ภาวะครรภ์เสี่ยง

ภาวะครรภ์เสี่ยง ที่ต้องสังเกตและระวัง!

Alternative Textaccount_circle
event
ภาวะครรภ์เสี่ยง
ภาวะครรภ์เสี่ยง

การป้องกันภาวะครรภ์เสี่ยง

การลดภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงให้เป็นครรภ์คุณภาพสามารถทำได้ หากว่าที่คุณแม่ทุกคนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างถูกวิธี และนี่คือคำแนะนำง่ายๆ ที่ผู้หญิงทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ผู้เขียนขออนุญาตส่งต่อความรู้ดีๆ นี้จาก ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ดังนี้ค่ะ…

  • เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ หากมีปัญหาสุขภาพให้ทำการรักษาหรือควบคุมโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ต่อไป เช่น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะต้องควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนตั้งครรภ์ หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรพยายามลดความอ้วนด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
  • หากวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรรับประทานกรดโฟลิกล่วงหน้า 2-3 เดือน เพื่อป้องกันความผิดปกติในทารก เช่น กระดูกสันหลังแหว่งหรือเปิดในเด็ก
  • ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งประวัติส่วนตัว ประวัติโรคที่เป็นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการดูแลรักษา และมาพบแพทย์เป็นระยะตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดผลต่อครรภ์ได้
  • วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
  • ควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยจนเกินไป
  • คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอ[2]

นอกจากนี้ยังมีข้อควรปฏิบัติให้กับกลุ่มคุณแม่ที่อยู่ในวัยเสี่ยง ในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ดังนี้…

  1. ต้องไปตรวจร่างกาย และความสมบูรณ์ของกรุ๊ปเลือด ว่ามีความเสี่ยงต่างๆ ด้วยหรือไม่ เช่น เลือดจาง, การติดเชื้อ HIV, มีไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
  2. ก่อนท้องควรเตรียมร่างกายให้แข็งมากที่สุด ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะทั้งการออกกำลังกายและการพักผ่อน จะช่วยให้เซลล์ภายในร่างกายแข็งแรงมากขึ้น
  3. ควรเตรียมร่างกายก่อนท้องด้วยการกินกรดโฟลิกล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 เดือน สามารถทานได้จากทที่เป็นวิตามิน หรือในพืชผักเขียว และผลไม้ต่างๆ
  4. เมื่อรู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ขึ้น ให้รีบไปฝากครรภ์ทันที เพื่อจะได้ลดภาวะแทรกซ้อนทารงสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ และรวมถึงในแม่ท้องบางคนอาจจะไม่ได้มีการดูแลร่างกายด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือวิตามินอย่างกรดโฟลิกมาก่อน ก็จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้องจากคุณหมอ และจะได้ทานวิตามินจำเป็นต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพครรภ์ตามที่คุณหมอจัดให้ทานด้วยค่ะ

สุขภาพครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของแม่ท้อง และทารกในครรภ์ แนะนำว่าควรดูแลร่างกายให้แข็งแรงพร้อมสมบูรณ์มาก่อนที่จะมีลูก ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ไม่เครียด พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และต้องไปตรวจสุขภาพรับฉีดวัคซีนต่างๆ ที่ควรได้รับก่อนท้อง ซึ่งสามารถปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้ก่อนมีลูกค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่สนใจคลิก

ยุติการตั้งครรภ์ ความจริงที่คุณแม่ยากจะเผชิญ
รับมือกับ 10 ความเสี่ยง ตั้งครรภ์แฝด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2ภาวะครรภ์เสี่ยง.ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.อาการเสี่ยงที่ต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์ ฬ.จุฬา

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up