พ่อแม่สูบบุหรี่ วิจัยชี้! เสี่ยงลูกมีสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมในทางลบได้ง่าย

event

พ่อสูบบุหรี่ ผลต่อลูก

ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังพบอีกว่า ควันบุหรี่ต้นเหตุทำลายสุขภาพจิตของเด็ก ๆ นั้น ส่วนใหญ่มาจากในบ้านของเด็กทั้งนั้น นั่นหมายถึง พ่อและแม่ของเด็กเอง ที่สูบบุหรี่โดยไม่ตระหนักถึงโทษร้ายที่ลูกจะได้รับ จึงทำให้เด็กได้รับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายและบุหรี่มือสองก็เป็นอันตรายกว่าผู้สูบเองเสียอีก

ดังนั้น ก็คงจะถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่ควรจะตระหนักถึงภัยร้ายที่แฝงอยู่ในควันบุหรี่ ที่ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดมะเร็งและโรคต่าง ๆ ได้ง่ายแล้ว ยังทำลายสุขภาพจิต จนทำให้ลูกน้อยมีพฤติกรรมที่เลวร้าย และคงถึงเวลาแล้ว ที่พ่อแม่ ไม่เพียงแค่เลี่ยงการสูบบุหรี่ต่อหน้าลูกเท่านั้น แต่ควร “เลิก” สูบบุหรี่ไปโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ก็เพื่อสุขภาพกายและจิตใจที่ดีของลูก และยังทำให้ตัวพ่อแม่เองมีสุขภาพดีอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : talk.ict.in.th/15317

อีกทั้ง รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ยังกล่าวขอเรียกร้องให้ผู้สูบบุหรี่ทุกคนไม่สูบบุหรี่ในทุกที่ที่มีเด็กและเยาวชนอยู่ด้วย เพื่อลดโอกาสการเสพติดบุหรี่ของเยาวชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันเยาวชนจากการติดยาเสพติด สุรา และอบายมุขอื่น เช่น การเที่ยวกลางคืน และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร นอกเหนือจากผลเสียต่อสุขภาพที่การสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จะทำให้สุขภาพไม่สมบูรณ์เท่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่ ทำให้ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ ออกกำลังกายได้น้อยกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจมากกว่า เช่น ไอ เหนื่อยง่าย

“รายงานขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า วัยรุ่นที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน มีโอกาสติดบุหรี่เพิ่มขึ้น 1.4 – 2.1 เท่า และวัยรุ่นที่ได้รับควันบุหรี่มือสองที่อื่นนอกบ้าน มีโอกาสติดบุหรี่เพิ่มขึ้น 1.3 เท่า ถึง 1.8 เท่าของวัยรุ่นที่ไม่ได้รับควันบุหรี่มือสอง หลักฐานยังพบว่า การสูบบุหรี่ของพ่อแม่เพิ่มความเสี่ยงที่ลูกจะติดบุหรี่ โดยเฉพาะหากพ่อแม่สูบบุหรี่ในบ้าน และการไม่สูบบุหรี่ในบ้านลดโอกาสที่ลูกจะเสพติดบุหรี่”

รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวว่า การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้น 2 แสนคน โดยหนึ่งแสนคนติดบุหรี่ก่อนอายุ 17 ปี และ 9 ใน 10 คน ที่ติดบุหรี่ใหม่ติดก่อนอายุ 24 ปี ซึ่งตามสถิติเด็กไทยที่ติดบุหรี่ 7 ใน 10 คน จะติดไปตลอดชีวิต และใน 3 คนที่เลิกสูบได้ โดยเฉลี่ยต้องใช้เวลา 22 ปี ทุกฝ่ายในสังคมจึงต้องร่วมมือกันในการลดนักสูบหน้าใหม่ โดยนอกจากพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ไม่สูบบุหรี่แล้ว หากยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ ก็ต้องไม่สูบในบ้าน และพยายามไม่สูบให้ลูกเห็น และบ้านที่สองของเด็กและเยาวชน คือ โรงเรียน และสถานศึกษาทุกระดับ บุคลากรโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับทุกคนโดยเฉพาะผู้บริหารและครูอาจารย์ก็ต้องเป็นแบบอย่างโดยปฏิบัติตามกฎหมายที่ห้ามสูบบุหรี่ในโรงเรียน รวมถึงมหาวิทยาลัย ส่วนในสังคมวงกว้าง ผู้สูบบุหรี่ทุกคนก็ต้องร่วมกันป้องกันเด็ก และเยาวชนจากการเสพติดบุหรี่ โดยไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะที่กฎหมายห้ามสูบ โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะที่มีเด็กและเยาวชนอยู่ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th

พ่อสูบบุหรี่ ผลต่อลูก

ดังนั้นแล้ว เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ เลิกบุหรี่ได้เพื่อลูกน้อย Amarin Baby & Kids จึงมีความรู้ดีๆ ในการเลิกบุหรี่จาก ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ มาฝาก เพื่อช่วยให้คนที่สูบบุหรี่อยู่เข้าใจสถานการณ์การติดของตัวเองอย่างง่ายๆ รวมถึงคนที่มีคนรัก หรือคนในครอบครัวซึ่งตกเป็นทาสของบุหรี่อยู่ ก็สามารถทำความเข้าใจและนำคำแนะนำนี้ไปปรับใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเลิกบุหรี่

โดยผู้ให้คำปรึกษาด้านการเลิกบุหรี่ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ เล่าว่า ผู้สูบบุหรี่แต่ละคนเลิกบุหรี่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน เป็นเหตุผลเฉพาะตน การรู้ว่าตนเองต้องการอะไรจากการเลิกบุหรี่จะช่วยให้เกิดความมุ่งมั่นในการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น

อ่านต่อ >> “7 วิธีเลิกบุหรี่ให้สำเร็จเพื่อคนที่คุณรัก” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up