โรคผิวหนัง

หมอจุฬาเตือน! 5 โรคผิวหนังในเด็ก ต้องระวังช่วงหน้าหนาว

event
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนัง

โรคผิวหนัง

4. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูหนาว ที่มีอากาศแห้ง หรือเย็น และมักทำให้เกิดอาการคันผิวหนังรุนแรง ไม่ควรเกา เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทั้งนี้มักจะมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น โรคหอบหืด แพ้อากาศ สาเหตุของโรคไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องโดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น มักจะพบในเด็กโดยพบได้ประมาณร้อยละ 9-17 โรคนี้จะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

อาการบ่งชี้ ได้แก่ มีผื่นแดง ผิวแห้งลอก มีอาการคันมาก ซึ่งตำแหน่งที่เกิดโรค มักจะเป็นบริเวณ แก้ม คอ ข้อพับ ผื่นของเด็กมักจะเกิดที่ศีรษะ หน้า ผื่นของผู้ใหญ่มักจะเกิดที่ ข้อศอก ข้อเข่า คอมือ และเท้าตำแหน่งของผื่นที่พบได้บ่อยได้แก่ คอ ข้อพับ ข้อมือ เข่า ข้อเท้า

โรคผิวหนัง

การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

ในปัจจุบันยังไม่มีหนทางในการรักษาโรคนี้ให้หายขาด โดยการหาทางบรรเทาอาการที่ใช้ได้ผลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้อาการคันและระคายเคืองลดลง การทำให้ผิวลดอาการอักเสบจะช่วยลดความเครียดและป้องกันการเกาซึ่งนำไปสู่อาการติดเชื้อของผิวหนัง โดยตัวเลือกในการบรรเทาโรคนี้มีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ยาตามที่แพทย์สั่ง หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

โดยมาตรการในการป้องกันการกำเริบของอาการที่ดีที่สุดคือ การรักษาความชุ่มชื้นของผิวอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น ผิวที่มีสุขภาพดีจะไม่อักเสบบ่อยๆและสามารถป้องกันสารก่อภูมิแพ้และสารก่อความระคายเคืองได้ดีขึ้น การอาบน้ำและทาครีมทุกวันเป็นวิธีง่ายๆที่จะทำให้ผิวชุ่มชื้น โดยควรจะทาครีมทันทีหลังจากอาบน้ำ

 โรคผิวหนัง

5. โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrtheic dermatitis)

ผื่นผิวหนังชนิดนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากอากาศในฤดูหนาวมักทำให้ผิวหนังแห้ง มักพบในเด็กแรกเกิด และวัยผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดเป็นมัน คล้ายกับรังแค แต่มีขอบเขตชัดเจน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไขมันจำนวนมาก เช่น แก้ม จมูก หัวคิ้ว หน้า หู ไรผม หนังศีรษะ บริเวณหน้าอก และหัวหน่าว

อาการบ่งชี้ ได้แก่ มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดเป็นมัน มีขอบเขตชัดเจน มักอยู่บริเวณร่องข้างจมูก หว่างคิ้ว หน้าหู และหนังศีรษะ

โรคนี้เป็นโรคที่ไม่รุนแรง ไม่คันมากเหมือนกับโรคภูมิแพ้อื่น ๆ แต่ก็สร้างความรำคาญได้อย่างมาก เพราะจะเป็นผื่นแดง เป็นขุย ๆ ลอกเป็นสะเก็ด ทาแป้งไม่ได้เป็นขุยตลอดทำให้ถูกเรียกว่าเป็นรังแคที่หน้า ซึ่งจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

การรักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน

เน้นเรื่องการทายาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากเป็นเยอะก็จะใช้ยาต้านเชื้อรา แน่นอนว่าเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่รุนแรงจึงสามารถหาซื้อยามาใช้เองได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพราะถ้าใช้มาก ๆ จะทำให้ผิวหนังบาง เส้นเลือดขยายจนทำให้เป็นสิวตามมาได้

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณแม่เพิ่งพบความผิดปกติ เห็นลูกมีผื่นแดงที่ผิวหนังเป็นครั้งแรก ๆ ให้คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนเสียก่อนว่าเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันจริง ๆ หรือไม่ เนื่องจากลักษณะของโรคไปคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ คิดว่าเป็นเชื้อรา หรือแม้แต่การแพ้เครื่องสำอาง จนเกิดความเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง ทำให้การรักษาไม่ตรงกับโรค

นอกจากนี้ ในกรณีคนที่เป็น โรคผิวหนัง แบบนี้ครั้งแรก แต่ค่อนข้างเป็นหนัก อาจจะต้องมีการตรวจภูมิคุ้มกันของร่างกายร่วมด้วย เนื่องจากเกรงว่าอาจจะมีโรคอื่นแฝงอยู่ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคเอดส์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมันทุกคนจะเป็นโรคแฝง หรือต้องตรวจเชื้อทุกคนแต่อย่างใด เฉพาะผู้มีความเสี่ยงเท่านั้น

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


โดย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.siamhealth.net , https://www.dailynews.co.th/article/366367

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up