วิธีดูแล ผื่นผ้าอ้อม

วิธีดูแลลูกน้อย ให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อม

event
วิธีดูแล ผื่นผ้าอ้อม
วิธีดูแล ผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม

8. พยายามหยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้แม้จะอยู่ในห้องแอร์ และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยๆ (อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ) เพื่อช่วยให้ผิวหนังของลูกได้สัมผัสอากาศมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผิวลูกจะได้แห้ง ไม่เปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม จะต้องลดเวลาการใส่ผ้าอ้อมลงไปอีกเรื่อยๆและดูแลผิวลูกให้ถูกต้องและดีขึ้นอีกจนกระทั่งลูกไม่มีปัญหาผื่นผ้าอ้อมอีก

9. การให้ทารกกินนมแม่ให้นานที่สุดอาจช่วยได้ เพราะว่านมแม่จะช่วยลดค่า ph ในอุจจาระได้ ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้ว การให้น้อง กินนมแม่ยังช่วยกระตุ้นให้เขามีภูมิคุ้มกันต้านทานการติดเชื้อ ทำให้ทารกมีโอกาสใช้ยาปฏิชีวนะ น้อยลง ซึ่งยาปฏิชีวนะนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้องเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ด้วยค่ะ

10. ควรใช้ผ้าอ้อมชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่มีเจลหรือผ้าใย ที่ช่วยดูดซึมความเปียกชื้นจากผิวหนัง จะช่วยให้ผิวหนังแห้งและมีโอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อม เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่าง

11. หลังทำความสะอาดผิวหนังบริเวณผ้าอ้อมของลูก ควรเช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีมหรือ Ointment ที่มีZinc Oxide หรือ Petrolatum (วาสลีน) หรือ dimethiconeเพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง

12.ไม่ควรทาแป้ง บริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูกเพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆแฉะๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น

13.ควรพาลูกไปพบแพทย์ หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือเมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนอง หรือ เป็นผื่นเนื่องจากเชื้อรา

นอกจากการดูแลผิวของลูกน้อยโดยตรงแล้ว พฤติกรรมและสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่ก็ยังมีผลกระทบต่อการเป็นผื่นผ้าอ้อมของลูกน้อยในทางอ้อมได้อีกด้วย เช่น หากคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรับประทานยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งเพราะสุขภาพไม่ค่อยดีในระหว่างช่วงให้น้ำนมลูก ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการท้องเสียได้ง่ายและต้องขับถ่ายบ่อยเป็นพิเศษ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคผื่นผ้าอ้อมของลูกน้อยได้โดยทางอ้อม ดังนั้นการดูแลผิวอันบอบบางของลูกน้อยจะต้องอาศัยความเอาใจใส่ที่รอบด้าน ทั้งด้านสุขอนามัยของร่างกายลูกน้อยเอง และด้านสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่รอบตัว

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up