น้ำหนักเด็กแรกเกิด

น้ำหนักเด็กแรกเกิด ลูกน้ำหนักตัวน้อยเป็นอะไรไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำหนักเด็กแรกเกิด
น้ำหนักเด็กแรกเกิด

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย?

สาเหตุนี้ไม่ได้นับรวมถึงเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเกิดโรค และสาเหตุต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

  1. การคลอดก่อนกำหนด
  2. แม่ท้องที่ตั้งครรภ์แฝด ที่ต้องแบ่งอาหารและพื้นที่ในครรภ์คุณแม่
  3. เด็กแรกเกิดเป็นโรคทางพันธุกรรม
  4. ปัญหารกเสี่อม รกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงเด็กในท้องได้
  5. แม่ท้องที่เป็นโรคความดันในเลือดสูง
  6. แม่ท้องที่มีอายุน้อย  หากท้องไม่พร้อม จะทำให้ได้รับการบำรุงครรภ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  7. แม่ท้องที่ติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์
  8. ควันบุหรี่มือสองที่ลูกในท้องได้รับ
  9. แม่ท้องที่อารมณ์อ่อนไหว

กินนมแม่

หากลูกเกิดมาแล้วมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

นอกจากการดูแลรักษาเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยจากแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกกลับมามีน้ำหนักตามเกณฑ์และมีสุขภาพที่แข็งแรงเหมือนเด็กทั่วไปได้ ดังนี้

  1. ให้ลูกได้ทานนมแม่ เด็กแรกคลอดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ มักจะมีความต้องการสารอาหารต่าง ๆ เช่น  แคลเซียม  โปรตีน  เกลือแร่  วิตามินสูงกว่าเด็กปกติทั่วไป นมแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ลูกกลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้
  2. คอยตรวจเช็คน้ำหนักและการเจริญเติบโตของลูกน้อยอยู่เสมอ (อ่านต่อ ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?) และพาลูกได้ฉีดวัคซีนเมื่อถึงเวลานัด
  3. เมื่อลูกโตขึ้น คอยตรวจเช็คน้ำหนักลูกเพื่อไม่ให้น้ำหนักขึ้นเร็วจนเกินไป เพราะอาจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ การทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ลูกเติบโตสมวัย

เมื่อทราบแล้วว่าสาเหตุใดบ้างที่อาจทำให้ลูกในท้องเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ แม่ท้องทุกคน ก็ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น และควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้แพทย์ได้คอยติดตามสุขภาพของลูกในท้องอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะคลอดออกมาแล้วมีน้ำหนักน้อยได้เช่นกันค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ กับวิธีการตรวจดูขนาดของลูกในท้องว่าตัวเล็กหรือใหญ่!

พบกับทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนัก 400 ก. ต่อสู้ชีวิตจนรอด

ขอบคุณข้อมูลจาก : baby center

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up