นักเรียนญี่ปุ่น

เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น กับ 8 ความลำบาก เพื่อให้ลูกเป็นเด็กเก่ง โตไปมีคุณภาพ

event
นักเรียนญี่ปุ่น
นักเรียนญี่ปุ่น

เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น

2. การมีหน้าที่ต่างๆทั้งที่บ้านและโรงเรียน

ที่บ้านเด็กส่วนใหญ่จะได้รับมอบหมายจากพ่อแม่ให้ทำงานบ้านที่เหมาะสมกับวัย ส่วนที่โรงเรียนนอกจากหน้าที่ประจำที่ทุกคนต้องทำตลอดทั้งเทอมแล้ว

ทุกอาทิตย์เด็กแต่ละห้องเรียนต้องมีหน้าที่ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณอาคารเรียนเพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

เทคนิคการสอนลูกเรียนรู้ผ่านงานบ้านแบบคนญี่ปุ่น

  • เริ่มที่ความสนใจ

การที่จะฝึกให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับงานบ้านนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากงานที่เด็กสนใจก่อน เพราะความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงกระตุ้นให้แกเรียนรู้ และทำสิ่งนั้นได้ดี รวมทั้งรู้สึกสนุกสนานกว่าการที่จะไปบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่สนใจ ดังนั้นถ้าลูกอยากจะเข้ามาช่วยหรือขอเข้ามามีส่วนร่วมขณะที่คุณกำลังง่วนกับงานบ้านอยู่ล่ะก็ อย่าได้ปล่อยโอกาสดี ๆ อย่างนี้ให้ผ่านเลยไป ให้เจ้าตัวเล็กเข้ามาช่วยคุณทำงานดูซิคะ ถึงจะชักช้า วุ่นวาย หรือไม่ทันใจคุณไปบ้าง ก็ขอให้ใจเย็น ๆ กับผู้ช่วยมือใหม่กันหน่อยแล้วกันนะคะ

  • ทำทีละน้อยดีกว่า

เป็นธรรมดาของเด็กวัยนี้ที่คงยังทำงานยาก ๆ นักไม่ได้ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกงานที่เหมาะกับลูก หรือไม่ยากเกินความสามารถที่ลูกวัยนี้จะทำได้ สอนลูกโดยทำตัวอย่างและอธิบายวิธีทำไปทีละขั้นให้ชัดเจน และถ้าจะให้ดีในช่วงที่เพิ่งเริ่มต้น คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ ๆ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเมื่อเกิดติดขัด และควรแบ่งงานเป็นส่วนเล็ก ๆ แล้วให้ลูกทำทีละน้อย จัดให้ทำทีละส่วนที่สามารถทำให้เสร็จได้โดยใช้เวลาไม่นานมากนัก

เพื่อให้ลูกทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่รู้สึกเบื่อจนเลิกทำไปเสียก่อน (อย่าลืมว่า ช่วงเวลาที่เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดยังไม่นานนัก) จะได้ช่วยสร้างกำลังใจและทำให้เจ้าตัวเล็กเกิดความมั่นใจไปพร้อมกันด้วย ที่สำคัญอย่าลืมใส่เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานบ้านนั้นกลายเป็นเรื่องสนุกสนานสำหรับลูกด้วยค่ะ แทนการใช้คำสั่งให้เก็บของเล่นที่เกลื่อนกลาดบนพื้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้วิธีชวนลูกเล่นแข่งเก็บของเล่นใส่กล่อง หรือเกมพาน้องตุ๊กตากลับบ้าน (เก็บตุ๊กตาเข้าที่) แล้วบอกลูกว่า น้องตุ๊กตาเขาก็อยากไปนอนที่บ้านของเขาแล้วเหมือนกัน หรือพออยู่ในกล่องของเล่นของหนูจะได้อยู่ด้วยกัน ไม่หายไปไหนไง วิธีนี้ก็จะช่วยให้ลูกยินดีที่จะทำงานนี้มากขึ้น

  • ย้ำเตือนหากหลงลืม

ถึงคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจ พยายามทำตามขั้นตอนทุกอย่างแล้วก็ตาม แต่ก็อย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะต้องทำหรือทำดีอย่างที่คุณสอนทุกครั้ง เด็ก ๆ อาจจะหลงลืมทำหน้าที่ของตัวเองหรือทำไม่เรียบร้อยอย่างที่เคยเป็นก็ได้ อธิบายขั้นตอนการทำงานนั้นอีกครั้ง และไม่ควรแก้ไขด้วยการบ่นว่าหรือตำหนิลูก เพราะนั่นจะทำลูกรู้สึกเบื่องานบ้านและคุณพ่อคุณแม่(ขี้บ่น)ได้ อีกหน่อยแกก็จะสนใจฟังคุณ ทางที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดจาดี ๆ กับลูก เพื่อชักชวนให้เจ้าตัวเล็กมาทำกิจกรรมนี้ด้วยกันกับคุณอย่างเต็มใจจะดีกว่า

