อีสุกอีใส

“อีสุกอีใส” โรคติดต่อที่ดูไม่น่ากลัว แต่อันตรายถึงชีวิตลูก!

Alternative Textaccount_circle
event
อีสุกอีใส
อีสุกอีใส
อีสุกอีใส
เครดิต: Medthai

 

วิธีการรักษาโรค

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรแยกตัวออกไปอยู่ต่างหากจนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อ ทั้งนี้จะต้องแยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่นเสื้อผ้า แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรค (ระยะติดต่อคือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมง ก่อนมีผื่นขึ้นไปจนถึงระยะที่ตุ่มทั้งหมดตกสะเก็ตแล้ว หรือประมาณ 6 วันหลังจากตุ่มน้ำ)
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • อาบน้ำให้สะอาด อยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีโปรตีนมาก ๆ เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว อาหารหมักดอง และอาหารที่เคี้ยวยาก
  • ตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่มที่คัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนกลายเป็นแผลเป็นได้
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง
  • หากมีอาการคันให้ใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบหรืออาบน้ำเย็นบ่อย ๆ หากไม่ทำให้หนาวสั่น
  • ถ้าเจ็บปากหรือปากเปื่อยลิ้นเปื่อย ให้ใช้น้ำเกลือเย็น ๆ กลั้วปากและคอ
  • หากผู้ป่วยมีไข้สูงและไข้ไม่ลดลงภายใน 1 – 2 วันหลังรับประทานยาลดไข้ มีอาการไอมาก มีตุ่มพองเป็นหนอง เริ่มมีเสมหะ (เป็นอาการหนึ่งของการติดเชื้อแบคทีเรีย) ควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง
  • หากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนเช่น เลือดออก เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ปวดศีรษะ ซึม แขนขาอ่อนแรง หรือชัก ให้รีบน้ำตัวส่งโรงพยาบาลโดยทันที

วัคซีนโรคอีสุกอีใสสามารถฉีดได้ทุกคนหรือไม่?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up