ลูกชอบร้องงอแง

แม่แชร์ 11 วิธีรับมือ “ลูกชอบร้องงอแง” เทคนิคดีจากหมอญี่ปุ่น!

event
ลูกชอบร้องงอแง
ลูกชอบร้องงอแง

(ต่อ) 11 วิธีรับมือ เมื่อลูกชอบร้องงอแง เอาแต่ใจ

สำหรับเทคนิคที่คุณแม่ริรับคำแนะนำมาจากคุณหมอเด็กของญี่ปุ่น 🌸 วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับเหตุการณ์แบบนี้ เมื่อ ลูกชอบร้องงอแง เอาแต่ใจ คือ

1. พยายามสนใจในสิ่งที่ลูกกำลังสื่อสาร หัดรู้จักฟังลูก และตอบกลับในแบบที่นุ่มนวลไม่ว่าจะการปฎิเสธ หรือ ตอบรับ

2. ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หรือล้อเล่นกับอารมณ์ลูก หรือหยอกให้ลูกร้องบ่อยๆ

3. ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย หรือ ใจเย็น

4. ถ้าลูกเริ่มร้องไห้ ให้กอดเค้าไว้ ยังไม่ต้องพูดอะไร และไม่ควรหัวเราะลูก กอดและลูบหลังไม่ต้องอุ้มเดิน (ถ้ายังเบบี๋อยู่อุ้มเดินได้)

5. รอจนลูกร้องจนสงบ เมื่อเค้าสงบแล้วค่อยเริ่มคุยกับเค้า เริ่มด้วยการพาเค้าไปล้างหน้า เช็ดหน้า หาน้ำให้ดื่ม และพูดคุยเพื่อสอบถามความต้องการเค้า

6. เวลาที่ลูกร้องกรี๊ดกราด หรืออะไร ไม่ต้องลน พยายามตอบสนองความต้องการเค้าตอนนั้นนะ ไม่งั้นเค้าจะจำว่าเค้าจะได้การตอบสนองคือตอนที่ร้องกรี๊ดกร๊าดโวยวาย ให้กอดเค้าลูบหลังเค้าอย่างเดียว

7. ให้คุย และตอบสนองเค้าตอนที่เค้าสงบแล้วเท่านั้น เค้าก็จะจำว่าเค้าจะได้เมื่อเค้าสงบแล้วเท่านั้น

8. ถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าให้ลูกถึงจุดพีคของอารมณ์ ไม่งั้นลูกจะติดนิสัยเกรี้ยวกราด

9. ในเวลาที่ลูกร้อง ไม่ต้องพยายามสอน หรือบอกเหตุผล นั่น นี่ เงียบไปก่อน กอดและลูบหลังเค้าก็พอ ถ้าอยากสอน รอลูกอารมณ์ดีๆ และเราอารมณ์ดีๆ ค่อยสอนนะ

10. แม่ต้องพยายามใจเย็น ลูกอารมณ์ขึ้น อย่าขึ้นตามลูก อย่าโมโห เกรี้ยวกราดหรือจะเอาชนะให้ได้ ไม่ดีมากๆแบบนี้

11. หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” เช่น ลูกร้องกินไอติม ก็ไม่ใช่รีบบอกว่า “ไม่ได้” พยายามใช้เป็นคำอื่น หรือชวนคุยไปอย่างอื่น เป็น “ไหนดูสิ ในตู้เย็นเรามีอะไรบ้าง แม่ว่าน้ำผลไม้นี้น่าจะอร่อยนะ มาชิมกัน ฯลฯ” คือ เรารู้นิสัยลูกเรา ควรพูดยังไง เรารู้ดีที่ไม่ใช่การปฎิเสธ เพราะเด็ก ยิ่งพูดว่า “ ไม่ “ มันเหมือนยิ่งยุนะ

#บางคนบอกลูกยังพูดไม่ได้ ยังฟังไม่เข้าใจ ถึงเค้ายังพูดไม่ได้ แต่เค้าเข้าใจที่เราสื่อสารค่ะ พ่อแม่ลูก ภาษาแรกที่สื่อสารกันคือภาษากายภาษาใจ

ด้านบนเหมือนหลายข้อนะ แต่จริงๆถ้าทำจนชินคือไม่ได้หลายขั้นตอนอะไรเลย ซึ่งมันดีกว่าปล่อยลูกอารมณ์เป็นไปตามเวรตามกรรมอะไรแบบนั้น … สุดท้ายแม่ริยังบอกอีกว่า EF สำคัญสำหรับลูกมากจริงๆ

ขอบคุณภาพน้องซาริ และข้อมูลจากคุณแม่ริ เฟซบุ๊ก : ริริ จัง

ทั้งนี้ข้อมูลจาก รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ ลูกชอบร้องงอแง เอาแต่ใจ เกิดขึ้นจากพัฒนาการตามวัยของลูกที่มีความเป็นตัวของตัวเอง และการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ที่มักจะยอมตามใจเด็กแบบไม่กำหนดขอบเขต ไม่คำนึงถึงเหตุผล แค่เด็กร้องหรือแสดงอารมณ์ก็ปล่อยตามใจ ไม่อยากให้เด็กร้องไห้หรือเสียใจ จึงยอมให้ในสิ่งที่เด็กต้องการ

ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่าการที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ต้องร้องไห้หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น จนเป็นนิสัยเพื่อเป็น “ไม้ตาย” ให้พ่อแม่และทุกคนรอบข้าง ยอมทำทุกอย่างตามที่เด็กต้องการ ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่าลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรรีบแก้ไขโดยปรับพฤติกรรมทันที มิเช่นนั้นจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักในสายตาคนอื่นและติดนิสัยนี้ไปจนโต ซึ่งก็สามารถนำวิธีรับมือเมื่อ ลูกชอบร้องงอแง เทคนิคดีจากคุณหมอญี่ปุ่น ที่แม่ริได้แนะนำไว้ข้างต้นได้

และที่สำคัญ การปรับพฤติกรรมของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็น ลูกชอบร้องงอแง ลูกเอาแต่ใจ ร้องกรี๊ด อาละวาด หากจะทำให้ได้ผลดี คือ ทุกคนในบ้าน ต้องมีแนวทางการปรับพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอ ทั้งการฝึกวินัย ฝึกการให้ช่วยเหลือตนเอง ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตทางอารมณ์และสังคม เป็นพัฒนาการตามวัยที่ควรได้รับการฝึกที่ดีตั้งแต่เด็ก และค่อยๆเพิ่มขึ้นตามวัย เพื่อให้ลูกน้อยได้เติบโต และอยู่ในสังคมภายภาคหน้าได้อย่างมีความสุขนั่นเองค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : thaitribune.org

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up