เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก ได้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event

ไขข้อข้องใจ จริงหรือไม่ เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก ได้? พบกับ 13 วิธีสร้างเสียงหัวเราะให้ดังเอิ๊กอ๊ากไปทั้งวัน

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า เสียงหัวเราะนั้น สามารถช่วยทำให้ลูกน้อยของเรามี ความฉลาดทางอารมณ์ไปในทางที่ดี เพื่อเป็นพื้นฐานให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่ดีในอนาคต ว่าแต่ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ นี้มีผลกระทบอะไรกับลูกของเรา แล้ว เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก ได้จริงหรือไม่ วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids จะมาเฉลยให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ

ทำความรู้จักกับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

ความฉลาดทางอารมณ์ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อีคิว (EQ) นั้นมีความสำคัญกับมนุษย์เราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าสังคมค่ะ หากลูกน้อยมีอีคิวต่ำ ก็จะกลายเป็นคนโมโหร้าย ระงับความโกรธไม่ได้ และพร้อมที่จะระเบิดอารมณ์ได้ทุกเวลา และสิ่งนี้เองที่จะส่งผลให้ลูกมีปัญหาในการดำเนินชีวิต และการเข้าสังคมในอนาคต

เด็กที่มีอีคิวดี จะเป็นอย่างไร?

แดเนียล โกลแมน ได้จำแนกความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ออกเป็น 2 ทักษะใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. ทักษะการจัดการตนเอง อันได้แก่ ความสามารถในการรู้จักตัวเองทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองทุกอย่างให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดี มีความคิดในเชิงบวก และไม่ท้อถอยหรือยอมแพ้กับอุปสรรคที่ได้พบเจอ
  2. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถในการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักระมัดระวังคำพูด รู้ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ รู้กาลเทศะ และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้อื่นได้ ที่สำคัญ มีความสามารถในการชักจูงผู้อื่นคล้อยตามความคิดเห็นและร่วมมือได้ เป็นต้น

และบุคคลที่จะมาช่วยปูทางและเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ ของลูกก็คือคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก และวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การสร้างเสียงหัวเราะ นั่นเอง

เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก ได้จริง ๆ หรือ?

เสียงหัวเราะ  เพิ่มอีคิวลูก ได้ค่ะ เนื่องจากการหัวเราะ คือการแสดงออกถึงความสุข นอกจากจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายแล้ว การหัวเราะยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ อีกด้วย เช่น ช่วยกระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือด และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

นอกจากนั้น การหัวเราะยังกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกาย และเพิ่มอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงระดับความดันโลหิต ซึ่งส่งผลให้ออกซิเจนถูกลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วยค่ะ

เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก

13 วิธีการสร้าง เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก

คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า เสียงหัวเราะครั้งแรกของลูกนั้นเริ่มขึ้นได้เมื่อไร … คำตอบก็คือ ตอนที่ลูกมีอายุประมาณ 4 เดือนแล้วนั่นเองค่ะ เพราะลูกจะเริ่มเข้าใจแล้วว่า ความตลกขบขันคืออะไร และยิ่งลูกหัวเราะมากเท่าไร EQ ของลูกก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ การช่วยกันสร้าง เสียงหัวเราะ เพิ่มอีคิวลูก นั่นเองค่ะ อย่างที่บอกว่า และนี่คือวิธีที่งหมดที่ทีมงานรวบรวมเอามาฝากกันค่ะ

  • การเป่าสิ่งของ สำหรับลูกเล็กนั้น แค่อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ขำแล้วละค่ะ หากไม่เชื่อ ให้คุณแม่นำผลไม้ ขนม สิ่งของ มาเป่าให้ตก หรือแค่เป่าแขนหรืออวัยวะของตัวเองให้มีเสียงเพียงเท่านี้ ลูก ๆ ก็ขำกันท้องแข็งแล้วละค่ะ
  • เล่นไล่จับ หากลูกน้อยเริ่มคลานได้ หรือวิ่งได้แล้ว กิจกรรมที่จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และมีความสุขที่สุดอีกกิจกรรมหนึ่งก็คือ การวิ่งไล่จับนั่นเอง สำหรับลูกที่เริ่มวิ่งได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะง่ายหน่อย เพียงแค่วิ่งตามช้า ๆ เหยาะ ๆ แล้วให้ลูกวิ่งหนีไปหลบข้างหลังคนอื่น เท่านี้ก็ชอบใจแล้ว สำหรับครอบครัวไหนที่ยังมีลูกเล็กที่คลานได้ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่คลานตามลูก และไล่ช้า ๆ เท่านี้ก็ขำเอิ๊กอ๊ากไม่หยุดหย่อนแล้วละค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องวิ่งช้า ๆ หรือแกล้งวิ่งนะคะ เพราะถ้าหากเร็วไป ลูกอาจจะหกล้มได้
  • แกล้งกัด ข้อนี้แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่แกล้ง ๆ กัดพุงลูก แก้ม แขนหรือขาเบา ๆ ก็ได้ค่ะ ทำซ้ำไปสองถึงสามรอบ เท่านี้ก็หัวเราะลั่นบ้านแล้ว ไม่เชื่อลองดูสิคะ
  • เล่นกล เกมยอดฮิตเรียกเสียงหัวเราะให้กับลูกอีกเกมหนึ่งก็คือ เกมจมูกหาย นั่นเอง วิธีการเล่นก็คือ ให้คุณแม่แกล้ง ๆ เอามือไปที่จมูกของลูก และทำเป็นหยิบ แล้วให้คุณแม่ใช้นิ้วโป้งของคุณแม่ทำเป็นจมูก และกำเอาไว้ พร้อมกับพูดกับลูกว่า อ้าว! จมูกของใครน๊า อยู่ที่นี่ได้อย่างไรเป็นต้น (แต่เกมนี้อาจจะต้องเล่นกับเด็กที่เล็กหน่อยนะคะ มิเช่นนั้นความสนุกอาจจะกลายเป็นกร่อยได้ค่ะ)
  • เล่นนิ้วเท้าลูก วิธีการเล่นก็คือ ให้คุณแม่อุ้มลูกนั่ง จะนั่งตัก นั่งเก้าอี้ ก็ได้ไม่ว่ากันค่ะ แล้วค่อย ๆ เอามือไปจับที่นิ่วเท้าของลูก โดยไล่จากนิ้วโป้งไปนิ้วก้อน พร้อมกับร้องเพลงเหมือน ๆ กันประมาณว่า นิ้วโป้งอยู่ไหน นิ้วโป้งอยู่ไหน อยู่นี่จ๊ะ อยู่นี่จ๊ะ สุขสบายดีหรือไร สุขสบายดีหรือไร ไปก่อนนะ สวัสดี (ทำไล่ไปเรื่อย ๆ จากนิ้วโป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย)

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up