โรคงูสวัดในเด็ก

โรคงูสวัดในเด็ก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคงูสวัดในเด็ก
โรคงูสวัดในเด็ก

โรคงูสวัด เป็นโรคที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ รู้จักกันดี แต่ใครจะคิดล่ะคะว่าจะเกิดในเด็กเล็กและทารกได้ เรามาทำความรู้จักกับ โรคงูสวัดในเด็ก ที่มาที่ไปของโรคนี้พร้อมทั้งวิธีการป้องกัน กันดีกว่าค่ะ

เครดิตภาพจาก : haamor.com

โรคงูสวัดในเด็ก อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!

โรคงูสวัด คืออะไร?

งูสวัด (Shingles) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ วาริเซลลา ซอสเตอร์ ไวรัส (Varicella zoster virus หรือเรียกย่อว่า VZV/วีซีวี ไวรัส) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หากเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อโรคอีสุกอีใสหายแล้วจะยังคงมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หลงเหลือซุกซ่อนอยู่ในปมประสาทต่างๆ โดยเฉพาะของลำตัว รอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันต้านทานลดลง เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด หรือมีโรคเรื้อรังต่างๆ เป็นต้น เชื้อไวรัสจึงเจริญเติบโตจนทำให้ปมประสาทอักเสบและก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้

 

สาเหตุของ โรคงูสวัดในเด็ก

โรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัสผื่นหรือตุ่มพองของโรคงูสวัดหรือติดเชื้อโรคอีสุกอีใสจากผู้อื่น หากไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ผู้สัมผัสไม่เกิดเป็นงูสวัด แต่จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส สำหรับโรคงูสวัดในทารก สาเหตุมักจากมาจากคุณแม่ที่เป็นอีสุกอีใสตอนตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ทารกจะได้รับเชื้ออีสุกอีใสจากในท้อง โดยเชื้ออีสุกอีใสได้ไปหลบอยู่ในปมประสาทของทารก เมื่อร่างกายอ่อนแอลง อาการของโรคงูสวัดก็จะแสดงออกมาได้

 

สำหรับโรคอีสุกอีใสก็เป็นโรคติดต่อที่ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วมาก เกิดจากการสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยทั้งจากในอากาศ จากละอองการไอ จาม การหายใจ การสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง สัมผัสผื่นที่ผิวหนัง และ/หรือ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำของโรค รวมไปถึงการสัมผัสเสื้อผ้า สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆของผู้ป่วย

โรคอีสุกอีใสมีระยะฟักตัวประมาณ 10 – 21 วัน และผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อได้ในช่วงประมาณ 5 วันก่อนขึ้นผื่น ยาวไปจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งแตกเป็นสะเก็ดหมดแล้ว (การสัมผัสสะเก็ดแผลไม่ติดโรค) ดังนั้นระยะแพร่เชื้อในโรคอีสุกอีใสจึงนานได้ถึง 7 – 10 วันหรือนานกว่านี้ในผู้ใหญ่ จึงเป็นสาเหตุให้เป็นโรคติดต่อระบาดได้อย่างกว้างขวางถ้าไม่แยกผู้ป่วยให้ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อ โรคงูสวัดในเด็ก มีอาการอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up