4 เทคนิค สอนลูกป้องกันโรคใหม่ทำลายเด็กไทย คิดว่า “ตัวกูใหญ่”

event

พฤติกรรมรุนแรง

บุคลิกภาพนิสัยแบบนี้   ไม่ใช่แบบต่อต้านสังคมแบบชอบทำอะไรต่อต้าน ประท้วง  โวยวาย แต่จะเป็นการละเมิดกฎเกณฑ์ กฎหมาย  เพื่อความพึงพอใจของตนเอง  เวลาต้องการอะไรจะต้องให้ได้ทันที ยั้งใจตัวเองไม่ได้ เวลาโกรธจะรุนแรง เช่นตอนคุณพ่อคุณแม่ยังเป็นเด็ก อาจเคยเจอปัญหาเพื่อนที่มีลักษณะแบบนี้  คนที่เกเรที่สุดในห้อง คนที่เราไม่ค่อยอยากเล่นด้วยเพราะเขาชอบแกล้งเพื่อนรังแกเพื่อน  ทำผิดเสมอๆ  ถูกดุถูกว่าบ่อยๆ   โตขึ้นก็จะยังเป็นแบบนี้  ดูเผินๆอาจจะเหมือนคนปกติ เพราะเจ้าตัวจะปิดบังอาการและความไม่ดีได้บางช่วง ในสังคมเรามีคนที่บุคลิกภาพผิดปกติแบบนี้ไม่น้อย ที่เห็นชัดๆปรากฏเป็นข่าวมีคลิปโด่งดังและถูกแชร์มากอยู่ในขณะนี้ สำหรับอาการโรคร้ายที่ว่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบป้องกันลูกของเราตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงวัย 1ขวบ โดยมีวิธีดังนี้

1. ฝึกลูกให้รู้จักรอคอย และการยอมรับกติกา

อย่าตอบสนองทันทีในสิ่งที่ลูกต้องการ ฝึกให้รู้จักรอเพื่อสร้างความเข้าใจการรอคอย และบอกให้รู้ว่าเมื่อรอ แล้วอีกไม่นานก็จะได้ในสิ่งที่ต้องการ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่ตอบสนองความต้องการของลูกแบบรวดเร็ว คือ พอลูกร้องปุ๊ปถึงตัวปั๊ปจะส่งผลให้เด็กเคยชิน เอาแต่ใจ และคิดอยู่ทุกครั้งว่าเมื่อต้องได้ในสิ่งที่ต้องการทันที

รวมทั้งฝึกการยอมรับกติกา เมื่อออกคำสั่งให้ลูกทำอะไร จะต้องบอกว่าทำเพื่ออะไร หรือทำเพราะอะไร ใช้คำอธิบายที่ไม่ซับซ้อนเพื่อปูพื้นฐานให้เด็กรู้จักเหตุและผล และรู้ถึงผลของสิ่งที่จะปฏิบัติ และให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็น และ ร่วมตั้งกติกาด้วยจะช่วยให้เด็กเต็มใจทำยิ่งขึ้น เมื่อฝึกให้เด็กได้เรียนรู้และยอมรับกฎกติกาอย่างเต็มใจ

2. ฝึกให้ลูกไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการและผิดหวังเป็น

เพราะความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ต้องพบเจออยู่แล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าเป็นพ่อแม่ที่พยายามค้นหา คว้าดาวมาให้ลูก เมื่อลูกอยากได้อะไรก็ต้อง vip พิเศษสำหรับลูกเสมอ สิ่งนี้จะทำให้คุณกำลังสร้างให้ลูกคุณเคยชินกับการต้องได้เพียงอย่างเดียว ต้องให้ลูกรู้จักผิดหวังบ้างเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกเอง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

3. ฝึกให้ลูกรู้จักแบ่งปันของตัวเองให้คนอื่น

พ่อแม่ทุกคนต้องการสนับสนุนให้ลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่จิตใจดี รู้จักการแบ่งปัน มีน้ำใจ มีความเอื้อเฟื้อ และรับรู้ถึงความต้องการของผู้อื่นและของตนเอง เพราะโดยส่วนมากเด็กจะเคยชินกับการได้รับจากคนอื่นนั่นเอง และหากลูกเป็นคนที่ไม่รู้จักการแบ่งปัน เมื่อลูกโตขึ้นจนต้องเข้าสังคม อาจโดนมองว่าเป็นคนไร้น้ำใจทำให้ไม่มีเพื่อน

4. อย่ารักลูกมากจนกลายเป็น พ่อแม่รังแกฉัน

การที่พ่อแม่รักลูกมากเกินไปทำให้ตัวเองตาบอดในเรื่องของลูกมองไม่เห็นในความผิดของลูก สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ควรเปิดใจมองลูก ยอมรับข้อเสียของลูก และยอมรับว่ามันเกิดจากเรา เพราะเราเลี้ยงลูกมาเอง ดังนั้นเราคือ ต้นเหตุในหลายๆเรื่อง ยอมรับและแก้ไขให้เป็น

สำหรับโรคนี้ จริงๆแล้วเกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดของเด็ก  การขาดการดูแลในช่วงขวบปีแรกซึ่งสำคัญมากในการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น การมองโลกในแง่ดี การรู้สึกเห็นอกเห็นใจใคร จะเป็นสาเหตุใหญ่ข้อหนึ่ง ต่อมาการขาดการฝึกการควบคุมตนเอง ระเบียบวินัยในขวบปีที่สองและสาม จะทำให้เด็กขาดการควบคุมจิตใจตนเอง ทำให้เด็กเอาแต่ใจตนเอง  ในวัยต่อๆมาเด็กจะเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ พี่น้อง  คนในครอบครัวและใกล้ชิด เด็กจะมีความมั่นคงในอารมณ์  รู้จักแยกแยะดีเลว และควบคุมตัวเองให้อยู่ในกติกาสังคมได้

ดังนั้น เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะช่วยกันป้องกันปัญหานี้ กับวลี กราบรถกู ที่กำลังโด่งดัง แค่ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่คอยฝึกสอนลูกตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคคิดว่า ตัวกูใหญ่ ได้แล้วปัญหาในสังคมเรื่องการข่มเหงรังแก ผู้อื่นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

พ่อแม่รังแกฉัน ! บาป 14 ประการ จากท่าน ว.วชิรเมธี
เตือนใจพ่อแม่! หยุดเลี้ยงลูกแบบเทพเจ้า
เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป ป้องกันโรค “ไม่รู้จักลำบาก”

ขอบคุณข้อมูลจาก : Basic-Skill for young children , www.psyclin.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up