รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย

รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัยลูกน้อยแรกเกิด-12เดือน

Alternative Textaccount_circle
event
รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย
รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย

ช่วงแรกเกิด – 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจจะคาดไม่ถึงว่า มีการบาดเจ็บของเด็กเกิดขึ้นได้เช่นกัน จากสถิติทั่วโลกที่ผ่านมาพบว่า การบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในช่วงวัยนี้คือ ศีรษะกระแทก พลัดตกหกล้ม และการกลืนสารพิษหรือวัตถุเข้าไปในร่างกาย เรามา รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย กันค่ะ

รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย

1.การขาดอากาศหายใจ

เนื่องจากเด็กแรกเกิดนั้นยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พัฒนาการของเด็กวัยนี้ คือ การมองเห็น การร้องเบาๆ ส่งเสียงเพื่อบอกว่า “หนูหิวแล้ว” “หนูฉี่ออกมาแล้วนะ” เป็นต้น เรียกว่าวัยนี้ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นที่สุด ซึ่งนั่น ก็นำมาซึ่งความเหนื่อยล้าของผู้เลี้ยงดู โดยเฉพาะคุณแม่ซึ่งได้รับบทเป็นนางเอก ในช่วงนี้ คุณแม่บางคนอาจจะพักผ่อนไม่เพียงพอ หลายครั้งที่เราจะได้ยินข่าว คุณแม่นอนทับลูกจนเสียชีวิต บนหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามโทรทัศน์ คุณแม่บางรายมีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ก็ทำให้มีการหลับลึกกว่าปกติ จนไปทับเด็กทารกจนเสียชีวิตก็มีให้ได้ยินเช่นกัน

นอกจากคุณแม่ที่อาจนอนหลับทับลูกแล้ว คนอื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะนอนหลับทับเด็กได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนนั้นคือ การนอนที่นอนเดียวกัน ไม่ว่าคนที่นอนด้วยจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ พี่ชาย หลานสาว โดยเฉพาะพี่วัยซนอาจจะมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ ทุกคนที่นอนเตียงเดียวกับเด็กมีโอกาสที่จะทำให้เด็กทารกขาดอากาศเสียชีวิตได้ทั้งสิ้น

รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัยนอกจากการนอนทับจนทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้เด็กวัยนี้ต้องเสียชีวิต ทั้งการนอนหลับบนที่นอนที่นุ่มเกินไป นอนหลับบนโซฟาแล้วหน้าไปซุกบริเวณมุม การนอนหลับโดยมีหมอน ตุ๊กตา หรือ ผ้าห่มหนา ก็ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ หรือแม้แต่สายผูกหมอนข้าง ผ้าปูที่นอนที่หลวมเกินไป ของเล่นหรือของใช้ที่มีเชือกยาวเกิน 22 เซนติเมตร ก็สามารถพันคอเด็กได้ เช่น สายจูงรถ สายคล้องคอ สายรูดผ้าม่าน เป็นต้น

“หลายปีก่อนเคยมีข่าว เด็กเล็กเสียชีวิตจากการ พลัดตกเตียงแล้วศีรษะ ติดค้างกับราวกั้นเตียง จนขาดอากาศเสียชีวิต ซึ่งการพลัดตกจากเตียง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจ โดยตัวเด็กอาจไปติดอยู่กับซอกระหว่างที่นอนกับผนัง ซอกระหว่างที่นอนกับเตียง หรือศีรษะติดอยู่กับที่กั้นเตียง ดังที่เป็นข่าว”

การป้องกันที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแลเด็กสามารถทำได้ง่ายๆ คือ การใช้ที่นอนแยกกับเด็กโดยให้ห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร การเลือกที่นอนเด็กที่มีราวกั้นได้มาตรฐาน คือ ช่องว่าง ระหว่างซี่ไม่ห่างเกิน 6 เซนติเมตร ไม่ใช้ที่นอนที่นุ่มเกินไป ไม่วางหมอน หรือตุ๊กตาในที่นอนของเด็ก ไม่ใช้ผ้าห่มหนาเกินไป ใช้ที่นอนขนาดพอดีกับเตียงหรือเปลของเด็ก เลือกของเล่นที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับวัย พร้อมทั้งไม่ปล่อยให้เด็กอยู่เพียงลำพัง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัยพลัดตกจากที่สูง” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up