วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ด้วย 10 เทคนิคแสนง่าย ไม่ให้ลูกต่อต้าน!

event
วิธีสร้างวินัยเชิงบวก
วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

วิธีสร้างวินัยเชิงบวก

3. เทคนิคการรอให้พร้อม

คือการรอให้ลูกอารมณ์พร้อม ที่จะทำพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยตัวเอง โดยการบอกให้ลูกทำเมื่อพร้อม แทนการสั่ง การควบคุมให้ลูกทำเดี๋ยวนี้ หรือการลงโทษลูกด้วยการ Time-out

กรณีที่ 1 :
ลูกเกเร ไม่ยอมสวัสดีผู้ใหญ่ ให้บอกลูกว่า พร้อมเมื่อไหร่ หนูสวัสดีคุณปู่คุณย่านะคะ 

กรณีที่ 2 :
ลูกกำลังโกรธ พูดจาไม่ดีกับคุณแม่ ให้บอกลูกว่า พร้อมเมื่อไหร่ หนูมาคุยกับคุณแม่นะคะแม่รอยู่ตรงนี้

 

เทคนิคการรอให้ลูกพร้อม สามารถใช้ได้ดีคู่กับเทคนิคการแสดงความเข้าใจ คือหลังจากแสดงความเข้าใจแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกลูกต่อได้เลย ว่าให้ลูกทำอะไรเมื่อพร้อม วิธีนี้เป็นการให้โอกาสลูกได้จัดการกับอารมณ์ และความรู้สึกของตัวเอง เพื่อให้สามารถกำกับตนเองได้

เทคนิคการรอให้ลูกพร้อม จะต่างกับการสั่ง การบังคับให้ทำ และ วิธีการ Time Out ตรงที่เทคนิคการรอให้พร้อม จะเน้นการส่งเสริมให้ลูกเกิดการควบคุมตนเอง แต่การสั่ง การบังคับให้ทำ และ วิธีการ Time Out ที่มีผู้ใหญ่เป็นผู้กำหนดเวลา เช่น ไปเข้ามุม 4 นาที ค่อยมาคุยกัน เน้นผู้ใหญ่เป็นผู้ควบคุมพฤติกรรมเด็ก ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กเกิดความกลัว โกรธ และต่อต้านแล้ว ยังไม่สร้างเสริมวินัยในตนเองได้อีกด้วย

⇒ Must read : ลงโทษ Time out!! วิธีการนี้ดีหรือไม่ลูกจะรู้สึกอย่างไร?

4. เทคนิคการให้ทางเลือกเชิงบวก

คือการเสนอทางเลือกให้เด็ก 2 ทาง เมื่อต้องการให้เด็กทำพฤติกรรมเหมาะสม โดยทั้งสองทางเลือกนั้นจะต้องไปให้ถึงเป้าหมาย และคุณพ่อคุณแม่ต้องรับได้ทั้ง 2 ทางเลือก

ตัวอย่างที่ 1 :

เสนอทางเลือกว่า หนูจะให้พ่ออาบให้ หรือ แม่อาบให้  เมื่อต้องการให้ลูกอาบน้ำ

(ทางเลือกที่ 1  /  ทางเลือกที่ 2   เป้าหมาย)

ตัวอย่างที่ 2 :

เสนอทางเลือกว่า หนูจะเล่นอีก 3 นาที หรือ 4 นาที  เมื่อต้องการให้ลูกเก็บของเล่น

(ทางเลือกที่ 1  /   ทางเลือกที่ 2   เป้าหมาย)

 

เทคนิคการให้ทางเลือกเชิงบวก จะช่วยให้ลูกเกิดการตัดสินใจที่ดี เนื่องจากการให้โอกาสให้ลูกได้เลือก จะทำให้เขารู้สึกว่า เขาเป็นคนควบคุมสถานการณ์ และกำหนดชีวิตตัวเอง เทคนิคนี้ จึงสามารถนำมาใช้แทนการสั่ง การบ่น และการคอยบอกว่าลูกจะต้องทำอะไรๆ ในแต่ละวัน

ที่สำคัญ เมื่อลูกมีการตัดสินใจที่ดี และทำพฤติกรรมตามที่เลือก เช่นพอครบ 4 นาทีตามที่เลือกไว้ แล้วเก็บของเล่น ยังเป็นโอกาสที่ดี ที่คุณพ่อคุณแม่จะใช้เทคนิคการชม มาชมลูก เพื่อเน้นย้ำให้ลูกเห็นความสามารถของตนเองได้อีกด้วย


