เด็กนอนคว่ำ

สังเวยอีก 1 ชีวิต เด็กนอนคว่ำ ลูกวัย 3 เดือนหยุดหายใจคาเตียง

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กนอนคว่ำ
เด็กนอนคว่ำ

การนอนหลับที่ปลอดภัยสำหรับทารก

เด็กทารกแรกเกิด ไม่เหมือนผู้ใหญ่ ที่เมื่อได้นอนเตียงนอนนุ่ม ๆ มีตุ๊กตาหรือหมอนเยอะ ๆ ได้นอนในห้องที่อากาศเย็น ๆ หรือมีพื้นที่ให้ดิ้นไปมาเยอะ ๆ แล้วจะหลับสบาย การนอนหลับที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกนั้น แตกต่างออกไปจากผู้ใหญ่และเด็กโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากสรีระทางร่างกายยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ดังนั้นทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงขอนำคำแนะนำจาก ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ มาฝากกันค่ะ

  • นอนหงายเท่านั้น เว้นแต่มีคำแนะนำจากแพทย์เป็นบางกรณี
  • ไม่ควรมีวัสดุนุ่มนิ่ม เช่น ผ้าห่มฟู ๆ หมอน หมอนข้าง วัสดุกันกระแทกรอบ ๆ เตียงที่อาจอุดจมูกหรือปากของลูกจนหายใจไม่ได้
  • เลือกใช้อุปกรณ์สำหรับทารกนอนหรือเตียงชนิดที่มีมาตรฐานความปลอดภัย ไม่นิ่มจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหลายชั้นหรือพันตัวทารกจนแน่นเกินไป ทำให้หายใจไม่สะดวก และความร้อนมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS
  • ไม่สูบบุหรี่ในที่มีทารกอยู่ เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูก
ลูกนอนคว่ำ
ทุกครั้งที่ลูกนอนหลับ ไม่ว่าจะมีคุณแม่หลับอยู่ข้าง ๆ หรือไม่ก็ตาม ควรให้ลูกนอนในท่านอนหงาย

เด็กนอนคว่ำ มีข้อดีอย่างไร อันตรายแค่ไหน?

การให้ เด็กนอนคว่ำ สามารถทำได้เมื่อลูกตื่นอยู่ และมีพ่อแม่คอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ เท่านั้น โดยการฝึกลูกนอนคว่ำนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อหลังส่วนบน เพราะเมื่อเราจับลูกนอนคว่ำขณะที่ลูกกำลังตื่นอยู่ ลูกจะพยายามชันคอขึ้นจากพื้น (ในกรณีที่ลูกไม่ยอมชันคอ แนะนำให้หาของเล่นที่มีเสียงหรือของที่ลูกสนใจมาวางไว้ในจุดที่ลูกมองเห็น แล้วค่อย ๆ ยกของเล่นชิ้นนั้นให้สูงขึ้น เพื่อให้ลูกมองตาม) การฝึกแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการการเกิดโรคไหลตายหรือ SIDS ได้ เพราะลูกจะสามารถหันคอหนีไปจากสิ่งที่ขัดขวางทางเดินหายใจได้ และเมื่อลูกมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงมากพอ จะทำให้ลูกพลิกคว่ำได้เร็ว นำไปสู่การนั่งเองได้ และ การคลานเป็นอันดับต่อไป นั่นเอง โดยการฝึกลูกนอนคว่ำนั้น สามารถฝึกได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือหลังจากสะดือหลุดแล้วก็ได้ค่ะ แนะนำให้ฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละประมาณ 5-10 นาที

ข้อควรระวังคือ : ห้ามจัดลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำเด็ดขาด เพราะแม้จะเป็นการทำเพียงครั้งแรก หรือ ครั้งเดียว ก็เคยมี SIDS เกิดขึ้นมาแล้ว ตำแหน่งที่วางลูกควรเป็นพื้นราบอยู่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง

สำหรับข้อดีอื่น ๆ สำหรับ เด็กนอนคว่ำ คือ ทำให้ศีรษะทุย ไม่แบนราบเหมือนท่านอนหงาย แต่เมื่อนำมาเทียบกับอันตรายจากการนอนหลับในท่าคว่ำแล้ว การที่ลูกศีรษะแบน แต่ไม่ตกอยู่ในอันตรายจากโรคไหลตาย น่าจะดีกว่าการนอนคว่ำนะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

แม่อยากรู้ ลูกนอนหนุนหมอน ได้เมื่อไร?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up