โรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ โรคร้ายที่ใกล้ตัวลูก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิ
เครดิต: Pantip สมาชิกเลขที่ 2897295

 

Day 8: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้
Day 9: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้ และให้ลูกผมไปทำ Echo หัวใจในช่วงบ่ายของวันที่ 9 ผลการทำ Echo หมอสรุปว่าลูกผมไม่เป็นโรคคาวาซากิ มันยิ่งตอกย้ำให้ผมดีใจและมั่นใจในข้อสรุปของหมอ
Day 10: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้จึงให้ลูกผมกลับบ้านได้ โดยใม่ได้นัดมาติดตามผล
Day11-13: ลูกผมกลับมามากินข้าวได้ นอนหลับ เล่นซนเหมือนปกติ โดยใน Day 13 ลูกผมเริ่มมีปลายนิ้วลอก (ซึ่งอาการนี้เป็นอีกอาการของโรคคาวาซากิ) เช้าวันรุ่งนี้ผมพยายามโทรเข้าไปที่รพ.เพื่อคุยกับหมอ จนโทรติด หมอให้ผมพาลูกไปหาในวันรุ่งขึ้น
Day 15: หมอเห็นปลายอาการลอกของนิ้วมือแล้วก็ฟันธงว่าเป็นโรคคาวาซากิ สิ่งที่ผมดีใจไปตลอดช่วงเกือบสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เป็นเช่นนั้น หมอให้ลูกผมไปทำ Echo หัวใจอีกครั้ง พบว่าลูกผมเริ่มมีเส้นเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองแล้ว

ทำความรู้จักกับโรคคาวาซากิ 

โรคนี้เริ่มมีรายงานครั้งแรกตั้งแต่ปี 2504 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Tomisaku Kawasaki ตรวจพบในเด็กชายชาวญี่ปุ่นอายุ 4 ปี ที่ป่วยเป็นไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยตรวจพบมาก่อน หลังจากนั้นจึงตรวจพบผู้ป่วยอาการแบบเดียวกันมาเรื่อย ๆ และมีอุบัติการณ์ของโรคนี้กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย แต่มักจะพบในเด็กชาวตะวันออกมากกว่าตะวันตกและส่วนใหญ่จะอายุน้อยกว่า 5 ปี

จากรายงานล่าสุดในประเทศไทย ช่วงปี 2541 – 2545 พบอุบัติการณ์ 5 รายในประชากร 100,000 คน แต่ในระยะหลัง ๆ นี้พบว่ามีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และภาวะการต้านยาก็พบมากขึ้นตามลำดับ โรคนี้หากให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นคือในระยะ 5-7 วันแรกของโรค จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อนลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หลอดเลือดหัวใจ

กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี
  • พบมากในเด็กผู้ชาย
  • พบบ่อยในเด็กชาวเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวญี่ป่นและเกาหลี ที่พบบ่อยกว่าเด็กชาติอื่น
  • เด็กที่พ่อแม่เคยมีประวัติของการเป็นโรคนี้ จะสามารถมีโอกาสเป็นได้มากถึงสองเท่าของเด็กปกติ

อาการของโรคเป็นอย่างไร คลิก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up