5. เทคนิคอะไรก็ ได้”

คือการบอกลูกว่า “ได้” เมื่อลูกขอทำอะไร โดยการอธิบายเพิ่มเติมว่า ได้เมื่อไหร่ โดยสิ่งที่ลูกขอนั้น ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือ ทำลายสิ่งของ

กรณีที่ 1 :

เมื่อลูกขอซื้อของเล่น ให้บอกลูกว่า ได้ค่    ถึงวันเกิดแล้วซื้อให้เลย

(ได้  +   เมื่อไหร่)

กรณีที่ 2 :

เมื่อลูกขอไปเล่น แต่การบ้านไม่เสร็จ ให้บอกลูกว่า ได้ค่ะ ทำการบ้านเสร็จแล้วไปเล่นกัน

(ได้  +   เมื่อไหร่)

 

เทคนิคอะไรก็ ได้จะลดแรงต่อต้านจากลูก และช่วยให้ลูกสามารถให้ความร่วมมือ กับคุณพ่อคุณแม่ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประโยคที่พูดแสดงถึงการอนุญาต และ เป็นประโยคที่เรียงลำดับ เป็นเหตุเป็นผล ทำให้ลูกเข้าใจง่าย และรักษาอารมณ์ของตนเองให้ปกติได้ง่ายขึ้น เทคนิคนี้ จึงเป็นวิธีการสื่อสารที่ดี ที่จะนำมาแทนการปฏิเสธลูกว่า “ไม่ได้” ก่อน และตามด้วยการสั่งให้ลูกทำสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ เช่น “ไม่ได้ ยังไม่ซื้อ ของเล่นเยอะแล้ว ซื้ออะไรบ่อยๆ!” หรือ “ไม่ได้ ไปทำการบ้านก่อนแล้วค่อยไปเล่น!”


6. เทคนิคสิทธิ และหน้าที่

คือการสอนเรื่องสิทธิและหน้าที่ โดยการบอกว่า ลูกมีสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง เมื่อลูกสามารถรับผิดชอบหน้าที่ ที่มากับสิทธิ์นั้น

ตัวอย่างที่ 1 : เมื่อลูกอยากเล่นแท็บเล็ต ให้ตกลงกับลูกว่า...

ผู้ที่จะมีสิทธิ์เล่นแท็บเล็ตได้ จะต้องรับผิดชอบตัวเองให้เล่นได้ครั้งละไม่เกิน 10 นาที 2 ครั้งต่อวัน

(สิทธิ     +    หน้าที่รับผิดชอบ)

ตัวอย่างที่ 2: เมื่อลูกอยากเล่นของเล่น ให้ตกลงกับลูกว่า...

ผู้ที่จะมีสิทธิ์เล่นของเล่นนี้ได้ จะต้องรับผิดชอบโดยการเล่นเบา และเล่นแล้วเก็บ 

(สิทธิ     +     หน้าที่รับผิดชอบ)

 

เมื่อลูกไม่ยอมทำตามที่ตกลงกันไว้ คุณพ่อคุณแม่สามารถถอนสิทธิ์จากลูกได้  จนกว่าลูกจะพร้อมแสดงให้เห็นว่า เขาสามารถรับผิดชอบสิทธิ์ของเขาได้ เช่น เก็บแท็บเล็ตขึ้นเมื่อลูกเล่นเกิน  10 นาที แล้วบอกลูกว่า “หนูพร้อมแสดงให้คุณพ่อคุณแม่เห็นว่า หนูสามารถรับผิดชอบสิทธิ์ในการเล่นแท็บเล็ตของหนูได้เมื่อไหร่ ให้หนูมาขอแท็บเล็ตอีกที”

เทคนิคสิทธิ และหน้าที่นี้ จะช่วยสอนและฝึกฝนให้ลูกรับผิดชอบตัวเอง และทำตามกฎกติกาได้อย่างเป็นเหตุ เป็นผล เข้าใจง่าย เนื่องจากลูกสามารถเรียนรู้ผลที่ตามมา จากการตัดสินใจ และพฤติกรรมของเขาเอง ซึ่งจะต่างจากการลงโทษที่ไม่เป็นเหตุ เป็นผลกัน เช่น ตีลูก เมื่อเล่นแท็ปเล็ตนานๆ หรือยึดเอาไว้ โดยไม่อธิบายว่าเขาจะเล่นได้เมื่อไหร่

อ่านต่อ >> “เทคนิคแสนง่าย วิธีสร้างวินัยเชิงบวกโดยไม่ให้ลูกต่อต้าน!” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up