แพ้ไข่

แม่แชร์! ลูก “แพ้ไข่” ขั้นรุนแรงเฉียบพลัน ไม่ระวังอาจเสียชีวิตได้

Alternative Textaccount_circle
event
แพ้ไข่
แพ้ไข่

สาเหตุและกลไกของการ แพ้ไข่

สาเหตุของการแพ้อาหาร รวมไปถึงการ แพ้ไข่ นั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม และรวมไปถึงพฤติกรรมการทานอาหารต่าง ๆ โดยการแพ้ไข่ในทารกหรือเด็กเล็กนั้น อาจเกิดได้จากการที่คุณแม่ทานไข่เข้าไปเป็นจำนวนมากขณะตั้งครรภ์ จนทำให้ร่างกายเกิดความเข้าใจผิดว่า ไข่ ที่ทานเข้าไปนั้นเป็นสิ่งที่อันตราย ร่างกายจึงสั่งให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองโดยการปล่อยแอนติบอดี้ที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน อี (Immunoglobulin E: IgE) เพื่อกำจัดอาหารหรือสารอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และครั้งต่อไปที่รับประทานอาหารดังกล่าว แอนติบอดี้ชนิดนี้ก็จะสามารถรับรู้ได้และส่งสัญญาณไปยังระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปล่อยสารฮิสตามีนและสารเคมีอื่น ๆ สู่กระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้นั่นเอง

ไข่
ไข่ อาหารที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู

วิธีป้องกันไม่ให้อาการ “แพ้ไข่” กำเริบ

วิธีป้องกันอาการแพ้ไข่ที่ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงไม่ทานไข่ อาหารที่ทำจากไข่ โดยเฉพาะหากมีอาการแพ้ไข่ขั้นรุนแรงเฉียบพลันด้วยนั้น ควรเลี่ยงการสัมผัส สูดดม ไข่และอาหารที่ทำจากไข่ทุกชนิด เพื่อไม่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้เพิ่มอีก และนอกจากการป้องกันแล้ว ควรทำควบคู่ไปกับการรักษาหรือทานยาเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง โดยการทานยาต่าง ๆ นั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และวิธีการป้องกันมี ดังต่อไปนี้

  • ในการรับประทานอาหารนอกบ้านทุกครั้ง ควรแจ้งผู้ประกอบอาหารว่าแพ้ไข่ เพราะอาการแพ้ไข่ ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ การแจ้งผู้ประกอบอาหารก่อนทุกครั้งจะช่วยเพิ่มความระมัดระวังในการปรุงอาหารมากขึ้น
  • ตรวจสอบอาหารและเครื่องดื่มก่อนบริโภคทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีส่วนประกอบจากไข่ และควรอ่านฉลากให้ละเอียดทุกครั้งก่อนทาน
  • ในกรณีที่ลูกอยู่ในวัยที่สามารถเลือกทานอาหารเองได้แล้ว ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากรับประทานไข่เข้าไป และควรบอกวิธีการปฏิบัติตน หากเกิดอาการแพ้
  • ควรแจ้งให้คนรอบข้างของเด็ก เช่น คุณครู พี่เลี้ยง ญาติที่ช่วยเลี้ยงดู ทราบว่าลูกมีปัญหาแพ้อาหาร และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณและอาการแพ้อาหารที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมหากต้องรับมือกับอาการแพ้อาหารได้อย่างทันท่วงที
  • ให้ลูกพกสิ่งแจ้งเตือนที่มีรายละเอียดของอาการและวิธีการรับมือกับอาการเบื้องต้น เช่น ที่ผูกข้อมือหรือที่ห้อยคอ หรือแม้แต่ปักชนิดอาหารที่แพ้ลงบนเสื้อ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีที่เกิดอาการ

อาการแพ้ไข่ หรือแม้แต่อาการแพ้อาหารชนิดอื่น ๆ ควรปฏิบัติตนได้อย่างระมัดระวัง และมีสติ หากเกิดอาการภูมิแพ้กำเริบ ก็อาจช่วยให้ลูกหายป่วยจากอาการแพ้ได้เร็วขึ้น อย่างเช่น คุณแม่ท่านนี้ ที่คอยระมัดระวัง ไม่ทาน ไม่ให้ลูกทานอาหารที่อาจจะก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ และ หมั่นพาลูกไปตรวจหาค่าภูมิแพ้อยู่เป็นประจำ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ สงสัยว่าลูกอาจจะแพ้อาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง ก็ควรที่จะไปพบแพทย์ เพื่อปรึกษาการรักษาในระยะยาวต่อไป

อ่านบทความที่น่าสนใจที่นี่

ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่กิน อาหารกลุ่มเสี่ยง มากเกินไป

วิจัยเผย! ให้ลูกกินปลา-พาลูกเที่ยวฟาร์ม ป้องกันโรคภูมิแพ้ ได้

ลูกไอตอนกลางคืน ไอหนัก ไอถี่ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณแม่ Aum Suttisinee Bunsaringkharnnan, honestdocs, pobpad

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up