โรคหัวบาตร

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกน้อยผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหัวบาตร
โรคหัวบาตร

โรคหัวบาตร หัวโต เป็นโรคที่คุณแม่ๆคงได้ยิน และเคยเห็นกันมาบ้างตามข่าวต่างๆใช่ไหมคะ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีคุณแม่คนไหน อยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับลูกน้อยของตัวเองแน่นอน โรคหัวบาตร หัวโต คืออะไร? เป็นแล้วรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง? มาดูกันค่ะ

 

โรคหัวบาตร หัวโต

แต่เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บนั้น บางครั้งแม้คุณแม่จะระวังแล้ว แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังเช่น คุณแม่เจ้าของเฟสบุ๊ค Nat Nattvadar ที่แชร์ประสบการณ์พาลูกน้อยเข้ารับการผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต บอกเลยว่าคนเป็นแม่เห็นแล้วเจ็บกว่าเป็น 2 เท่าค่ะ ซึ่งคุณแม่ได้เล่าให้ฟังว่า

“มาเล่าประสบการณ์ผ่าตัดโรคน้ำในหัวเยอะ หรือ โรคหัวโต โรคหัวบาตร กันค่ะ…เริ่มตั้งแต่ตอนแม่ตั้งครรภ์เลยนะคะ กินนมวันล่ะ 1 กล่อง กินยาที่หมอให้มาครบ ทั้งยาบำรุงและก็โฟเลต แต่เราเป็นคนเบื่ออาหารค่ะ เเละชอบทานส้มตำ ทานแทบทุกวัน แต่ข้าวก็ทานมีผักมีเนื้อ จนคลอดน้องค่ะ คลอดยากมาก คลอดออกมาน้องก็ปกติดีค่ะ ไม่ได้สังเกตอาการผิดปกติอะไร น้องหัวทุยมาตั้งแต่เกิด โหนกหน้าโหนกหลัง คนเฒ่าคนแก่เค้าบอกว่าหัวสวย เราก็เชื่อค่ะ จนฉีดวัคซีนทุกเดือน วัดรอบหัวทุกครั้ง ฉีดวัคซีนที่อนามัย ไม่มีใครสังเกตความผิดปกติที่หัวเลยค่ะ แต่น้องก็มีพัฒนาการช้า คอแข็งตอน 3 – 4 เดือน คลานตอน 7 – 8เดือน นั่งได้ตอน 9 เดือน เราคิดว่าคงเพราะพัฒนาการช้าเฉยๆ”

“จนเริ่มมีคนทักว่า ทำไมหัวโต เราเริ่มพาน้องมาโรงพยาบาลค่ะ หมอทำการวัดรอบหัวแล้วบอกน้องหัวโตเกินเกณฑ์ หมอส่งตัวไปตรวจอัลตราซาวด์หัว แต่พบน้ำในหัว หมอเลยส่งไปทำซีทีแสกน อีกทีเพื่อความแน่ใจ จนรอผล ผลออกมาว่าน้องเป็นโรคโพรงน้ำในสมองใหญ่ หากไม่ทำการผ่าตัด หมอก็บอกไม่ได้ว่าน้ำนั้นจะไปกดทับสมองส่วนไหน อาจจะเดินไม่ได้ หรืออาจจะช้ากว่าเด็กคนอื่น เราเลยถามหมอว่าโรคนี้เกิดจากอะไรค่ะหมอ กรรมพันธุ์หรอค่ะ เพราะพ่อเค้าก็โตค่ะ หมอบอกเกิดขึ้นเพราะน้องขาดสารโฟเลตในผัก และผลไม้ ซึ่งต้องเป็นผักผลไม้สดๆ ไม่ผ่านการลวกใดๆ เราเริ่มใจไม่ดี เลยยังไม่ตัดสินใจผ่าตัดจนน้อง 1 ขวบ 3 เดือน น้องยังไม่เดินค่ะ ยังไม่ตั้งไข่ แต่เล่นทำกิจกรรมปกติกทุกอย่าง เราเริ่มตัดสินใจที่จะผ่า หมอนัดผ่า 3 อาทิตย์ถัดมา ถือว่าเร็วมากค่ะ”