  • เอ่ยชมฝีมือของลูก

คำชมและเสียงตบมือเป็นกำลังใจที่เด็ก ๆ ต้องการ เมื่อลูกทำงานได้สำเร็จหรือทำได้ดี คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมเชยและชื่นชมในความสามารถของลูกบ้าง รับรองผู้ช่วยตัวน้อยของคุณมีแต่จะดีใจอวดยิ้มหน้าบานไปทั้งวัน

  • เพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ

งานบ้านที่คุณสอนลูกให้ทำนั้น จะทำให้ลูกสามารถทำสิ่งง่ายๆ ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นของชีวิตได้ ซึ่งถ้าเด็กสามารถทำได้ แกก็จะดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น

3. การไปพักแรมกับโรงเรียน

เด็กประถมศึกษาปีตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไปต้องไปพักแรมนอกสถานที่กับโรงเรียนอย่างน้อย 2 คืนซึ่งมีกิจกรรมเดินทางไกลและปรุงอาหารกินเอง (การให้เด็กเข้าค่ายพักแรมนี้น่าจะเหมือนกับระบบโรงเรียนของเมืองไทยอย่างการเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี)

เลี้ยงลูกแบบญี่ปุ่น

4. การซ้อมค้างคืนจำลองสถานการณ์แผ่นดินไหวกลับบ้านไม่ได้

เด็กญุ่ปุ่นในชั้นประถมปีที่ 5 ต้องค้างคืนที่โรงเรียนเป็นเวลาหนึ่งคืนด้วยชุดที่ใส่มาจากบ้านโดยไม่มีการอาบน้ำ และต้องกินอาหารสำเร็จรูปหรือขนมปังกระป๋องเพื่อฝึกซ้อมค้างคืนที่โรงเรียนหากมีภัยแผ่นดินไหวจนเป็นเหตุให้เด็กกลับบ้านไม่ได้

5. การเข้าค่ายว่ายน้ำทะเล

ทุกปิดภาคฤดูร้อนโรงเรียนจะจัดให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 6 ไปพักแรมริมทะเลและร่วมกิจกรรมการว่ายน้ำอย่างน้อย 500 เมตร เพื่อฝึกทักษะการรู้จักระมัดระวังตัวเองและเอาตัวรอดจากภัยการจมน้ำ 

6. การเข้าค่ายต่างๆ อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ตัวเล็กๆ

ทุกปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้เด็กๆไปเข้าค่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายการกีฬา ค่ายโรงเรียนสอนพิเศษและค่ายที่จัดโดยสถาบันที่มีความชำนาญต่างๆ เพื่อให้เด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 เป็นต้นไปได้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและรู้จักการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

7. การมีความสามารถพิเศษที่เป็นผลมาจากความพยายาม

เด็กญี่ปุ่นส่วนใหญ่เรียนพิเศษเพื่อให้มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรี ศิลปะหรือกีฬา ซึ่งหากเป็นด้านดนตรีเด็กๆจะต้องมีการแสดงใหญ่ให้ผู้ปกครองได้ชมทุกปีดังนั้นทุกคนต้องฝึกซ้อมดนตรีอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง เช่นเดียวกับการเล่นกีฬาโดยส่วนใหญ่จะมีการจัดแข่งขันตามที่ต่างๆซึ่งใกล้หรือไกลบ้านอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาทักษะการกีฬาให้แก่เด็กๆ

8. การเรียนพิเศษที่หนัก

ในปัจจุบันเด็กญี่ปุ่นส่วนใหญ่ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่สี่เป็นต้นไปมักเรียนพิเศษอย่างหนักเพื่อสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงทั้งที่เป็นของเอกชนและรัฐบาล การได้เข้าเรียนในโรงเรียนดีๆและมีชื่อเสียงจะเป็นหลักประกันว่าเด็กๆสามารถสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ดีๆได้

จากความลำบากดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างความลำบากที่ผู้ใหญ่จัดให้เด็กญี่ปุ่น แม้ว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายแต่คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการให้ลูกได้รู้จักความลำบากบ้างจะช่วยสร้างความอดทน ความเพียรพยายามและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อเด็กจะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ซากุระเมืองร้อน , teen.mthai.com , campus.sanook.com , www.manager.co.th , www.aksaraforkids.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up