้ไม่ใช่เราไม่รัก แต่เป็นการรักเป็นหรือรักระยะยาว อุเบกขา แปลว่า คอยดู มาจาก อุป+อิกข อิกข แปลว่า ดูอุป แปลว่า ใกล้ๆ หรือคอย รวมกันแปลว่า คอยดูอยู่ใกล้ ๆ  หมายความว่าพร้อมที่จะแก้ไขสถานการณ์ แต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง

2) เมื่อลูกสมควรรับผิดชอบต่อการกระทำของตนต่อกฎเกณฑ์กติกา

ครอบครัวเป็นสังคมย่อย ต่อไปลูกต้องไปอยู่ในสังคมใหญ่ จึงต้องเรียนรู้ชีวิตจริง รู้จักความชอบธรรม ความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นครอบครัวก็ต้องมีกติกา มีกฎเกณฑ์ เขาทำอะไรถูกหรือผิด เราก็ให้เขารับผิดชอบการกระทำของเขาทั้งดีและชั่ว ตามถูกตามผิด ตามกฎเกณฑ์กติกา เรียกว่าอุเบกขาทำให้เขาได้รับความเป็นธรรม และรักษาธรรมไว้เมื่อเขาสมควรต้องรับผิดชอบการกระทำของตน

3) เมื่อเขารับผิดชอบตัวเองได้แล้ว ก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง

เช่น เมื่อลูกโตแล้ว จบการศึกษาแล้ว มีงานมีการทำแล้ว มีครอบครัวของเขาเอง รับผิดชอบตัวเองได้ พ่อแม่อย่าไปก้าวก่ายแทรกแซงในชีวิตของครอบครัวเขา พ่อแม่บางคน รักลูกมาก อยากให้ลูกมีความสุขจนเข้าไปยุ่ง ไปเจ้ากี้เจ้าการในครอบครัวของเขา จนเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ

จะพบว่า ในหลักพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนพรหมวิหาร ซึ่งมีเพียง 4 ข้อ แต่กลับสามารถครอบคลุมหลักการวิธีเลี้ยงลูกได้ทั้งหมด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างน่าอัศจรรย์

ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ควรเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ที่รักของเรา ด้วยการปลูกฝังธรรมะลงในใจของเขาแต่ยังเยาว์ จะช่วยให้เขาเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ

อ่านต่อ >> “ทำบุญอย่างไรให้ได้อภิชาตบุตร?” คลิกหน้า 4

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up