วัคซีนโควิด-19

สาวไทยรีวิวฉีด วัคซีนโควิด-19 ฟรีที่แคนาดา ผลข้างเคียงเป็นยังไง

account_circle
event
วัคซีนโควิด-19
วัคซีนโควิด-19

รีวิวการฉีด วัคซีนโควิด-19 จากคนไทยในแคนาดา ส่วนตัวไม่มีผลข้างเคียง ฝากเตือนคนมีโรคประจำตัวไม่ควรรีบฉีด หลังพบหัวใจเต้นเร็วถึงขึ้น CPR

จากกรณีที่ผู้ใช้เฟสบุ๊คในชื่อ Tiya Nattiya นักเรียนไทยในประเทศแคนาดาได้เผยแพร่ภาพพร้อมโพสต์การเข้ารับ วัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาโดยมีใจความว่า

ฉีด วัคซีนโควิด-19 ที่แคนาดา แค่ปวดเมื่อย แต่ต้องฉีดซ้ำ

รีวิวการฉีดวัคซีนโควิด Pfizer-BioNTech  (กลุ่มนี้มีความก้าวหน้าและขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว)หลังฉีดรู้สึกเมื่อยนิดหน่อย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะวัคซีนที่ทำให้ง่วงนอน หรือเป็นเพราะรู้สึกง่วงนอนเป็นประจำอยู่แล้ว หลังจากกินข้าวก็นอนงีบ ตื่นขึ้นมาก็รู้สึกปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยตรงแขนข้างที่ฉีด ซึ่งมันเป็นปกติเวลาฉีดยาอยู่แล้ว นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไรอีก

ผลข้างเคียงอย่างอื่นก็มีเช่น ปวดหัว เป็นไข้ เหนื่อยล้า หนาว แต่ไม่นานก็จะหายไปเอง หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์ ก็ต้องไปฉีดเข็มที่ 2 อีก ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนครั้งนี้คือ 7 ดอลลาร์ถ้วน เป็นค่านั่งรถบัสไป-กลับ ส่วนวัคซีนเค้าฉีดให้ฟรีจ้า

พร้อมฝากคำแนะนำเพิ่มเติมมาว่า “สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวและเป็นภูมิแพ้ควรรอก่อนเพราะว่าที่นี่มีเคสคนที่มีภูมิแพ้ฉีดวัคซีน แล้วเกิดการตอบสนองที่ไม่ดี ทำให้หัวใจเต็นเร็ว ต้องทำ cpr และนำส่งโรงพยาบาลค่ะ

วัคซีนโควิด-19

วัคซีนโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกถึง 84.5 ล้านคน เสียชีวิต1.87 ล้านคน (อัพเดทวันที่ 3 มกราคม 2564) ทำให้หลายประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลกเริ่มฉีด วัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ เซอร์เบีย ไอซ์แลนด์ เม็กซิโก อาร์เจนติน่า จีน อินเดีย และสิงคโปร์แล้ว ซึ่งเป็นวัคซีนจากแหล่งที่มาแตกต่างกัน แล้ววัคซีนชนิดไหนแตกต่างกันอย่างไร คืบหน้าขนาดไหน

ทางศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ ได้เขียนอธิบายไว้หลายโพสต์ในเพจส่วนตัว จึงขอสรุปรวมตามรายละเอียดดังนี้ “ขณะนี้ทั่วโลก วัคซีนโควิด-19 ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ฉีดในภาวะฉุกเฉินมีแล้วถึง 6 ชนิด ได้แก่ วัคซีนของจีน 3 ชนิด,วัคซีนของรัสเซีย 1 ชนิด วัคซีนของอเมริกา 1 ชนิด และวัคซีนร่วมพัฒนาระหว่างอเมริกาและเยอรมันอีก 1 ชนิด และมีมากกว่า 30 ประเทศได้ขึ้นทะเบียนหรือทะเบียนในภาวะฉุกเฉินไว้แล้ว ซึ่งประเมินได้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนจำนวนมากในเดือนมกราคมนี้”

