เริมที่ปาก

เริมที่ปาก อันตรายแฝงใกล้ตัวจากการลองเทสเตอร์ลิปสติก

Alternative Textaccount_circle
event
เริมที่ปาก
เริมที่ปาก

เริมที่ปาก รักษาอย่างไรให้หาย?

ขอย้ำกันอีกครั้งว่าโรคเริมที่ปากนี่ติดต่อได้ด้วยการไปสัมผัสถูกเข้ากับน้ำลาย และน้ำเหลืองของคนที่เป็นเริม ถามว่าไปสัมผัสได้ยังไงล่ะ?  อย่างแรกคือจากการที่เราไปใช้ของร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสเริม มีแผลอยู่ไงค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการทาลิปสติกแท่งเดียวกัน ดูดน้ำจากหลอดเดียวกัน หรือเผลอไปใช้แปรงสีฟันด้ามเดียวกัน อันนี้ก็เสี่ยงมากเหมือนกันค่ะ และที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อไวรัสเริมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ในคู่รัก สามีภรรยา ที่ “จูบกัน”  ซึ่งต้องสัมผัสกับน้ำลายแบบเต็มๆ เลยละค่ะ

โรคเริมที่ปากสามารถเป็นได้กับทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ใครที่เพิ่งเคยเป็นเริมที่ปากครั้งแรกอาจจะรู้สึกว่าเจ็บๆ ปวดๆ บริเวณริมฝีปากจะเกิดเป็นตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นมาแล้วก็จะแตกจนเป็นแผล ลักษณะแผละออกสีเหลืองๆ ซึ่งอาการจะหายไปได้หลังจากเป็นแล้วประมาณ 7-14 วัน ขอบอกว่าบางคนจะมีกลิ่นปากด้วยนะคะ ยังไงขอให้ดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากให้มากเป็นพิเศษด้วย แปรงฟันแล้วอาจเพิ่มการบ้วนน้ำยาล้างปาก  ระหว่างวันดื่มน้ำสะอาดให้มากหน่อยก็จะช่วยเรื่องกลิ่นปากได้ค่ะ

ส่วนการรักษาโรคเริมที่ขึ้นบริเวณปาก แนะนำให้แบบนี้ค่ะ  ใครที่ไม่เคยมีประวัติเป็นเริมมาก่อน และเพื่อไม่ให้ตัวเองป่วยเป็นโรคเริม ขอให้ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เครียด และต้องนอนหลับพักผ่อนให้พอ ที่สำคัญต้องไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะของที่มาสัมผัสกับปากโดยตรงค่ะ

แล้วถามว่าคนที่เคยเป็นเริมที่ปากมาแล้วล่ะควรดูแลรักษาอย่างไร เพื่อไม่ให้โรคกลับมาอีก  คุณหมอเคยบอกว่าคนที่มีประวัติเป็นเริมมาก่อน สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง หากภูมิต้านในร่างกายไม่แข็งแรง หรือไปสัมผัสรับเชื้อไวรัสเริมเข้ามาในร่างกายคุณก็จะพบว่าโรคเริมกลับมาเยี่ยมเยียนร่างกายคุณอีกครั้งค่ะ

การรักษาโรคเริมที่ดีที่สุด ขออนุญาตนำคำแนะนำในส่วนนี้มาจาก  เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ที่ได้ให้ข้อมูลการรักษาที่เป็นประโยชน์ไว้ดังนี้ คือ…

  1. ทำร่างกายให้แข็งแรง ไม่เครียด ไม่สัมผัสจุดที่เป็นบ่อย หลีกเลี่ยงแสงแดด/ความเย็น/แอลกอฮอล์ (และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในผู้หญิงและเป็นปัจจัยกระตุ้นการเป็นซ้ำ คือประจำเดือน)
  2. ใช้ยาทำลายเชื้อไวรัส ชนิดกินและ หรือทารักษาเริม ไปหาหมอตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้ว
  3. ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย( ยาปฏิชีวนะ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำที่แผลเพิ่มเติมด้วย ในขณะเดียวกันในกรณีที่เคยใช้ยาฆ่าแบคทีเรียแล้วได้ผลดี เมื่อเป็นซ้ำแล้วหมอคนใหม่ไม่จ่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยอาจปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมด้วยได้ ว่าลักษณะที่เป็นครั้งนี้ควรใช้ยาปฏิชีวะร่วมด้วยหรือไม่[3]

โรคเริมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก หรือตรงอวัยวะเพศ เราทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการไม่ทำอะไรสุ่มเสี่ยงต่อการก่อโรคเริมขึ้นภายในร่างกายของเรานั่นเอง เพียงเท่านี้ก็สุขภาพดีปราศจากโรคเริมได้แล้วค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

เป็นเริม ตอนใกล้คลอด ลูกเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง
โรคเริมในเด็กอันตราย ลูกเสี่ยงเสียชีวิต เพราะจูบ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1www.akerufeed.com
2www.doctor.or.th
3เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล.โรคเริมที่ริมฝีปากรักษาอย่างไร.oknation.nationtv.tv

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up