กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี

Alternative Textaccount_circle
event

แต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ประมาณ 9 แสนราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 3 หรือรวม 26,000 ราย จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่น ปอดบวม ต้องรับรักษาในโรงพยาบาล เสียชีวิตปีละประมาณ 150 ราย หากคุณอยู่ใน กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี อย่าพลาดป้องกันไว้ก่อนสาย

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) หรือไข้หวัดใหญ่ 2009  เริ่มพบเมื่อปี พ.ศ. 2552  หรือ ค.ศ. 2009 ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล(Seasonal Influenza) ที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งมักพบมากในช่วงฤดูหนาว โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และซี

จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทุกจังหวัดในประเทศไทย ของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ 1 มกราคม –  3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วย 108,469 ราย มีผู้เสียชีวิต 17 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรกคือ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ระยอง พิษณุโลก

กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี

ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน หลังจากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

  1. ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน
  3. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
  4. บุคคลที่เข้ารับการบำบัดอยู่ใน nursing home และสถานที่รับดูแลโรคเรื้อรัง
  5. ผู้ใหญ่และเด็กที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคระบบหัวใจไหลเวียน รวมทั้งเด็กที่เป็นโรคหอบหืดด้วย
  6. ผู้ใหญ่หรือเด็กที่ต้องเข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำด้วยโรคเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ที่ได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกัน
  7. เด็กหรือวัยรุ่น(6 เดือน-18 ปี) ที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยแอสไพรินเป็นประจำจะมีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น Reye’s Syndrome หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

กลุ่มที่อาจแพร่โรคไปสู่กลุ่มเสี่ยงสูง

  1. แพทย์-พยาบาล บุคลากรอื่นๆ ในโรงพยาบาล
  2. เจ้าหน้าที่ใน nursing home และสถานที่บำบัดผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  3. บุคคลที่เข้าพักอยู่ในบ้านเดียวกันกับคนที่มีความเสี่ยงสูง

จะเห็นได้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า  4 เดือน และลูกน้อยอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี นับเป็น กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี หากคุณหรือลูกน้อยของคุณยังไม่ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปีนี้ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านนะคะ

กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่

ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • อาการที่อาจพบหลังฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

คนที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดบวมบริเวณที่มีการฉีดวัคซีน แต่อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปรกติได้ภายใน 1-2 วัน

  • ใครบ้างห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

สำหรับบุคคลที่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่แบบรุนแรง เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ผลิตจากไข่ไก่ฟัก และผู้ที่มีไข้สูง หรือมีอาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันควรรอให้อาการไข้ลดลงก่อนแล้วจึงไปเข้ารับการฉีดวัคซีน

อ่านต่อ ตัวอย่าง ราคาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2559 คลิกหน้า 2 >>

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up