ลูกฟันหลุดรักษาได้อย่าทิ้ง! (อาจต่อได้)

Alternative Textaccount_circle
event

ฟันแท้หลุด ใส่คืนได้

คุณหมอฟัน ช่วยรักษาได้ 

ข้อสำคัญคือ เมื่อลูกฟันหลุด ต้องมาพบทันตแพทย์ทันที หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกมาพบทันตแพทย์ พร้อมนำฟันที่หลุดของลูกมาด้วย คุณหมอฟันจะทำการตรวจฟันและถ่ายภาพรังสีเพื่อวินิจฉัยการบาดเจ็บของฟันและกระดูกรองรับรากฟันและทำการรักษา โดยทำความสะอาดฟันที่หลุดออกมาและใส่กลับคืนเบ้าฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะยึดฟันไว้ชั่วคราว ร่วมกับรักษารากฟันและติดตามผลการรักษาเป็นระยะต่อไป บางครั้งอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย ถ้าฟันสกปรกมากหรือมีบาดแผลที่สัมผัสกับสิ่งสกปรก ซึ่งผู้ปกครองควรทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์และมาติดตามดูอาการตามนัด เพื่อให้ฟันซี่ที่หลุดสามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิมค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานความสำเร็จของการปลูกฟันกลับสู่เบ้าฟันของฟันที่โยกอยู่ก่อนที่จะได้รับอุบัติเหตุ หรือฟันที่หลุดออกจากเบ้าฟันด้วยสาเหตุจากปริทันต์อักเสบ เนื่องจากอวัยวะปริทันต์ที่จำเป็นต่อการยึดฟันเกิดความเสียหายไปมากแล้ว ดังนั้น ทันตแพทย์อาจพิจารณาไม่ปลูกฟันกลับคืนสู่เบ้าฟันในกรณีนี้

Good to know อวัยวะปริทันต์ คือ กลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดและพยุงฟัน ทำให้ฟันสามารถ8’อยู่ในกระดูกขากรรไกรได้ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชนิด คือ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน

โรคปริทันต์ (periodontal disease) คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะปริทันต์ ลักษณะอาการที่พบ คือ เหงือกอักเสบ บวม มีเลือดออก ร่องเหงือกลึกกว่าปกติมาก ในคนที่มีอาการอักเสบรุนแรงจะมีการละลายของกระดูกหุ้มรากฟัน ซึ่งมีผลให้ฟันโยกและต้องถูกถอนฟันไปในที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณรอยต่อระหว่างขอบเหงือกและฟันหรือที่เรียกว่าคอฟันซึ่งจะกลายเป็นหินน้ำลายหรือหินปูนในเวลาต่อมา
แต่อย่างไรก็ดี แนะนำคนไข้เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือน หรือทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกว่ามีปัญหานะคะ

เพราะอุบัติเหตุ คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ หรือหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว หากรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จะทำให้อุบัติเหตุนั้นคลี่คลายด้วยดีที่สุดได้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


เอกสารอ้างอิง

  1. http://www.aapd.org/media/Policies_Guidelines/E_Avulsion.pdf
  2. https://www.iadt-dentaltrauma.org/1-9%20%20iadt%20guidelines%20combined%20-%20lr%20-%2011-5-2013.pdf
  3. http://dentaltraumaguide.org/Permanent_Avulsion_Treatment.aspx
  4. http://www.iadt-dentaltrauma.org/for-patients.html
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3198546/

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up