โรคหัวบาตร
เครดิตภาพ fb : Nat Nattvadar

“ภาพนี้…ตอนน้องมานอนโรงพยาบาลเพื่อรอผ่าค่ะ  หมอสั่งน้อง งดอาหารหลังเที่ยงคืน วันอาทิตย์ วันนั้นเราไม่ได้นอนเลยค่ะ เพราะน้องหิวนมร้องทั้งคืน เราก็ได้แต่สงสารค่ะ พอตอนเช้าวันจันทร์ รถห้องผ่าก็มารับ แล้วนำตัวไปส่งที่ห้องผ่าตัด เราเข้าไปเปลี่ยนเสื้อใส่หมวกรอเข้าห้องผ่าประมาณ 15 นาที ก็มีหมอมาเข็นเข้าไปในห้องผ่าค่ะ เราก็เข้าไปส่งลูก จนหมอวางยาสลบ แล้วบอกให้เรารอข้างนอก หมอบอกว่า คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ หมอจะดูแลเป็นอย่างดี หมอใหญ่ผ่า ตอนนั้นเรานั่งรอข้างนอกกับแฟน ได้แต่นั่งร้องไห้เป็นห่วงลูก กลัวทุกสิ่งทุกอย่าง เรารอไม่ไปไหนจน 2 ชั่วโมงผ่านไป เรายืน เดินไปเดินมาแถวหน้าห้องปลอดเชื้อ เราเริ่มได้ยินเสียงร้องของลูกเราเริ่มดีใจ ได้แต่มองผ่านกระจกไป ทำไมไม่ออกมาสักที

พอสัก 10 นาทีผ่านไป หมอเริ่มเข็นน้องออกจากห้องผ่าตัดแล้วเรียกเรา เราเห็นลูก เราดีใจที่น้องปลอดภัย ตอนเห็นแผลผ่า เราก็น้ำตาไหล ลูกเราคงเจ็บมากๆ เเต่เค้าไม่ร้องเลย พอมาถึงเตียง เค้าก็นอนนิ่งๆ นอนเฉยๆ ไม่ยิ้มเอาแต่นอนหลับ เราเลยเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อ เราเปิดเสื้อเค้า เห็นแผลที่ท้องอีก คนเป็นแม่เจ็บกว่า 2 เท่า แฟนเรานั่งกุมมือลูกร้องไห้ เราก็บอกเดี่ยวก็หาย (มีแผลที่ท้องกับที่หัว เพราะ น้องผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำที่หัวต่อลงมาผ่านคอลงท้อง เพื่อให้น้ำระบายลงทางฉี่ หมอไม่ได้บอกเราสังเกตจากสายที่เราลองจับลงมาถึงช่องท้อง)

นาทีนั้นได้แต่สงสารค่ะ น้องนอนไปได้ 4 ชั่วโมง ตื่นมาก็กินได้ ยิ้มได้ แต่ยังซึมๆอยู่ แผลก็เริ่มดีขึ้น แต่ยังบวมอยู่นิดหน่อย น้องต้องให้ยาฆ่าเชื้อทุก 3 ชั่วโมง หากน้องมีไข้ นั้นคือติดเชื้อ หมอที่นี่เก่งมากค่ะ เราก็ไม่รู้เค้าต่อลงไปยังไง แผลเล็ก แล้วก็ฟื้นตัวเร็ว หัวน้องเริ่มยุบ จนเห็นได้ชัด น้ำถูกระบายลงทางฉี่ ต้องคอยเปลี่ยนเเพมเพิสบ่อยๆ ตอนนี้น้องยังคงเจ็บแผลอยู่ น้องฟื้นตัวเร็ว เราก็โล่งใจ คนเป็นแม่ไม่มีทางเลือก ไม่อยากให้ลูกเจ็บ แต่เราก็ต้องรักษา เลือกทางที่ดีที่สุดให้ลูก ตอนนี้เราก็ตั้งท้องคนที่ 2 ได้ 3 เดือน แต่เราก็ต้องสู้ ต้องดูแลให้ดีทั้งนอกท้องและในท้อง”

 

โรคหัวบาตร

หลังจากน้องผ่าตัด ทางทีมงานก็ได้มีการสอบถามไปยังคุณแม่ของน้อง ซึ่งคุณแม่ก็เผยว่า หลังผ่าตัดยังต้องมีการติดตามอาการกับคุณหมออย่างต่อเนื่อง และได้มีการเจาะไขสันหลัง และเจาะเลือดไปตรวจว่าจะมีภาวะติดเชื้อตามมาหรือไม่? ซึ่ง ณ ตอนนี้ คุณแม่บอกว่าโดยรวม น้องอาการดีขึ้น ปลอดภัยแล้วค่ะ

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก fb : Nat Nattvadar

 

โรคหัวบาตร หัวโต คืออะไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up