อาการของไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออก รู้ให้เท่าทัน ลูกน้อยปลอดภัย

Alternative Textaccount_circle
event
อาการของไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออก

นอกเหนือจากนี้ นายแพทย์สมเกียรติ ยังได้แนะนำถึงวิธีการป้องกันไข้เลือดออกซึ่งสามารถทำได้ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้นดังนี้

  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1: แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แบ่งการฉีดเป็น 3 เข็ม ระยะห่างกัน 6 เดือน (0, 6, 12 เดือน) แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเดงกี่เท่านั้น จากการวิจัยพบว่า วัคซีนนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 60 % และสามารถป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ 90% แต่ถ้าร่างกายของผู้รับการฉีดวัคซีนเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่แล้ว ก็จะยิ่งเป็นการเสริมภูมิป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

เช่นเดียวกันกับด้านกรมควบคุมโรค ซึ่งก็ได้มีการเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติคือ 3 ก. อันได้แก่ 3  เก็บ 3 โรค คือ

  • เก็บบ้าน – คุณพ่อคุณแม่ควรเก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เพื่อไม่ให้ยุงลายได้เกาะพัก
  • เก็บขยะ – จะต้องหมั่นเก็บขยะเศษภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุของยุงลายเป็นประจำทุกวัน
  • เก็บน้ำ – เก็บน้ำให้มิดชิด ปิดฝาภาชนะ ภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ก็ให้ปล่อยน้ำทิ้งหรือเปลี่ยนน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรืออาจจะปล่อยปลาหางนกยูงลงไปในน้ำเพื่อให้ช่วยกินยุงก็ได้ เป็นต้น
การป้องกันไข้เลือดออก
เครดิตภาพ: กรมควบคุมโรค

นอกจากนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยนอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด หรือจุดยากันยุง ใช้ยาทากันยุง
  • ไม่อยู่ในบริเวณอับลมหรือเป็นมุมมืด มีแสงสว่างน้อย เนื่องจากเป็นบริเวณที่ยุงชอบ
  • หมั่นอาบน้ำให้สะอาด ปราศจากกลิ่นเหงื่อไคล เพราะกลิ่นเหงื่อไคลจะดึงดูดให้ยุงเข้ามากัดเรามากขึ้น
  • สวมเสื้อผ้ามิดชิดหากจำเป็นต้องออกข้างนอกตอนกลางคืน
  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะแหล่งน้ำขังภายในบ้านและรอบ ๆ บ้าน เช่น จานรองขาตู้กับข้าวกันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ หรือกระทั่งเศษวัสดุไม่ใช้แล้วแต่มีน้ำไปขังอยู่ได้ เป็นต้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: สสส., กรมควบคุมโรค และมติชนออนไลน์

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up