ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง

Alternative Textaccount_circle
event

ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง การที่ทารกโตช้าในครรภ์ ถือว่าเป็นครรภ์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เรามีคำอธิบายมาฝากกันค่ะ

ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง

 

ทารกในครรภ์เติบโตช้า

 

ทำความเข้าใจ น้ำหนักทารกแรกคลอด

– เด็กทั่วไปเมื่อครบกำหนดคลอด น้ำหนักจะมากกว่า 2500 กรัม

– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4000 กรัม เรียกว่าทารกตัวใหญ่ หรือทารกน้ำหนักมากผิดปกติ (Macrosomia)

– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight)

– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อยมาก (Very Low Birth Weight)

– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1000 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อยมากๆ (Extremely Low Birth Weight)

หากยังไม่ครบกำหนดคลอดให้ดูน้ำหนักมาตรฐานของทารก โดยแต่ละอายุครรภ์มีน้ำหนักมาตรฐานของทารก ซึ่งอยู่ในค่าน้ำหนักช่วง 10-90 เปอร์เซ็นไทล์ หากน้ำหนักของเด็กทารกที่อายุครรภ์นั้นๆ ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นไทล์ถือว่าน้ำหนักน้อย ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพของทารกในครรภ์เติบโตช้า แปรผันโดยตรงกับน้ำหนักของเด็ก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม ทารกในครรภ์ เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง คลิกต่อหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up