วัคซีนโควิด -19 ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. mRNA วัคซีน เป็นกลุ่มวัคซีนที่มีการศึกษากันมาก มีความก้าวหน้าสูง โดยทำการศึกษาในมนุษย์ถึงระยะที่ 2-3แล้วถึง 3 ชนิด และผ่านการขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด คือ Pfizer BioNTech และ Moderna สามารถป้องกันโรคได้ถึงร้อยละ 95 วัคซีนทั้ง 3 ชนิดนี้มีการขึ้นทะเบียนรับรองในประเทศต่างๆแล้วถึง 28 ประเทศทั่วโลก
  2. วัคซีนใช้ไวรัสเป็นตัวนำ กำลังศึกษาในมนุษย์ระยะสุดท้ายในมนุษย์อยู่ 4 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ Ad 5-nCov ของ CanSino ประเทศจีน, Sputnik V ของรัสเซีย และ AstraZeneca ประเทศอังกฤษประสิทธิภาพรวม 70%
  3. วัคซีนเชื้อตาย มีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้าย 5 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm ประเทศจีน, วัคซีน Sinovac ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีน, ส่วนของ Sinopharm ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะปกติในจีนสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน

สำหรับประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ วัคซีนโควิด-19 จากต่างประเทศ ตามรายงานข่าวจากเว็บไซต์  thaipost.net ระบุว่ากระทรวงสาธารณสุขได้มีความพยายามจัดหาวัคซีนโควิด 19 จากทุกแหล่งให้ได้มากที่สุด และล่าสุดได้เจรจาขอซื้อวัคซีนจำนวน 2 ล้านโดส จากผู้ผลิต ในราคา 17 ดอลลาร์ต่อโดส เตรียมเสนอของบกลาง 1,170 ล้านบาทในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งเจรจากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าขอซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 26 ล้านโดส รวมเป็น 52 ล้านโดส ในเบื้องต้นจะได้รับวัคซีนโควิด 19 ล็อตพิเศษ 2 ล้านโดสช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564 เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ อสม. ซึ่งเป็นด่านหน้าต่อสู้กับโควิด 19  ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เร่งดำเนินการด้านระเบียบและกฎหมายรองรับต่อไป

วัคซีนโควิด-19

ใครควรได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อน?

การนำเข้าวัคซีนโควิด-19จากต่างประเทศจะไม่ได้มาพร้อมกันทั้งหมดแต่จะแบ่งเป็นล็อตๆซึ่งในระยะแรกจะยังไม่เพียงพอฉีดให้กับคนจำนวนมาก และไม่สามารถฉีดให้กับทุกคนพร้อมๆ กัน จึงจำเป็นต้องจัดสรรตามความเสี่ยงก่อน โดยอาจารย์ยงอธิบายเพิ่มเติมว่า ความเสี่ยงที่ว่านี้หมายความว่าเมื่อติดโรคแล้วจะมีอาการรุนแรง หรือมีโอกาสติดโรคสูง สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มผู้สูงอายุ โดยทั่วไปจะถือเอาอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  2. กลุ่มบุคลากรที่ทำงานดูแลรักษาผู้ป่วย สอบสวน และทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานที่ ที่มีผู้ป่วยผู้ติดเชื้อ
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ

จนเมื่อวัคซีนมีจำนวนมากขึ้นจึงเพิ่มการฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ต่อไป สำหรับคนอายุน้อยกว่า 40 ปี และเด็กที่มีร่างกายแข็งแรง หากติดเชื้อจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลย จึงยังไม่มีการให้วัคซีนกันในขณะนี้ หรือจนกว่าจะมีผลทดสอบการให้ วัคซีนโควิด-19 ในเด็กหรือมีข้อมูลมากพอ

ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังคิดว่าจะให้ลูกฉีดวัคซีนอาจไม่ต้องกังวลใจ เพราะเชื้อโควิด-19ไม่ได้เป็นอันตรายกับเด็กเท่าผู้ใหญ่ ขอเพียงดูแลสุขอนามัยให้ดีและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ภาครัฐแนะนำกันก็มั่นใจได้ว่าทุกคนในครอบครัวจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ในที่สุดค่ะ

แหล่งข้อมูล:  www.facebook.com/yong.poovorawan  www.bangkokbiznews.com

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

แม่เตรียมตัวให้พร้อม! ประกาศเลื่อนเวลา ปิดห้าง เริ่ม 4 มคนี้พร้อมกันทั่วประเทศ

 

ศธ. ประกาศสถานศึกษา 28 จังหวัด ปิดเรียนถึง 31 ม.ค. 64

 

ปฏิทินวันหยุด 2564 วันหยุดยาว วันสําคัญ ประจำปี 2021 พาลูกเที่ยวช่วงไหนดี?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up